ฟองสบู่สหรัฐแตก!!ดอยช์แบงก์เตือนดุ เมกาเจอศ.ถดถอยครั้งมโหฬาร วอลล์สตรีทแดงทั้งกระดานดิ่งกว่า 800 จุด

2015

ฮือฮาไม่น้อยในหมู่นักลงทุน เมื่อธนาคารดอยซ์แบงก์ของเยอรมนีเตือนว่าสหรัฐฯ กำลังมุ่งหน้าสู่ “ภาวะถดถอยครั้งใหญ่” และชี้ให้เห็นถึงความยากลำบากของธนาคารกลางสหรัฐในการแก้ปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของสหรัฐอย่างที่ไม่เป็นมาก่อน รวมทั้งความกังวลสองเด่งที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าที่คาดเพื่อหยุดเงินเฟ้อให้ได้และ จีนยังยืนยันโควิดเป็นศูนย์เน้นกระตุ้นเศรษฐกิจ และเคลื่อนย้ายทุนบริษัทยักษ์ของจีนจากตลาดหลักทรัพย์มะกันมาฮ่องกงมากขึ้น  ทั้งหมดนี้ทำตลาดหลักทรัพย์สหรัฐในวอลล์สตรีทแดงเถือก

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ร่วงหนัก หุ้นดาวโจนส์ตกไป 810 จุด ท่ามกลางราคาสินค้าบริโภคในอเมริกาปรับขึ้น 8.5% สูงสุดในรอบ 40 ปีท่ามกลางสหรัฐหนุนสงครามและการล็อกดาวน์โควิด-19 ของจีนสร้างแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อ

วันที่ 27 เม.ย.2565 สำนักข่าวนิวส์วีคและซีเอ็นเอ็น สื่อสหรัฐฯ รายงานตั้งคำถามถึงรายงานของนักเศรษฐศาสตร์ธนาคารดอยช์แบงก์Deutsche Bankที่ออกมาในวันอังคารที่ 26 เม.ย.ที่ผ่านมา คาดการณ์สถานการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ว่า “สหรัฐฯกำลังเผชิญกับเศรษฐกิจถดถอยครั้งมโหฬาร”

ในรายงานที่ส่งถึงลูกค้าในหัวข้อ “เหตุใดภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่กำลังจะเกิดขึ้นจึงเลวร้ายกว่าที่คาดไว้”  และเตือนว่าเฟดมีแนวโน้มที่จะต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขอบเขตที่จะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ และดูเหมือนจะตำหนิความพยายามของเฟดในการลดอัตราเงินเฟ้อลงสู่เป้าหมายร้อยละ 2 ต่อปี ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้

ในรายงานระบุว่า ในขณะที่เงินเฟ้อกำลังเพิ่มสูงขึ้นแต่มันต้องใช้เวลายาวนานก่อนที่มันจะสามารถลงมาตามเป้าหมายของเฟดที่ 2% ซึ่งสิ่งนี้ชี้ไปว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ กำลังจะปรับเพิ่มดอกเบี้ยอย่างหนัก 

ราคาสินค้าผู้บริโภคในสหรัฐฯ ปรับขึ้นถึง 8.5% สูงสุดในรอบ 40 ปี ขณะที่ตลาดแรงงานสหรัฐฯ กำลังฟื้นตัวโดยมีตำแหน่งงานเพิ่ม 431,000 ตำแหน่งในเดือนที่ผ่านมา ส่งผลทำให้อัตราว่างงานสหรัฐฯ ต่ำที่ 3.6% หลังวิกฤตโควิด-19 อ้างอิงจากสำนักงานสถิติแรงงานสหรัฐฯ ในวันศุกร์ (22) 

ซัล กัวเทียรี(Sal Guatieri) นักเศรษฐศาสตร์ประจำแบงก์ออฟมอนทรีอัล ( BMO:Bank of Montreal) แห่งแคนาดา ออกมาเตือนด้วยว่า ค่าแรงเพิ่มขึ้นในสหรัฐฯ จะยิ่งส่งผลกระทบทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น

