อาฟริกาตะวันออกอ่วม?!? ภัยพิบัติน้ำท่วมหนักในรอบ 4 ปี ทำชาวอาฟริกัน 6 ล้านไร้ที่อยู่ ขณะติดเชื้อโควิด 6 แสนราย

2536

ดินแดนอาฟริกาตะวันออกเผชิญภัยพิบัติน้ำท่วมหนักมากกว่าที่เคยท่วมมาแล้ว 5 ครั้งในรอบ 4 ปี ทำให้ประชาชนกว่า 6 ล้านคนได้รับผลกระทบ และส่งผลให้ 1.5 ล้านคนพรากจากที่อยู่ นักวิทยาศาสตร์เตือนภัยความเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทั่วโลก ทำให้เกิดภัยพิบัติธรรมชาติในหลายรูป เกิดอุณหภูมิร้อนผิดปกติในหลายแห่ง ทวีปอาฟริกาทุกปีจะมีภัยน้ำท่วมต่อเนื่อง แต่ในรอบ 4 ปีที่ผ่านมาสถิติหนักขี้นความเสียหายชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ล่าสุดอาฟริกาตะวันออกฝนตกหนักต่อเนื่องเกิดน้ำท่วมใหญ่ กระทบผู้คนกว่า 6 ล้านคน ท่ามกลางโควิด-19 ระบาด

ประเทศแอฟริกาใต้ติดโควิด-19 เป็นอันดับ 10ของโลก มีผู้ป่วยสะสมจำนวน 683,242 ราย เสียชีวิต 17,103 ราย  ในภูมิภาคตะวันออกของอาฟริกาเกิดฝนตกใหญ่ต่อเนื่องมากที่สุดในรอบศตวรรษก็ว่าได้ ในปี 2019 อุณหภูมิแตกต่างระหว่างภาคตะวันออกและตะวันตกของมหาสมุทรอินเดีย ทำให้เกิดฝนตกหนัก สำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ กล่าวถึงปัญหาน่าวิตกที่เกิดขึ้นในภูมิภาคแห่งนี้รายงานโดยสำนักข่าวบีบีซี เปิดเผยว่า ประชาชนอาฟริกันที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมใหญ่ในภาคตะวันออกของอาฟริกาปี 2016 จำนวน 1.1 ล้านคน ปี 2019 จำนวน 4 ล้านคน และในปีนี้ 2020 คาดกว่า 6 ล้านจะต้องเผชิญภัยพิบัติน้ำท่วม

ในซูดาน ประเทศที่ได้รับผลกระทบเลวร้ายที่สุด ประชาชน 860,000 คนไร้ที่อยู่เพราะบ้านเรือนพังพินาศไปกับอุทกภัย มีผู้เสียชีวิต 120 ราย สหประชาชาติรายงานจากข้อมูลเป็นทางการของรัฐบาลซูดาน ทุกเมืองในซูดานประสพอุทกภัยน้ำท่วมหนักไปพร้อมๆกับซูดานใต้ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจำนวน 800,000 คนและ 368,000 ไร้บ้าน

รายงานของสหประชาชาติกล่าวว่า ทุกชุมชนต้องหนีน้ำท่วมระดับสูงไปยังพื้นที่สูง ภายหลังจากที่เจ้าหน้าที่สหประชาชาติลงพื้นที่ภัยพิบัติ นายอัลเลียน นูโด กล่าวว่า “พื้นที่ที่เหลือในประเทศตลอดเส้นทางเลียบแม่น้ำไนล์นี้ล้วนอยู่ใต้น้ำทั้งสิ้น”

ในเอธิโอเปีย ซึ่งมีประชากรมากกว่าประมาณ 1.1 ล้านคนล้วนได้รับผลกระทบหนัก ได้แก่ บารุนดี, ดีจิบูติ, เคนยา, รวันดา, โซมาเลีย, แทนซาเนีย และอูกานดา ล้วนเผชิญภัยพิบัตน้ำท่วมอย่างหนัก

สภาพอากาศเปลี่ยน ทำอากาศแปรปรวนทั่วโลก

นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยว่า โลกเรากำลังส่งสัญญาณให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง ผ่านทางภัยธรรมชาติหลากหลายรูปแบบ ที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น โดยในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาทางตะวันตกของสหรัฐฯต้องเผชิญกับไฟป่ารุนแรง น้ำท่วมหนักในแอฟริกา รวมทั้งอุณหภูมิของผิวมหาสมุทรเขตร้อนที่อุ่นกว่าปกติ รวมทั้งยังมีรายงานคลื่นความร้อนที่เดือดทุบสถิติทั้งในแคลิฟอร์เนียไปจนถึงแคว้นไซบีเรียจนทำให้แผ่นน้ำแข็งอาร์กติกละลาย

โซเนีย เซเนวีราตเน นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศของมหาวิทยาลัยสวิส อีทีเอช ซูริช แสดงความเป็นห่วงว่า ถ้าหากยังมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง ทั่วโลกจะมีความเสี่ยงที่จะต้องรับมือกับสภาพอากาศสุดขั้ว และภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นอีก