ศาลรธน.ตอกหน้าเบนจาโดนคุก6เดือนละเมิดอำนาจศาล! ไม่ขัดหลักนิติธรรม ชี้เหมาะสมแล้ว

1821

จากที่ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้ทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์ @TLHR2014 แจ้งว่า ศาลพิพากษาลงโทษจำคุก 6 เดือน เบนจา อะปัญ ในคดีละเมิดอำนาจศาล ซึ่งเป็นโทษสูงสุดของข้อหานี้นั้น

โดยจากกรณีชุมนุมทวงสิทธิประกันตัวผู้ต้องขัง 112 หน้าศาลอาญา เมื่อวันที่ 29 เมษายน โดยศาลได้เบิกตัวเบนจา จากทัณฑสถานหญิงเพื่อมาฟังคำสั่งด้วย

ศาลให้เหตุผลว่า แม้ผู้ถูกกล่าวหารับข้อเท็จจริง แต่กลับต่อสู้ว่าไม่ผิด ไม่สำนึกในการกระทำผิด ส่งเสียงดัง ไม่สงบเรียบร้อย ก่อความรำคาญ แถลงการณ์ที่มีเนื้อหาประณาม ใส่ร้าย ดูหมิ่นตุลาการ เข้าข่ายไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ม.50(3)(6) และละเมิดข้อกำหนดศาลอาญาข้อ 1 และ 6

ทั้งนี้ แม้ผู้ถูกกล่าวหา ให้การรับข้อเท็จจริงว่าได้กระทำการตามคำกล่าวหาก็ตาม แต่กลับต่อสู้ว่าการกระทำของตนไม่เป็นความผิด อันเป็นการแสดงว่าผู้ถูกกล่าวหามิได้สำนึกถึงการกระทำ ประกอบกับคำรับของผู้ถูกกล่าวหานั้นเป็นไปในทางจำนนต่อพยานหลักฐานที่ปรากฏแน่ชัด คำรับข้อเท็จจริงของผู้ถูกกล่าวหาจึงไม่เป็นประโยชน์ในการพิจารณาอันจะเป็นเหตุบรรเทาโทษได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 จึงไม่ลดโทษให้

“พฤติการณ์ดังกล่าว เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล จึงเป็นการกระทำความผิดฐานละเมิดศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31(1) และมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท จึงมีคำสั่งว่า น.ส.เบนจา ผู้ถูกกล่าวหา มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ป.วิแพ่ง) มาตรา 30, 31 (1), 33 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิ.อาญา) มาตรา 15, 180 ให้ลงโทษจำคุกผู้ถูกกล่าวหามีกำหนด 6 เดือน”

หลังฟังคำสั่งเสร็จ เบนจา ได้นั่งลงกับพื้นหน้าห้องพิจารณาคดี ไม่ยอมลุกไปไหน เพื่อแสดงออกว่าไม่เห็นด้วยกับคำสั่ง จนเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ต้องอุ้มขึ้นรถวีลแชร์

ล่าสุดวันนี้ 6 พฤศจิกายน 2564  เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 15-16/2564 เรื่อง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 33 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 หรือไม่

สืบเนื่องจากกรณี นางสาวเบนจา อะปัญ และนายณัฐชนน ไพโรจน์ แกนนำกลุ่มที่เรียกตัวเองว่าราษฎร ซึ่งถูกกล่าวหาละเมิดอำนาจศาล ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 33 ซึ่งมีโทษจำคุกนั้นขัดหรือแย้งกับ รัฐธรรมนูญ มาตรา 26 เรื่องการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนหรือไม่

โดยศาลรัฐธรรมนูญ ได้อ่านคำวินิจฉัยแล้วเห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 33 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26

ศาลรัฐธรรมนูญ ระบุเหตุผลว่า การที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 33 กําหนดให้ศาลมีอํานาจสั่งลงโทษผู้กระทําความผิดฐานละเมิดอํานาจศาลโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือทั้งสองวิธี และกําหนดโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนจึงเป็นมาตรการที่มีความเหมาะสมทําให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมาย และจํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลเท่าที่จําเป็น และได้สัดส่วนหรือมีความสมดุลระหว่างประโยชน์สาธารณะ หรือประโยชน์ส่วนรวมที่จะได้รับกับสิทธิหรือเสรีภาพที่ประชาชนจะต้องสูญเสียไป

แม้เป็นบทบัญญัติที่จํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอยู่บ้าง แต่ไม่เป็นการเพิ่มภาระหรือจํากัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรแก่เหตุ

วันที่ 29 เมษายน นส เบญจา อะปัญ เเกนนำกลุ่มเเนวร่วมธรรมศาสตร์เเละการชุมนุมเดินทางมาศาลอาญาเพื่อยื่นรายชื่อยุติ ราชอยุติธรรม 11,035 รายชื่อต่ออธิบดีผู้พิพากษาเพื่อประกันตัว โดย นส เบญจาได้เรียกร้องให้นาย ชนาธิป ออกมารับรายชื่อ เเต่ไม่เห็นผลจึงได้โปรยกระดาษรายชื่อจนเต็มหน้าศาลอาญา เเละได้มีกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวเเนนำอีกด้วย

เป็นมาตรการที่จํากัดสิทธิ และเสรีภาพของผู้กระทําความผิดฐานละเมิดอํานาจศาลที่สอดคล้องกับหลักความจําเป็นและหลักความได้สัดส่วน พอเหมาะพอควรแก่กรณี ไม่ขัดต่อหลักนิติธรรมไม่กระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26

(อ่านคำวินิจฉัยทั้งฉบับ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/A/072/T_0016.PDF)