“อ.ไชยันต์” ชี้จุด วิทยานิพนธ์ “ณัฐพล” บิดเบือน อ้างแก้ไขแล้ว แต่จงใจคงความหมายให้ร้ายสถาบัน!!

3067

จากกรณีที่ ศ.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กพาดพิงถึงกรณีการตรวจสอบพบข้้อมูลบิดเบือน ในวิทยานิพนธ์ระบุว่า

“กำลังค้นเรื่องนักศึกษาถูกฟ้องหมิ่นประมาท เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์แบบ อ. ณัฐพล พบว่าโดยทั่วไปแล้วมหาลัยที่นักศึกษาเรียนอยู่ จะมีบทบาทปกป้องนักศึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาจากการถูกฟ้อง เพราะเป็นเหมือนกับร่มหรือสถานที่ปลอดภัยที่ให้หลักประกันแก่เสรีภาพทางวิชาการ ซึ่งรวมไปถึงเสรีภาพในการคิดและแสวงหาความรู้ แล้วถ้าผลของการแสวงหานั้นมีอะไรผิด ก็ต้องแก้ไขความผิดนั้น โดยการทำผิดและการแก้ไขข้อที่ผิด เป็นส่วนหนึ่งที่แยกไม่ออกจากกระบวนการหาความรู้ ถ้ามหาลัยโดยผ่านอาจารย์ที่ปรึกษาและกรรมการสอบ ไม่ยกโทษให้นิสิตที่ค้นข้อมูลผิด ก็จะทำให้ต่อไปไม่มีนิสิตกล้าคิดกล้าพูด กล้าแสวงหาความรู้อะไรใหม่ๆท้าทายอีก การทำวิทยานิพนธ์ก็จะกลายเป็นแบบฝึกหัดเชื่องๆ ทำตามสูตรไปเรื่อยๆ ไม่มีอะไรใหม่ บรรยากาศของมหาวิทยาลัยในการเป็นสถานที่ปกป้องการแสวงหาความรู้ก็จะเสียไป ประเด็นคือมหาวิทยาลัย (โดยผ่านอาจารย์ที่ปรึกษาและกรรมการสอบ) ได้ค้นพบข้อผิดพลาดนี้หรือยัง ก็พบแล้ว และได้ทำการแก้ไขไปหรือยัง ก็ทำแล้ว ดังนั้นผมจึงมองไม่เห็นว่ายังจะมีประเด็นอะไรในเรื่องนี้เหลืออยู่อีก”

ล่าสุด ศาสตราจารย์ ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหนึ่งในคณะกรรมการวิทยานิพนธ์ ได้โพสต์บทความผ่านเฟซบุ๊ก ถึงกรณีข้อบิดเบือนในวิทยานิพนธ์ฉบับดังกล่าว ที่่แม้ว่าจะมีการแก้ไขแล้ว แต่ก็ยังจงใจคงความหมายบิดเบือนเช่นเดิม โดยระบุว่า

“เมื่อขอมา ก็จัดให้ ไล่กันไปทีละจุด
ในวิทยานิพนธ์เรื่อง “การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500)” ของณัฐพล ใจจริง ที่สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2552 และเป็นวิทยานิพนธ์ที่ได้รับการประเมินผลในระดับดีมาก ในหน้า 63 ของวิทยานิพนธ์ ณัฐพลเขียนว่า

ไชยันต์ ไชยพร" รวมข่าวเกี่ยวกับ "ไชยันต์ ไชยพร" เรื่องราวของ"ไชยันต์ ไชยพร"

“แต่การรัฐประหารครั้งนี้ (พ.ศ. 2490/ผู้เขียน) ไม่อาจสำเร็จได้ หากปราศจากสถาบันกษัตริย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของกรมขุนชัยนาทเรนทร ผู้สำเร็จราชการฯและทรงมีบทบาทในการรับรองการรัฐประหารอย่างแข็งขัน”
ณัฐพลรู้ได้อย่างไรว่า กรมขุนชัยนานเรนทรทรงมีบทบาทในการรับรองรัฐประหารอย่างแข็งขัน ?

ณัฐพลอ้างว่า เขาได้ข้อมูลจากหน้า 210 ในหนังสือของ Edwin Stanton ชื่อ Brief Authority: Excursion of a Common Man in an Common World ที่ตีพิมพ์ปี พ.ศ. 2500
ทีนี้ เมื่อไปดูตัวเอกสารอ้างอิงของ Stanton หน้า 210 ที่ณัฐพลใช้อ้างในการเขียนให้คนอ่านเข้าใจว่า “กรมพระยาชัยนาทเรนทร ผู้สำเร็จราชการฯและทรงมีบทบาทในการรับรองการรัฐประหารอย่างแข็งขัน”

ณัฐพล ใจจริง "จุดกำเนิดของระบอบเผด็จการอำนาจนิยมแบบไทยในยุคสมัยสงครามเย็น"  - YouTube

พบว่าในหนังสือ Brief Authority: Excursion of a Common Man in an Common World ของ Stanton หน้า 210 มีข้อความดังนี้:
: “Later the Prince told me it seemed to be the best interest of the country to acquiesce in what had been done in order to avoid bloodshed. ‘As you know,’ he told me, ‘bloodshed is abhorrent to us as Buddhists.’ ”

ข้อความดังกล่าวแปลเป็นไทยได้ว่า
“ภายหลัง the Prince (กรมขุนชัยนาทฯ) กล่าวแก่ข้าพเจ้าว่า มันดูจะเป็นผลประโยชน์ที่ดีที่สุดสำหรับประเทศที่จะยอมรับในสิ่งที่ได้เกิดขึ้นไปแล้วเพื่อหลีกเลี่ยงการนองเลือด ‘อย่างที่รู้’ พระองค์กล่าวแก่ข้าพเจ้า ‘การนองเลือดเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจสำหรับเราในฐานะชาวพุทธ”
จากข้อความของ Stanton คำถามคือ มีข้อความหรือคำอะไรที่สื่อได้ว่า กรมขุนชัยนาทฯทรงมีบทบาทในการรับรองรัฐประหารอย่างแข็งขัน ?

