หลังจากที่คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้มีมติยกเลิกการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ นายสุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี พ.ศ.2554 ด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์นั้น
ต่อมานายสุชาติ สวัสดิ์ศรี ได้เคลื่อนไหวผ่านเฟซบุ๊ก โพสต์ข้อความระบุว่า จนบัดนี้ผมยังไม่ทราบ “ความประพฤติเสื่อมเสีย” ของผมอย่างเป็นทางการจากกระทรวงวัฒนธรรม” ถ้าคำว่า “ประยุทธออกไป” “ยกเลิก ส.ว.ลากตั้ง” และ “ยกเลิก ม.112” เป็น “ความประพฤติเสื่อมเสีย” ในสายตาของ กระทรวงวัฒนธรรม ก็บอกมาเลยครับ
ซึ่งเรื่องนี้ มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก ว่านายสุชาตินั้นไม่เหมาะสมกับตำแหน่งศิลปินแห่งชาติจริง ๆ รวมทั้งยังมีประเด็นที่ปฏิบัติตนไม่เหมาะสม ทำให้สังคมเกิดความแตกต่าง และมีการพาดพิงถึง 3 สถาบันหลักด้วย
ล่าสุดในเฟซบุ๊กนายสุชาติ สวัสดิ์ศรี ได้โพสต์ข้อความอีกด้วยว่า เข้าใจว่าแวดวง “ศิลปินแห่งชาติ” คงไม่สนใจเรื่องนี้ แต่ผมสนใจ เพราะผมอยากให้ The Crown มีความสง่างาม ซึ่งโพสต์นั้นนายสุชาติ ออกตัวหนุนการตัดงบสถาบันฯ ที่พรรคก้าวไกลได้เสนอต่อสภา นอกจากนี้ยังมีการเขียนแคปชั่นพาดพิงสถาบันด้วย
ขณะที่ก่อนหน้านี้ นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ถึงกรณีคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ มีมติเอกฉันท์ถอดนายสุชาติ สวัสดิ์ศรี พ้นศิลปินแห่งชาติ โดยมีเนื้อหาดังนี้ว่า
สุชาติควรดีใจที่ถูกถอดออกจากศิลปินแห่งชาติ
1. จะได้ไม่ต้องกินเงินเดือนหลวง จะได้ไปกินเงินเดือนราษฎรหรือเงินบริจาค
2. จะได้วิพากษ์วิจารณ์การเมืองได้เต็มที่ในเรื่องที่อยากทำตามแนวตนเอง
3. จะได้เป็นตัวอย่างศิลปินแห่งชาติคนอื่นว่าอย่าคิดทำบางอย่างที่ผิดหลักเกณฑ์
4. จะได้เป็นศิลปินแห่งชาติคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ถูกถอดถอน (อาจเป็นคนเดียวด้วยในอนาคต)
5.สังคมจะได้แยกแยะออกว่าระหว่างความเห็นต่างทางการเมืองกับความเห็นที่เป็นปรปักษ์ต่อศีลธรรมอันดีต่อ
ชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์เป็นอย่างไร
6. สังคมจะได้ถอดบทเรียนเรื่องนี้ในการยกย่องเชิดชูคนที่จะได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติว่าสมควรมองที่กมลสันดาน ความคิดดีชั่ว หรือการรู้จักวางตัวให้น่าเคารพยกย่อง
7.สุชาติคือตัวอย่างของผู้ที่ใช้ปรัชญาประวัติศาสตร์มาดำเนินชีวิต จนบรรลุสัจธรรมที่ว่าลาภยศสรรเสริญคือของนอกกาย เป็นของหยาบ ไม่ละเมียดกับใจ
8. สุชาติจะได้ขยันเหน็บสถาบันได้มากกว่านี้
9. ธนาคารอาจไม่พิจารณาสินเชื่อบุคคล