“Thai PBS” ปล่อยเฟคนิวส์ซ้ำๆ 4 เคสรวดใน 3 สัปดาห์! สังคมจี้ยุบ-ปลดผู้บริหาร! ขณะพี่ศรีฯ ร้อง กสทช. จัดการเด็ดขาด!

2211

“Thai PBS” ปล่อยเฟคนิวส์ซ้ำๆ 4 เคสรวดใน 3 สัปดาห์! สังคมจี้ยุบ-ปลดผู้บริหาร! ขณะพี่ศรีฯ ร้อง กสทช. จัดการเด็ดขาด!

จากกรณีที่กำลังเป็นประเด็นอยู่ในขณะนี้ สำหรับไทยพีบีเอส ที่ออกบิดเบือนข้อมูล และรายงายข่าวผิดพลาดจนทำให้นักวิชาการหลายคนได้ออกมาจี้ให้ไทยบีพีเอสรับผิดชอบ ทั้งในเรื่องของวัคซีนป้องกันโควิด ทำให้เกิดกระแสจนทำให้ประชาชนไม่กล้าเข้ารับการฉีดวัคซีน

โดยเมื่อวันที่10 พฤษภาคมที่ผ่านมา ที่ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิดของแอสตราเซเนกา ว่ามีประสิทธิภาพป้องกันการป่วยหนักได้แค่ 10% ซึ่งทางด้าน ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒน่คณะนิเทศศาสตรฺและนวัตกรรมการจัดการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)NIDA ได้ออกมาพูดถึงกรณีดังกล่าว ว่า ไทยพีบีเอสแปลข้อความผิดและเข้าใจข้อมูลผิด และผิดหลายจุดเลย ไทยพีบีเอส นำเสนอสกู๊ปว่าวัคซีนต่างๆมีประสิทธิภาพลดลงในการป้องกันโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ซึ่งอันนี้เป็นความจริง แต่ปัญหาอยู่ที่ สกู๊ปนี้ของไทยพีบีเอส รายงานตัวเลขที่ผิดพลาดหลายจุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการเน้นว่า วัคซีนของแอสตราเซเนกา ที่ไทยจะใช้เป็นหลักนั้น สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 6% และป้องกันการป่วยหนักได้ 10%

ต่อมาทางไทยพีบีเอสได้ออกมาชี้แจงความผิดพลาดในการนำเสนอข้อมูล ประสิทธิภาพของวัคซีนที่มีต่อเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้ เพราะข้อมูลที่นำเสนอยังไม่ได้ผ่านการใช้จริง แต่เป็นการคาดการณ์ของสถาบันด้านสุขภาพในต่างประเทศ ทั้งนี้ ผู้ประกาศไทยพีบีเอส ขอรับผิดชอบด้วยการพักการทำหน้าที่หน้าจอของไทยพีบีเอส เป็นเวลา 2 สัปดาห์

ย้อนไปก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2564 ทางไทยพีบีเอส ได้นำเสนอข่าวว่า มีเครื่องบินจากอินเดีย บางลำมายังไทยด้วย สร้างความตื่นตระหนักให้กับประชาชนอย่างมาก เนื่องจากมีรายงานว่าโควิดสายพันธุ์อินเดีย กลายพันธุ์ใหม่ ติดเร็วกว่าเดิม เป็นเชื้อแบบ Triple Mutant ที่เกิดการเปลี่ยนแปลง 3 ตำแหน่ง เรียกว่า B.1.618 หรือ สายพันธุ์เบงกอล (Bengal strain)

ต่อมาทางด้าน นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. ได้เปิดเผยแล้วว่า เมื่อเช้ามีการพูดคุยกันในที่ประชุม และมีรายละเอียดมาจากกระทรวงการต่างประเทศ ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง ว่า จะมีการเช่าเหมาลำเครื่องบินจากอินเดีย จะมีก็มีแต่ เดือน พ.ค. ที่จะถึงนี้ จะมีนำคนไทยขึ้นเครื่องบินกลับมาจากอินเดีย อีก 4 เที่ยวบิน เท่านั้น ยืนยันว่ารัฐบาลมีนโยบายให้คนไทยเข้ามาเท่านั้น ส่วนคนต่างชาติในขณะนี้ให้ชะลอออกไปก่อน

หลังจากนั้น ก็ได้ออกแถลงการณ์ขอโทษหลังได้ทำการเสนอข่าวในประเด็น “เศรษฐีอินเดียแห่บินหนีโควิด-19 บางลำบินเข้าไทย” เผยเกิดจากความเข้าใจคลาดเคลื่อนและตื่นตระหนก ยืนยันจะปรับปรุงการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อไป