เพราะจากข้อความของ Stanton กล่าวได้แต่เพียงว่า พระองค์ทรงยอมรับรัฐประหารที่ได้เกิดขึ้นไปแล้วได้ด้วยเหตุผลที่ว่า การรัฐประหารที่เกิดขึ้นไม่มีการเสียเลือดเนื้อ
และในหน้าเดียวกันนั้นคือหน้า 63 ของวิทยานิพนธ์ ณัฐพลยังเขียนต่อไปอีกว่า
“ขณะนั้นกรมพระยาชัยนาทเรนทรงเป็นเพียงหนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการตามรัฐธรรมนูญฉบับ 2489 แต่ทรงลงนามพระนามประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 2490 ที่เกิดจากการรัฐประหารแต่เพียงผู้เดียวอย่างรวดเร็ว”

และข้อมูลที่ณัฐพลใช้ในการเขียนให้คนอ่านเข้าใจว่า “กรมพระยาชัยนาทเรนทรงเป็นเพียงหนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการตามรัฐธรรมนูญฉบับ 2489 แต่ทรงลงนามพระนามประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 2490 ที่เกิดจากการรัฐประหารแต่เพียงผู้เดียวอย่างรวดเร็ว” คือ หน้า 100 ของหนังสือของ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ของณัฐพลเอง

สนพ.ฟ้าเดียวกัน โต้ ไชยันต์ กล่าวหา 'ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี'  ผลงานที่กุเรื่อง

หนังสือของ สุธาชัย เล่มนี้ชื่อ แผนชิงชาติไทย: ว่าด้วยรัฐและการต่อต้านรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2491-2500) ตีพิมพ์ปี พ.ศ. 2550 และถ้าเปิดไปที่หน้า 100 ของหนังสือ แผนชิงชาติไทย: ว่าด้วยรัฐและการต่อต้านรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงครามครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2491-2500) จะพบข้อความดังนี้:
“อนึ่ง ม.จ. จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์ บุตรเขยของ น.อ.กาจ เก่งระดมยิง ก็มีส่วนทำให้ความสำเร็จในการัฐประหารสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ด้วยการเป็นตัวกลางนำ น.อ. กาจและ พล ท. ถนอม กิตติขจร ไปพบกับ กรมขุนชัยนาทเรนทร ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ที่วังถนนวิทยุในเวลา ๑.๐๐ น. ของวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ เพื่อขอให้ลงนามรัฐธรรมนูญชั่วคราว จากนั้นต่อมา ม.จ. จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์ ก็ได้รับแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร ให้เป็นตัวแทนเดินทางไปกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ในวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ด้วย”

จากข้อความข้างต้น มีอะไรที่สื่อได้ว่า กรมพระยาชัยนาทเรนทรงลงนามพระนามประกาศใช้รัฐธรรมนูญอย่างรวดเร็ว ??
ต่อมา ณัฐพล ใจจริง และ ธนาพล อิ๋วสกุล สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน อ้างว่าได้มีการทำการแก้ไขปรับปรุงวิทยานิพนธ์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และนำวิทยานิพนธ์ที่แก้ไขปรับปรุงให้สมบูรณ์นี้มาตีพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ “ขุนศึก ศักดินา พญาอินทรี”

ในหน้า 60 ของหนังสือ “ขุนศึก ศักดินา พญาอินทรี” ณัฐพลและฟ้าเดียวกันได้ตัดข้อความที่กล่าวว่า “กรมพระยาชัยนาทเรนทรงเป็นเพียงหนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการตามรัฐธรรมนูญฉบับ 2489 แต่ทรงลงนามพระนามประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 2490 ที่เกิดจากการรัฐประหารแต่เพียงผู้เดียวอย่างรวดเร็ว” ที่เคยปรากฎอยู่ในวิทยานิพนธ์ออกไป

แต่ยังคงข้อความว่า “รัฐประหารครั้งนี้ไม่อาจสำเร็จได้หากปราศจากบทบาทของกรมขุนชัยนาทนเรนทร ผู้สำเร็จราชการฯ ซึ่งมีบทบาทในการรับรองการรัฐประหารอย่างแข็งขัน”

และยังคงอ้างข้อมูลหน้า 210 ของหนังสือ Brief Authority: Excursion of a Common Man in an Common World ของ Stanton อยู่
ซึ่งอย่างที่ชี้ให้เห็นไปแล้วว่า ในหน้า 210 ของหนังสือดังกล่าว ไม่มีข้อความใดเลยที่จะสื่อว่า กรมขุนชัยนาทนเรนทร ผู้สำเร็จราชการฯ มีบทบาทในการรับรองการรัฐประหารอย่างแข็งขัน
ขอเชิญติดตาม จุด ต่อไป…เรื่อยๆ….”