อิจฉากำเริบ!? สามนิ้วปั่นเฟคนิวส์ “บลูไดมอนด์” หลังเจ้าชายเชิญ “บิ๊กตู่” เยือนซาอุฯ ในรอบ 30 ปี!?

1406

หลังจากที่เว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้เปิดเผยระบุว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เตรียมเดินทางเยือนประเทศซาอุดีอาระเบียระหว่างวันที่ 25-26 ม.ค. นี้ ในฐานะอาคันตุกะในสมเด็จเจ้าฟ้าโมฮัมหมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซิซ อัล ซาอุด มกุฎราชกุมาร แห่งซาอุดีอาระเบีย

ทั้งนี้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ มกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย ทรงดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของซาอุดีอาระเบียด้วย

โดยกระทรวงการต่างประเทศของไทย ระบุต่อไปว่า การเยือนครั้งนี้นับเป็นการเดินทางเยือนของหัวหน้ารัฐบาลเป็นครั้งแรกระหว่าง 2 ประเทศในรอบกว่า 30 ปี ส่วนการเข้าเฝ้าสมเด็จเจ้าฟ้าฯ มกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบียนั้น มีขึ้นเพื่อกระชับและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ ทั้งนี้ก็มีหลายฝ่ายจับตามองว่า การเยือนซาอุฯ ครั้งนี้จะเป็นผลดีกับประเทศไทยด้วย เนื่องจากซาอุฯ เป็นสมาชิก G20 ประเทศทรงพลังในเวทีระหว่างประเทศ มีเงินลงทุนทั้งในและนอกประเทศมหาศาล เคยเป็นตลาดแรงงานข้ามชาติที่ใหญ่มากของไทยอีกด้วย

แต่ล่าสุดในโลกโซเชียลกลับมีประเด็นที่กลุ่ม 3 นิ้ว ปั่นเฟคนิวส์เรื่องบูลไดมอนด์ขึ้นมาอีกครั้ง ว่าการไปเยือนซาอุฯครั้งนี้เป็นการนำเพชรไปคืน พร้อมทั้งยังมีข้อความพาดพิงไปถึงสถาบันฯอีกด้วย อีกทั้งยังมีการใช้ถ้อยคำไม่เหมาะสม วิจารณ์ว่ารัฐบาลจะขายแผ่นดิน ไปครั้งนี้ต้องเสียอะไรบ้าง มีการดีลอะไรกัน ที่ไทยต้องเสียผลประโยชน์หรือไม่ ทั้งที่ความจริงแล้ว การเยือนซาอุฯในครั้งนี้ นายกฯได้รับเชิญในฐานะแขกคนสำคัญของเจ้าชายซาอุฯ

อย่างไรก็ตามย้อนไปเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2564 เพนกวิน แกนนำม็อบราษฎร ได้มีการแต่งชุดไทยพร้อมสวมเครื่องประดับเพชร ที่อาจจะจงใจสื่อสารถึงเรื่อง “บลูไดมอนด์” มาร่วมม็อบหน้า สน.ยานนาวา พร้อมถามว่าแต่งชุดไทยหมิ่นสถาบันกษัตริย์อย่างไร โดยจะเห็นว่าที่ผ่านมากลุ่มม็อบ 3 นิ้ว มีการเข้าใจผิด ว่าประเด็นการขโมยบูลไดมอนด์นั้น มีความเชื่อมโยงกับสถาบันฯ ทั้งนี้เพจดังหลายเพจ ได้นำเสนอความจริงชัดว่า สร้อยที่สมเด็จพระพันปีได้สวมใส่นั้น มิใช่ “บลูไดมอนด์” ของซาอุฯ ตามคำกล่าวเท็จใส่ร้าย แต่เป็น “สร้อยพระศอไพลินสีน้ำเงิน (Blue Sapphire)” ซึ่งสร้อยนี้ประดับเพชรโดยไพลินสีน้ำเงินเม็ดนี้มีขนาด ๑๐๙.๕๗ กะรัต จี้ไพลินสีน้ำเงินองค์นี้ เป็นฝีมือการออกแบบและประดิษฐ์จากบริษัทอัญมณี Van Cleef & Arpels จากประเทศฝรั่งเศส เมื่อประมาณปี ๒๕๐๖