ในรายงานของดอยช์แบงก์ยังคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะสามารถฟื้นกลับมาได้ภายในช่วงกลางปี 2024 ซึ่งธนาคารได้ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยสำคัญเบื้องหลังการคาดการณ์ถึงสถานการณ์ในแง่ลบนี้ที่ว่า สภาพอัตราเงินเฟ้อจะยังคงปรับขึ้นสูงยาวนานกว่าที่เคยคิด โดยชี้ว่าหากว่าสภาพอัตราเงินเฟ้อยังคงเพิ่มขึ้นจะทำให้เฟดต้องพิจารณาการปรับอัตราดอกเบี้ยครั้งใหญ่

ทั้งนี้ ในเดือนมีนาคมธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับอัตราดอกเบี้ย 0.25% และผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ เจอโรม พาวเวล (Jerome Powell) ออกมายอมรับว่าข้อเสนอการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่ม 0.5% นั้นได้อยู่บนโต๊ะการประชุมในสัปดาห์หน้า

ดอยช์แบงก์ชี้ว่า ในความคาดหวังว่าถึงการใช้หนทางที่เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปจะสามารถทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ สามารถอยู่ในหนทางที่ยั่งยืน แต่ดอยช์แบงก์กล่าวว่า “สิ่งนี้น่าจะไม่เกิดขึ้น”

และทางธนาคารได้เสนอแนะว่า “ในความเห็นของเราคิดว่าหนทางเดียวที่จะลดความเสียหายทางเศรษฐกิจ การเงิน และสังคมของสถานการณ์เงินเฟ้อที่ยืดเยื้อคือ หยุดการทำผิดพลาดโดยการทำบางอย่างมากจนเกินไป” ถ้าแปลกันตรงๆน่าจะหมายถึงการขึ้นดอกเบี้ยรัวๆเพื่อให้ทุนไหลมาถือพันธบัตรสหรัฐมากเกินเหมาะสม แม้จะรักษาสถานะเงินดอลลาร์ให้แข็งค่าไม่รู้จบแต่มันผิดปกติ ไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาดเสรี

รายงานของดอยช์แบงก์เผยแพร่วันเดียวกันกับที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ร่วง หุ้นดาวโจนส์ตกไป 810 จุด หรือราว 2.4% ขณะเดียวกัน ในวันอังคารที่ 26 เม.ย.2565ที่ผ่านมา  ตลาดหุ้นในเอเชียถดถอยเช่นกันเป็นผลมาจากการชัตดาวน์ทางเศรษฐกิจในจีนที่เกิดมาจากนโยบายต้องโควิดเป็นศูนย์ของปักกิ่ง หวั่นการช็อตดาวน์เมืองใหญ่เซี่ยงไฮ้ส่งผลกระทบซัปพลายเชนทั่วโลก จีนถือเป็นผู้บริโภครายใหญ่ที่สุดในเซกเตอร์ไฮเทคและเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐฯ

อย่าว่าแต่เยอรมนีทนไม่ได้ต้องเตือนเลย แม้แต่นักลงทุนของสหราชอาณาจักรก็ยังกังวลเช่นกัน ล่าสุดรัสส์ โมลด์(Russ Mould) ผู้อำนวยการด้านการลงทุนของเอเจ เบลล์ (AJ Bell )ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการลงทุนของสหราชอาณาจักร เขียนไว้เมื่อวันที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมาว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ สูญเสียพลังไปมากในบทความเรื่อง “ภาวะเศรษฐกิจถดถอยกำลังจะมาถึงหรือไม่?(Is a recession on the way?)”

โมลด์กล่าวว่า“มีหลักฐานบางอย่างที่แสดงว่าเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือสหรัฐฯอาจเผชิญปัญหา และประเทศตะวันตกที่เหลือจะตามมา” “ในดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ หรือ PMI ล่าสุดของสหรัฐฯ สำหรับภาคการผลิต คำสั่งซื้อใหม่ลดลง 7.9 จุด เหลือเพียง 53.8 นั่นคือสัญญาณการลดลงของการผลิต ครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2020 และหากการตัวเลขนี้ต่ำกว่า 50 ต่อไปอีกก็อาจเกิดปัญหาตามมาได้ ” 

สัญญาณอันตรายของเศรษฐกิจสหรัฐฯอาจหนักกว่าที่คาด  จึงเห็น ความพยายามผลักดันสงครามนอกบ้านของผู้นำและทีมบริหารเมกาในพื้นที่ขัดแย้ง ทั้งในยุโรป เอเชียแปซิฟิกถูกเร่งเร้าอย่างผิดปกติ??