จิตอาสาหรือหวังผลประโยชน์!? แพทย์ชนบทสุมหัว “ก้าวไกล” ลงพื้นที่ตรวจ ATK เบิกได้รายละ 450 ด้านสาวรักษา รพ.สิชล แฉทิ้งไข้ ไม่ได้รับการดูแล!?

3439

จิตอาสาหรือหวังผลประโยชน์!? แพทย์ชนบทสุมหัว “ก้าวไกล” ลงพื้นที่ตรวจ ATK เบิกได้รายละ 450 ด้านสาวรักษา รพ.สิชล แฉทิ้งไข้ ไม่ได้รับการดูแล!?

จากกรณีที่ ชมรมแพทย์ชนบท ได้ออกแถลงการณ์ เรื่องที่ “องค์การเภสัชกรรมต้องจัดหา ATK ที่มีคุณภาพมาตรฐานองค์การอนามัยโลก ”แถลงโดย นายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคมที่ผ่านมา เดิมการวินิจฉัยการติดเชื้อโควิดได้ผูกติดกับการตรวจ RT-PCR ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐาน แต่มีข้อจำกัดในการใช้เวลาในการตรวจนานและมีห้องปฏิบัติการที่ทำได้น้อยแห่ง มีความล่าช้าในการออกผล RT-PCR ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เวลาราว 2 วัน ทำให้การรักษาเริ่มได้ช้า เมื่อรักษาช้าก็ทำให้ผู้ป่วยที่ป่วยหนักหรือเสียชีวิตมีมากขึ้น

ต่อมา ชมรมแพทย์ชนบทได้เสนอการใช้ ATK (Antigen Test Kit) ที่ตรวจแล้วทราบผลได้ทันทีในปฏิบัติการแพทย์ชนบทบุกกรุง แต่ทั้งนี้ต้องใช้ ATK ที่มีคุณภาพสูงและได้มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก เพื่อผลที่แม่นยำ สร้างความมั่นใจให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในการให้การรักษาในทันทีโดยไม่ต้องรอผล RT-PCR

อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2564 ซึ่งมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธาน มีมติเห็นชอบเพิ่มชุดตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ด้วย Antigen Test Kit (ATK) ในวงเงินเบื้องต้น 1,014 ล้านบาท เพื่อจัดหาชุดตรวจให้หน่วยบริการนำไปแจกจ่ายกับประชาชนทุกคนทุกสิทธิ และมีการจัดการประชุมบอร์ด สปสช. เป็นการเร่งด่วน เพื่อให้ขอความเห็นชอบในการจัดหาชุดตรวจ ATK ให้ประชาชนสามารถตรวจหาเชื้อเองได้ในเบื้องต้น

พญ.กฤติยา ศรีประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า คลินิกเอกชนเข้าร่วมดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 สามารถให้บริการตรวจ Antigen Test Kit (ATK) กับประชาชนไทยทุกคนได้ตามเกณฑ์การคัดกรอง กรณีตรวจด้วยเทคนิค Chromatography จ่ายตามจริงไม่เกิน 450 บาท/ครั้ง และกรณีตรวจด้วยเทคนิค Fluorescent Immunoassay (FLA) จ่ายตามจริงไม่เกิน 550 บาท/ครั้ง ทั้งนี้หากผลตรวจเป็นบวกกรณีที่อยู่ในผู้ติดเชื้อกลุ่มสีเขียวให้เข้าสู่การรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่บ้านและในชุมชน (Home Isolation/Community Isolation : HI/CI) แต่กรณีที่จำเป็นต้องรักษาแบบผู้ป่วยใน ให้รับรักษาเป็นผู้ป่วยในที่หน่วยบริการ หรือส่งต่อรักษาในเครือข่ายหน่วยบริการ