ต่อมาวันที่ 1 พฤษภาคม สุทธิชัย หยุ่น ในฐานะผู้ดำเนินรายการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และผู้ร่วมจัดรายการอีกสองท่านซึ่งก็เป็นนักสื่อสารมวลชนระดับกูรู ได้กล่าวหานายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข ว่า มีส่วนขัดขวางไม่ให้เอกชนนำเข้าวัคซีนโควิด 19

ต่อมาวันที่ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา ได้มีการนำเสนอข่าว ของหญิงสาวรายหนึ่งที่เข้ารับวัคซีนซิโนแวคที่ จ.อุดรธานี ได้เกิดผลข้างเคียงมีอาการชาทั้งตัว และมีเลือดออกในสมอง แต่มีการแอบอ้างภาพของผู้ป่วยรายหนึ่งที่โรงพยาบาลหนองม่วง จ.ลพบุรี ที่มีอาการแพ้ยา มีผื่นแดงเต็มตัว มาเผยแพร่ควบคู่กันจนเกิดความเข้าใจผิด และผู้ที่เกี่ยวข้องออกมาปฏิเสธไปแล้วนั้น จากการตรวจสอบพบว่า ผู้ที่โพสต์คือ พนักงานตำแหน่งผู้ช่วยบรรณาธิการข่าว สังกัดสำนักข่าวไทยพีบีเอส โพสต์ข้อความบนบัญชี Facebook ส่วนตัว ที่ใช้ชื่อว่า กะทิ จ้า ให้ข้อมูลและภาพเกี่ยวกับประสิทธิภาพและผลกระทบของผู้รับวัคซีนที่ไม่ถูกต้อง และทำให้สื่อมวลชนสังกัดอื่นใช้ข้อมูลและภาพจากบัญชีดังกล่าวไปเผยแพร่ซ้ำ จนทำให้สังคมเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประสิทธิภาพและผลกระทบของผู้รับวัคซีน อันนำมาซึ่งความเสียหายต่อผู้เกี่ยวข้องและเกิดความเข้าใจผิดขึ้นในสังคมเป็นวงกว้าง

ล่าสุดวันนี้ (13 พฤษภาคม 2564) นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย กล่าวถึงกรณีที่สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสนำเสนอสกู๊ปข่าวรายงานตัวเลขที่ผิดพลาดหลายจุดเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนที่มีต่อเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้, การแปลข่าวชาวอินเดียเช่าเครื่องบินเหมาลำมายังประเทศไทยอย่างผิดๆ และล่าสุดผู้ช่วยบรรณาธิการข่าวได้เผยแพร่ข่าวหญิงสาวที่เข้ารับวัคซีนซิโนแวคที่ จ.อุดรธานี แอบอ้างภาพของผู้ป่วยรายหนึ่งที่โรงพยาบาลหนองม่วง จ.ลพบุรี ที่มีอาการแพ้ยา มีผื่นแดงเต็มตัว มาเผยแพร่ควบคู่กันจนเกิดความเข้าใจผิด ซึ่งเป็นการนำเสนอข่าวคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงหลายต่อหลายครั้ง เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันของสังคมนั้น

ซึ่งการเสนอข่าวที่ผิดพลาดในลักษณะดังกล่าวบ่อยครั้ง สร้างความตื่นตระหนกและสับสนให้เกิดขึ้นกับผู้ชมอย่างแพร่หลาย แม้จะมีการแก้ข่าวแล้วแต่ก็เกิดขึ้นอย่างล่าช้า อันชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการทำงานของสื่อไทยพีบีเอสที่อาจขาดความเที่ยงตรงและความรับผิดชอบต่อสาธารณชนโดยชัดแจ้ง อันเข้าข่ายการฝ่าฝืน ม.43(1) ประกอบ ม.42(1)(2) แห่งพรบ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย 2551 และข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมของวิชาชีพเกี่ยวกับการผลิตและเผยแพร่รายการ 2563 ข้อ 5 ประกอบข้อ 7

นอกจากนั้น ยังเป็นการการทำที่อาจขัดต่อกฎหมายและหรือขัดต่อจริยธรรมแห่งวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ซึ่งสำนักงาน กสทช. มีอำนาจดำเนินการตาม พรบ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 2551 ม.40 ประกอบ ม.39 รวมทั้งเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยว่าด้วย จริยธรรมแห่งวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ 2553 ประกอบธรรมนูญสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ 2563 อีกด้วย

ด้วยเหตุดังกล่าว สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงจะนำความไปร้องเรียนต่อสำนักงาน กสทช.เพื่อให้ใช้อำนาจตามกฎหมาย เพื่อลงโทษผู้บริหารหรือกองบรรณาธิการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ตามครรลองของกฎหมายต่อไป โดยจะเดินทางไปยื่นคำร้องใรวันศุกร์ที่ 14 พ.ค.64 เวลา 10.00 น. ณ สำนักงาน กสทช. ถ.พหลโยธิน ซอย 8 (ซอยสายลม) พญาไท กทม.