ปชช.ซัดเดือด หลัง หัวหน้าพรรคสามัญชน ประกาศลั่น ห้ามตรวจสอบ NGO พร้อมล่า กลุ่มหนุนรัฐประหาร!

2376

ประชาชน เหลืออด!? ซัดกันเดือด หลัง หัวหน้าพรรคสามัญชน ประกาศลั่น ห้ามตรวจสอบ NGO พร้อมล่า กลุ่มหนุนรัฐประหาร!?

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 9 ม.ค.65 ทางด้านของ นายเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ หัวหน้าพรรคสามัญชน โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุ คนที่ควรออกมาเป็นแนวหน้าคัดค้าน ‘ร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ. ….’ มากที่สุด ก็คือ เอ็นจีโอ ประชาสังคม นักกฎหมายและนักวิชาการที่สนับสนุนรัฐประหารนั่นแหละ

ใครบ้างที่ตะโกนไชโยลั่นในวันที่ทหารยึดอำนาจทักษิณเมื่อ 19 กันยายน 2549 และยึดอำนาจยิ่งลักษณ์เมื่อ 22 พฤษภาคม 2557, ใครบ้างที่สะใจกระหายเลือดที่พี่น้องเสื้อแดงถูกล้อมปราบฆาตกรรมกลางถนนในกรุงเทพเมื่อปี 2553, ใครบ้างที่ถูกแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการปฏิรูปประเทศและคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปประเทศ (รวมทั้งพวกที่อยู่เบื้องหลัง วิ่งเต้นประสานงานและเชียร์ด้วย) เพื่อค้ำจุนให้อภิสิทธิ์ได้เป็นนายกฯต่อไปหลังการล้อมปราบฆาตกรรมเสื้อแดงกลางถนนในกรุงเทพเมื่อปี 2553, ฯลฯ คนเหล่านั้นนั่นแหละที่ควรออกมาเป็นแนวหน้าคัดค้าน

ส่วนใคร (รวมทั้งตัวเองด้วย) ที่เปลี่ยนแปลงตัวเองแล้ว หรือไม่ใช่ตามที่กล่าวหา ก็ขออภัย

เพราะคนเหล่านี้เป็นคนกลุ่มเดียวกัน ทั้งหน้าเดิมที่อยู่มาตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหาร 2549 และหน้าใหม่ ๆ ที่เข้ามาในแวดวงหลังรัฐประหาร 2549 มีทั้งวัยอาวุโส วัยกลางคนและวัยหนุ่มสาว ที่มีกระแสธารความคิดเป็น ‘ปฏิปักษ์ประชาธิปไตย’ อย่างต่อเนื่องมาจนถึงการผลักดัน ‘ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ. ….’ ฉบับที่ประชาชนเข้าชื่อเสนอกฎหมายกว่าหมื่นรายชื่อ (เป็นการเสนอร่างกฎหมายเพื่อพัฒนาประชาสังคมให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการเสนอให้รัฐตั้งกองทุนการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาสังคม

ภายใต้บรรยากาศการกดปราบสิทธิและเสรีภาพการชุมนุมและแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของประชาสังคมที่ออกมาเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์อย่างรุนแรง แต่กลุ่มคนผู้เสนอร่างกฎหมายกลับละเลยไม่สนใจใยดีต่อสภาวการณ์ความรุนแรงที่ประชาสังคมกำลังถูกกระทำเลย) จนกลายมาเป็น ‘ร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ. ….’ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาส่งกลับมาให้ ครม. เผด็จการทหารประยุทธ์เห็นชอบเมื่อ 4 มกราคมที่ผ่านมา

ซึ่งเป็นความผิดพลาดที่เอ็นจีโอ ประชาสังคม นักกฎหมายและนักวิชาการกลุ่มหนึ่งที่ชอบยืนเหยียบอยู่ส่วนบนของขบวนประชาชนมีส่วนทำให้เกิดขึ้น เป็นร่างกฎหมายที่เกิดจากพัฒนาการทางความคิดมายาวนาน อย่างน้อยก็นับตั้งแต่รัฐประหาร 2549 ว่าอยากทำให้ประชาสังคมซึ่งมีความอิสระปลอดจากการครอบงำของรัฐเข้ามาสังกัดรัฐ เป็นลูกที่แสนดีของรัฐ

ผลเสียหายที่เกิดขึ้น คือ ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ใช่กฎหมายควบคุมเอ็นจีโอ แต่มันได้ขยายอาณาเขตเป็นกฎหมายควบคุมประชาชนทั้งหมดที่ประสงค์รวมกันเป็นกลุ่ม องค์กร ชมรม สมาคม สโมสร เครือข่าย สภา สมัชชา สมาพันธ์ ฯลฯ เพื่อดำเนินกิจกรรมเพื่อสงเคราะห์ ช่วยเหลือ บำเพ็ญประโยชน์ ประโยชน์สาธารณะ สร้างพลเมืองตื่นรู้และพักผ่อนหย่อนใจทั้งหลายแหล่ ไม่เว้นแม้กระทั่งมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ร่วมกตัญญู ชมรมไพ่นกกระจอก เปตอง สนุกเกอร์ ฯลฯ

ที่ออกมาเรียกร้องเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าเอ็นจีโอ ประชาสังคม นักกฎหมายและนักวิชาการส่วนอื่นที่ไม่สนับสนุนรัฐประหารไม่ต้องออกมา ก็ขอชักชวนกันตรงนี้ให้ร่วมกันออกมาเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านร่างกฎหมายฉบับนี้ แต่ที่ต้องเรียกร้องเป็นพิเศษกับกลุ่มเอ็นจีโอ ประชาสังคม นักกฎหมายและนักวิชาการที่สนับสนุนรัฐประหารก็เพราะกลุ่มคนเหล่านี้ยังสำนึกและละอายไม่มากพอต่อการกระทำผิดพลาดที่มีส่วนร่วมก่อขึ้น และยังกระทำความผิดพลาดต่อเนื่อง ยังเห็นผิดเป็นชอบ เมินเฉยต่อความเห็นอกเห็นใจและคำขอโทษ