ล่าสุด มีผู้เข้ารับการตรวจรายหนึ่ง ได้มีส่งข้อมูลมาให้ทางสำนักข่าวเดอะทรูธตรวจสอบ โดยบอกว่า ชมรมแพทย์ชนบท ลงไปตรวจ ATK รับไป 450 ต่อราย และหากเจอว่าผลเป็นบวก ส่งไปตรวจ RT PCR ที่รพ. มหาราชนครราชสีมา ที่มี นพ. เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท เป็นผอ. ได้เบิกอีก 2300 บาทจาก สปสช. ที่สำคัญ เป็นการดำเนินการร่วมกับพรรคก้าวไกล ตกลงชมรมแพทย์ชนบทที่มีนายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ เป็นประธานคนปัจจุบัน จะต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ร่วมกับพรรคก้าวไกลด้วยหรือไม่

หากจะเล่นการเมืองบนการแพทย์ขนาดนี้ จะเป็นเรื่องที่ดีหรือ ทำไมคุณอนุทิน ชาญวีรกุล จึงปล่อยปละละเลยให้ชมรมแพทย์ชนบททำเช่นนี้ แล้วยังมีกรณีที่ล็อคสเป็ค ATK ในการประมูลที่ อภ. โดยนพ. เกรียงศักดิ์และ นพ. อารักษ์ วงวรชาติ ผอ. รพ. สิชล อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท และยังมีปัญหา home isolation ที่ รพ. สิชล รับไป 18,000 จาก 77,000 ในเขตสุขภาพที่ 13 สปสช. แล้วทอดทิ้งไม่ดูแลคนไข้ แต่เบิกเงินหรือไม่ ควรจัดการอย่างไรและตรวจสอบอย่างไรหรือไม่

โดยก่อนหน้านี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคก้าวไกล และทีมงานได้ลงพื้นที่เป็นอาสาสมัครร่วมกับทีมแพทย์ชนบท ในโครงการแพทย์ชนบทบุกกรุง เพื่อระดมตรวจหาเชื้อโควิดให้กับประชาชน ซึ่งทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า ทีมแพทย์ชนบทและพรรคก้าวไกลนั้น มีผลประโยชน์ร่วมกันหรือไม่

สำหรับ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผอ.โรงพยาบาลจะนะ เป็นหนึ่งในผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหวร่วมกับกลุ่มเอ็นจีโอคัดค้านโครงการต่างๆ ใน จ.สงขลา ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของชาวบ้าน เช่น โครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นชายหาดม่วงงาม ต.ม่วงงาม จ.สงขลา และโครงการ “จะนะเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” ซึ่งกำลังจะเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งสำคัญในวันเสาร์ที่ 11 ก.ค.นี้ ที่โรงเรียนจะนะวิทยา ซึ่งจะมีเรื่องการเปลี่ยนแปลงผังเมือง เพื่อรองรับนิคมอุตสาหกรรม และชาวบ้านทั้ง 3 ตำบลที่มารวมตัวเรียกร้องให้ลาออกเป็นชาวบ้านในพื้นที่ก่อสร้างโครงการนี้ด้วย

ส่วนในกรณีของโรงพยาบาลสิชล ที่มี นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ เป็นผอ.รพ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นที่ปรึกษาชมรมแพทย์ชนบท กรณีที่เปิดรับดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ในพื้นที่ กทม. ที่ตกค้างในระบบของสายด่วน 1330 ไม่สามารถหาหน่วยบริการมาดูแลได้ โดยเป็นการดูแลแบบ home isolation

ซึ่งล่าสุด ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19  เล่าเหตุการณ์ที่ได้เข้าโครงการ home isolation ของรพ.สิชล ว่า นับตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม จนถึงวันที่ 12 สิงหาคมที่ผ่านมา โรงพยาบาลไม่เคยโทรมาสอบถามอาการของเธอ ไม่เคยมีแพทย์ Video Call ไม่เคยได้รับเครื่องมือตรวจวัดสัญญาณชีพ เช่น เครื่องตรวจออกซิเจนที่ปลายนิ้ว ปรอทวัดไข้ ยา ชนิดต่างๆ ช่วงเวลาดังกล่าวเธอต้องรักษาอาการตามมีตามเกิดเปิดจาก YouTube อ่านจากโลกออนไลน์ ฝากให้เพื่อนบ้านออกไปซื้อเครื่องสมุนไพร เช่น ข่าตะไคร้ ยาฟ้าทะลายโจรมากิน รักษากันโดยลำพัง

