ยังไร้สำนึก! “เจี๊ยบ ก้าวไกล” โดน 5 ข้อหาหนัก พบความผิดชัดๆ ยังใส่ร้ายจนท.เหวี่ยงแห?

1706

ยังไร้สำนึก! “เจี๊ยบ ก้าวไกล” โดน 5 ข้อหาหนัก พบความผิดชัดๆ ยังใส่ร้ายจนท.เหวี่ยงแห?

จากกรณีที่เมื่อวานนี้ (4 พฤศจิกายน 2564) นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ระบุว่า 9.00 น.พรุ่งนี้ (5 พ.ย.) ต้องโดดประชุมสภาไปรายงานตัวที่สนง.อัยการจ.ปทุมธานี เนื่องจากตร.มีความเห็นส่งฟ้องคดีเป็นแกนนำ #คาร์ม็อบ ร่วมกับคุณณัฐวุฒิ ใสเกื้อ บก.ลายจุด และคุณหมอทศพร ทั้งที่ไม่ใช่คนจัด และไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไรด้วยเลย ขอบคุณคุณณัฐวุฒิ ที่เอื้อเฟื้อทนาย

โดยก่อนหน้านี้ นางอมรัตน์ ได้ทวีตข้อความบนทวิตเตอร์ส่วนตัว โดยระบุว่า “เป็นผู้ต้องหาอีกครั้งข้อหาร่วมกันจัดคาร์ม็อบ ได้รับหมายเรียกผู้ต้องหาครั้งที่ 2 หลังจากโทรคุยรอง ผกก.เมื่อรับหมายเรียกครั้งแรกว่าจะไม่ใช้เอกสิทธิ์ ส.ส. และจะไปรับทราบข้อกล่าวหาที่ สน.พร้อม นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และนายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด และ นพ.ทศพร เสรีรักษ์ ในวันที่ 1 ตุลาคมนี้” ทั้งนี้ นางอมรัตน์ได้แนบหมายเรียกของ สภ.เมืองปทุมธานี พร้อมติดแฮชแท็ก #คาร์ม็อบ ด้วย

ซึ่งเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 64 นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ได้เดินทางมายังสภ.ปทุมธานี เพื่อรับทราบข้อกล่าวหา และทวีตข้อความว่า ยินดีมารับทราบข้อกล่าวหาโดยไม่ใช้เอกสิทธิ์คุ้มครอง ร่วมกับคุณเต้น ณัฐวุฒิ บก.ลายจุด และคุณหมอทศพร คดีร่วมเป็นแกนนำจัดคาร์ม็อบ 29 ส.ค.64 รวม 7 ข้อกล่าวหา คือร่วมกันจัดกิจกรรมรวมกลุ่มกันของบุคคลที่มีจำนวนที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดที่มีการรวมกันมากกว่า 5 คน

,ร่วมกันชุมนุมหรือจัดกิจกรรมความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดโรคฯโดยไม่ได้รับอนุญาต, ร่วมกันกระทำการหรือดำเนินการใดๆซึ่งอาจก่อสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะฯ ฝ่าฝืนพ.ร.บ.โรคติดต่อฯ ,ร่วมกันจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงฯโดยฝ่าฝืนคำสั่งจังหวัดปทุมธานี, ร่วมกันโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าฯ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน,ร่วมกันทำให้เกิดเสียงหรือกระทำการอื้ออึงโดยไม่มีเหตุอันควร ทำให้ประชาชนตกใจเดือดร้อนรำคาญ ,หยุดรถหรือจอดรถในช่องทางเดินรถฯในลักษณะกีดขวางจราจร

ซึ่งล่าสุดเมื่อวานนี้ (5 พฤศจิกายน 2564) นางอมรัตน์ ก็ได้โพสต์ข้อความถึงความคืบหน้าของคดีดังกล่าวว่า

ตร.พาส่งอัยการกรณีถูกกล่าวหาเป็นแกนนำ #คาร์ม็อบ อัยการนัดฟังคำสั่งจะส่งฟ้องหรือไม่ในวันที่ 23 ธ.ค.64 ด้วย 5 ข้อหาเหวี่ยงแห ฝ่าฝืนพรก.ฉุกเฉิน, พรบ.โรคติดต่อ, ฝ่าฝืนคำสั่งจ.ปทุมธานี, ประมวลกม.อาญาม.370, พรบ.จราจรทางบก กลับถึงสภามาประชุมต่อ 12.00 น. #เผด็จการจงพินาศ

หากย้อนไปเมื่อวันที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมา นางสาวปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล กับพวกรวม 4 คน ยื่นฟ้องพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นคดีหมายเลขดำที่ พ5080/2564 ของศาลแพ่ง ขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 15) ข้อ 3 และประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง ฉบับที่ 12 และให้ไม่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ต้น

และให้จำเลยทั้งสองมีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานภายใต้บังคับบัญชาปฏิบัติการในลักษณะกีดขวางการชุมนุมของโจทก์ทั้งสี่ และให้เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและเสรีภาพของประชาชน พร้อมยื่นคำร้องขอให้ศาลไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินโดยขอให้ศาลมีคำสั่งให้ระงับการบังคับใช้ข้อกำหนดและประกาศดังกล่าวและห้ามมิให้นำมาตรการ คำสั่ง หรือการกระทำใด  ๆ ที่สั่งการตามประกาศดังกล่าวมาใช้กับโจทก์ทั้งสี่และประชาชนจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด

ต่อมาทาง ศาลแพ่งได้ออกนั่งพิจารณาไต่สวนพยานหลักฐานแล้วมีคำสั่งอันสรุปใจความได้ว่า แม้ข้อกำหนดและประกาศตามฟ้องที่มีเนื้อหาห้ามมิให้มีการชุมนุมจะเป็นการกระทบสิทธิเสรีภาพของบุคคลในการแสดงความคิดเห็นหรือการชุมนุม แต่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) เป็นข้อเท็จจริงซึ่งรู้กันอยู่ทั่วไปว่ายังคงมีการแพร่ระบาดอยู่ ทั้งได้ความตามคำร้องขอไต่สวนฉุกเฉินของโจทก์ทั้ง 4 ว่าในวันที่ 31 ต.ค. 2564 จะมีประชาชนทำกิจกรรมรวมตัวกันไม่น้อยกว่า 10,000 รายอันมีความสุ่มเสี่ยงที่อาจจะมีการแพร่ระบาดของโรคที่เป็นภัยต่อความปลอดภัยสาธารณะ กรณีจึงยังคงมีความจำเป็นที่ต้องบังคับใช้มาตรการตามข้อกำหนดและประกาศดังกล่าวต่อไปเพื่อป้องกันมิให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคและประโยชน์สาธารณะโดยส่วนรวม

ทั้งนี้หากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19)เปลี่ยนแปลงไปและส่งผลให้ความปลอดภัยสาธารณะโดยส่วนรวมขึ้นก็อาจจะไม่มีความจำเป็นในการบังคับใช้ข้อกำหนด และประกาศดังกล่าวต่อไป ในชั้นนี้ตามคำร้องของโจทก์ทั้ง 4 จึงไม่มีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 254(2) มาบังคับใช้ ให้ยกคำร้อง