ขอเรียกร้องเอาไว้ตรงนี้ว่า สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกในการต่อต้านกฎหมายฉบับนี้คือการชักชวนกันลงถนน ไม่ใช่เตรียมล็อบบี้ประแป้งแต่งตัวเพื่อเข้าไปเป็น (1) กรรมการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมายตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ตามที่ ครม. มอบหมายกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) รับไปดำเนินการ และ (2) กรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้ในสภาผู้แทนราษฎร

และหากมีข้อ (3) จะถือเป็นความเลวทรามที่เกินเยียวยา คือ การเข้าไปเป็น ‘กรรมการผู้แทนองค์กรไม่แสวงหากำไร’ และ ‘กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ’ ใน ‘คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรไม่แสวงหากำไร’ ตามมาตรา 6 (3) และ (4) ของร่างกฎหมายฉบับนี้

ข้อ (1) และ (2) พอยอมได้ แต่ต้องเป็นกระบวนการหลังการประท้วงบนท้องถนนอย่างจริงจัง ให้เห็นผลแตกหักชัดเจนไปทางใดทางหนึ่งเสียก่อน ไม่ใช่การชุมนุมแบบปาหี่ และต้องได้รับฉันทามติจากขบวนประชาชนที่ชักชวนกันมาร่วมต่อสู้ ไม่ใช่ดำเนินการลับ ๆ ล่อ ๆ กันเองกับพวกไม่กี่คน

ส่วนข้อ (3) ยอมไม่ได้ นั่นเท่ากับหลอกลวงผู้คนให้ลุกขึ้นมาต่อสู้ หรือเป็นบันไดเหยียบหัวขึ้นไป โดยโน้มน้าวผู้คนว่าร่างกฎหมายนี้ไม่มีความชอบธรรมใด ๆ ต้องล้มมัน แต่กลับไปอยู่ในโครงสร้างความไม่ชอบธรรมนั้นอย่างหน้าด้าน

ในเมื่อสังคมเป็นกระบวนการทางประวัติศาสตร์ที่ต้องทำให้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นพัฒนาไปสู่สิ่งใหม่ ๆ ที่ดีขึ้น สิ่งที่ควรทำอยู่เสมอในแวดวงของพวกเราภาคประชาชน คือ การวิพากษ์วิจารณ์ และสังคายนา ไม่ใช่สยบยอมอยู่กับระบบอาวุโส เพื่อนพี่น้อง พรรคพวก เสียจนทำให้แวดวงของพวกเราภาคประชาชนขาดความคิดสร้างสรรค์ ไร้กระบวนทัศน์ใหม่ ๆ กินบุญเก่า กลายเป็นพวกล้าหลังคลั่งชาติไปโดยปริยาย

การเคลื่อนไหวคัดค้านร่างกฎหมายฉบับนี้จะเผยให้เห็นว่าเอ็นจีโอ ประชาสังคม นักกฎหมายและนักวิชาการใดที่ยังสนับสนุนรัฐประหาร สยบยอมต่อเผด็จการอำนาจนิยม ผลักให้ประชาชนลุกขึ้นสู้อยู่ข้างหน้าแต่ตัวเองอยู่ข้างหลังในพื้นที่ปลอดภัย และเอ็นจีโอ ประชาสังคม นักกฎหมายและนักวิชาการใด, ไม่.

หลังจากนั้นได้มีประชาชนจำนวนมากเข้ามาแสดงความคิดเห็น ซึ่งไม่เห็นด้วยที่จะต่อต้านการตรวจสอบ องค์กร NGO พร้อมทั้งยิ่งผลักดันให้มีการตรวจสอบมากยิ่งขึ้น เพราะกลุ่มเหล่านี้อาจเป็นภัยต่อความมั่นคง เช่น

“เอ็นจีโอ วิเศษวิโส แค่ไหน ทำไมตรวจสอบมิได้ จะอยู่เหนือนอกกฏเกณฑ๋ได้ย่างไร หลายเอ็นจีโอ น่าเคลือบแคลงสงสัย อาจเป็นภัยต่อความมั่นคง หรือแสวงหาประโยชน์ แหม ฟาดงวง ฟาดงา ใส่ร้ายป้ายสี โยงโน่นนี่มั่วไปหมด สำคัญตนเองผิดไปหละมั้ง”

“องค์กรต่างประเทศจะทำอะไรในไทยต้องตรวจสอบได้สิ ทำแบบนี้มีพิรุธนะ”

“ไล่ออกไปให้พ้นแผ่นดินไทยให้หมดกวาดล้างให้สิ้นซาก พวกมันเข้ามาทำลายชาติ ไม่ต้องตรวจสอบแล้วการกระทำของพวกมันชัดเจน”

“ไม่ต้องคิดอะไรเลยครับ ชื่อพรรค บอกโต้งๆเลย สามัญชน แนวคิดแบบเดียวกับพรรคที่บอกว่า ทุกคนเท่ากัน แต่อดีต หน พรรค แอบไปฉีดวัคซีนตัดหน้าคนแก่ คนป่วย ลูกพรรคด่าวัคซีน แต่ไปเข้าคิวฉีดก่อน ด่าศักดินา แต่รับเครื่องราช พรรคนี้ก็คงเป็นพรรคที่แตกออกมาจากพรรคแดงนั่นแหละ”

“ผู้เสียผลประโยชน์โผล่มาแล้ว 1”