“อดีตบิ๊กข่าวกรอง” ยกฎีกา ฟันขาด “สกุลธร” เป็นจำเลย คดียัดเงินใต้โต๊ะสำนักงานทรัพย์สินฯ

2271

จากกรณีที่ศาลได้เปิดเผยคำพิพากษาคดีการปลอมแปลงเอกสารสำนักงานทรัพย์สินฯ ซึ่งเนื้อหาบางส่วนปรากฎพฤติกรรมเข้าข่ายติดสินบนยัดเงินใต้โต๊ะของนายสกุลธร จึงรุ่งเรืองกิจ

เปิดคำพิพากษา!! คดีหลอก “น้องธนาธร” ยัดเงินใต้โต๊ะสำนักงานทรัพย์สินฯ

ต่อมา นายสกุลธร จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้เป็นประธานบริษัท เรียลแอสเสท ดีเวลอปเม้นท์ จำกัด น้องชายของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ได้ออกเอกสารชี้แจงว่าตนไม่เกี่ยวข้องกับการติดสินบนใดๆในคดีดังกล่าว โดยอ้างไปต่าง ๆ นานา ว่าไม่เคยรู้จักเจ้าหน้าที่และนายหน้าเป็นการส่วนตัวมาก่อน รวมทั้งตนไม่มีเจตนาติดสินบนแต่อย่างใด โดยเนื้อหาที่ชี้แจงราวกับจะสื่อว่าตนนั้นก็เป็นผู้เสียหายในกรณีดังกล่าว

ล่าสุด นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความผ่านโพสต์บุ๊ก ระบุว่า

“ติดสินบนหรือไม่​ ?
มีเหตุการณ์หนึ่งที่เป็นที่สนใจของสังคมอย่างมาก​ คือ​ กรณีที่มีนายทุนใหญ่คนหนึ่งถูกสังคมตั้งข้อสงสัยว่า​ น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องและมีความผิดในคดีติดสินบนสถานที่ราชการแห่งหนึ่ง​ ซึ่งเจ้าหน้าที่และนายหน้าถูกศาลตัดสินว่ามีความผิดและต้องโทษจำคุก​แล้ว​ แต่นายทุนใหญ่ยังเดินลอยนวล​
สังคมจึงตั้งคำถามว่า​ ผู้เกี่ยวข้องรับโทษแล้ว​ ทำไมนายทุนยังสุขสบายดี

อัยการและตำรวจจึงกลายเป็นจำเลยของสังคมที่ต้องรีบออกมาชี้แจง​ โดยอัยการแถลงว่า​ ตำรวจไม่ได้ทำสำนวนกล่าวโทษนายทุน​ ส่วนตำรวจชี้แจงว่า​ แยกสำนวนของนายทุนออกมาต่างหากแล้ว​ หลังศาลพิพากษาจะทำสำนวนส่งฟ้องต่อไป

ที่น่าสนใจ​ นายทุนใหญ่แถลงว่า​ ไม่รู้จักเจ้าหน้าที่​ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต​ ติดสินบน​ และถูกหลอกให้ลงทุน​ พร้อมอ้างว่า​ เป็นผู้เสียหายจากเหตุการณ์​
ตกลงจะมีจำเลยเพิ่มอีกหนึ่งคนหรือมีผู้เสียหายอีกคนกันแน่​

มีผู้รู้เล่าให้ฟังว่า​ เคยมีคำพิพากษาฎีกา​หนึ่ง​ นาย​ ก.ติดสินบนเพื่อจะให้สามารถสอบเข้าโรงเรียนนายร้อยได้​ แต่ถูกเบี้ยว​ ศาลพิพากษาว่า​ นาย​ ก.ไม่ใช่ผู้เสียหายในคดีอาญา​ แต่กลับกลายเป็นจำเลย
ผู้เสียหายในคดีอาญา​ ต้องมีลักษณะสำคัญคือ​ ต้องมีการกระทำผิดอาญา​ เป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิดอาญาและสุดท้าย​ ต้องเป็นผู้เสียหายในทางนิตินัยด้วย​ คือ​ ต้องไม่มีส่วนร่วมในการกระทำผิดนั้นๆ

หมายความว่า​ ในทางพฤตินัยอาจเป็นผู้เสียหายร่วม​ แต่ในทางกฎหมายหรือนิตินัย​ อาจเป็นผู้กระทำผิด​ และศาลคงต้องพิจารณามือที่สุจริต​ ผู้ต้องฆ่าคนตายมักอ้างว่าตัวเองบริสุทธิ์ถูกใส่ร้าย
ใครจะถูกใครจะผิด​ ขอให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสิน​ สังคมจะเฝ้าจับตา”