สุดท้ายต้องโทรไปร้องเรียนที่เบอร์ 1330 เพื่อร้องเรียนว่า ไม่มีพยาบาลหรือแพทย์โทรมาสอบถามอาการ จนในที่สุดโรงพยาบาลก็โทรมาสอบถามอาการเชื่อว่าที่โรงพยาบาลโทรมาเนื่องจากเธอโทรไปร้องเรียนที่เบอร์ 1330 นั่นเอง ผู้ป่วยโควิด-19 รายนี้ เล่าต่ออีกว่า เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม โรงพยาบาลก็ได้ส่งใบรับรองแพทย์มาให้ เพื่อยืนยันว่าอาการเธอดีขึ้น ซึ่งเธอก็ยังงงอยู่ว่า แพทย์จะวินิจฉัยว่าอาการเธอดีขึ้นได้อย่างไร ในเมื่อทีมแพทย์ไม่เคยโทรมาสอบถามอาการเลยแม้แต่ครั้งเดียว

สิ่งที่อยากฝากสื่อมวลชนคือ ทำไม สปสช.ถึงลงชื่อเธอและครอบครัวให้โรงพยาบาลแห่งนี้ดูแล ทั้งที่ภูมิลำเนาเธออยู่ในกรุงเทพฯ จึงทำให้การรักษาและการติดตามอาการเป็นไปอย่างล่าช้า หากอาการทรุดหนักกว่านี้ จะมีแพทย์ที่ไหนดูแลเธอได้ ส่วนโรงพยาบาลแห่งนี้ ก็อยากฝากคำถามไปเช่นกันว่า ในเมื่อรับเธอและครอบครัวเข้าสู่ระบบการรักษาแบบ Home isolation แล้ว ทำไมไม่ดูแลให้ดีๆ เพราะ 14 วันที่อยู่ในการดูแลรักษาของโรงพยาบาลดังกล่าว เธอไม่ได้รับ ยาหรืออุปกรณ์การตรวจวัดสัญญาณชีพใดๆเลย มีแค่คูปองอาหารสั่งแบบเดลิเวอรี่เท่านั้นที่ได้จากโรงพยาบาลแห่งนี้

ในขณะที่ทางด้าน นายแพทย์จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพ หรือ สปสช ยอมรับว่า มีปัญหาเรื่องลักษณะนี้เกิดขึ้นจริง ๆ และทาง สปสช.ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้มีการตรวจสอบทุกข้อร้องเรียนเนื่องจากทาง สปสช.มีการคิด “ค่าใช้จ่าย” ต่อผู้ป่วยโควิด 1 คนตามกิจกรรมที่เกิด เช่นในหนึ่งวันที่แพทย์ไปดูแลคนไข้ สปสช.จะจ่าย 1 พันบาทต่อคนต่อวัน และจะดูแลไม่เกิน 14 วัน ฉะนั้นเงินที่หน่วยบริการจะเบิกกับ สปสช.สูงสุดไม่เกิน 14000 บาท ซึ่งหนึ่งพันบาทที่จ่ายนี้จะมีค่าอาหาร ค่าการโทรศัพท์ การวิดีโอคอล คุยกับคนไข้

อีกทั้ง หน่วยบริการสามารถเบิกค่าอุปกรณ์ ได้อีก 1100 บาท  เช่นเครื่องวัดอุณหภูมิ เครื่องวัดอ็อกซิเจนในเลือด การจ่ายยาให้กับผู้ป่วยได้ เช่นยาฟ้าทะลายโจรเบิกได้ 300 บาทต่อคอร์ส 5 วัน ส่วนยาฟาวิพิราเวียร์ก็เบิกตามจริงไม่เกิน 7200 บาท เมื่อคิดรวมทั้งหมดผู้ป่วยหนึ่งคนจะอยู่ที่ 15400 บาทต่อคน