จากที่วันนี้ 11 กุมภาพันธ์ 2565 ดร.สมเกียรติ โอสถสภา อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ลงในเฟซบุ๊ก โมเดลความสำเร็จของไทย ที่องค์การสหประชาชาติศึกษาและนำไปเผยแพร่ทั่วโลกนั้น
ทั้งนี้เนื้อหาที่ดร.สมเกียรติ นำมาเปิดเผย ซึ่งเชื่อว่าคนไทยหลายคนอาจยังไม่ทราบ จึงขอนำมาเผยแพร่ต่อบางส่วนที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งดังนี้
UN จัดประชุมนักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกเมื่อสิบกว่าปีก่อน มีรายงานสรุปประเทศที่พัฒนาได้เร็วต่อเนื่องผิดไปจากที่UN มาศึกษาไว้มากที่สุด คือ ประเทศไทย
UN สรุปว่าโมเดลความสำเร็จของประเทศไทยในรอบ 40 ปี จนถึงปี 2543 มีแกนหลัก 5 แกน หมุนเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง สนับสนุน ส่งพลังสนับสนุนกัน
1 การวมพลังสร้างชาติ ไม่สร้างสงครามกลางเมือง 2 การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 3 การปรับตัวทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ 4 การเชื่อมต่อกับต่างประเทศอย่างสร้างสรรค์ 5 สร้างทรัพยากรใหม่นำคนเก่งซื่อสัตย์นำหน่วยงาน
ศูนย์กลางของโมเดล คือ ความสำเร็จในการรวมชาติ สร้างรัฐ เรียกว่า state formation หรือ nation building ความสำเร็จเกิดจากการเชื่อมต่อร้อยโยงจิตใจของประชาชนเป็นหนึ่ง
ไทย ไม่สร้าง ความแตกแยกที่เกิดจากภาษา ศาสนา ไม่สร้าง ความขัดแย้งทางชนชั้น ภูมิภาค วัฒนธรรมให้เพิ่มขึ้น แต่ลดความแตกต่างลง
จึงไม่เกิดสงครามกลางเมืองเช่นที่เกิดในลาว พม่า เวียดนาม กัมพูชา ไม่เกิดความขัดแย้งภายในแบบอินเดีย และฟิลิปปินส์ จึงเจริญได้เร็ว ต่างชาติยกย่องบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการเข้าถึงประชาชนทุกหมู่เหล่า ทั่วประเทศ ทุกภาค ทุกชั้นชน
ยกย่องการสร้างถนน การศึกษาที่เชื่อมโยงประชาชน ยกย่องวัฒนธรรมไทยที่ดีงามจนนำไปศึกษา นิสัยของคนไทยที่ต่างประเทศมีน้อย เช่น เกรงใจ เข้าใจ to enter in to one s heart เป็นที่สนใจมาก จีนและเวียดนามบอกว่า นิสัยแบบนี้ที่นั่นไม่มี อยู่กันลำบาก ต้องปฏิวัติเปลี่ยนระบบ
UN Team 1990 ระบุปัจจัยที่สอง คือ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมายาวนาน เน้นวินัยการเงินการคลังภาครัฐ ไม่ขาดดุล ไม่ขาดทุน กระทรวงการคลังและแบงค์ชาติรักษากติกานี้มานาน แม้จะพลาดตั้งแต่ยุคชาติชายแต่ก็ฟื้นเศรษฐกิจได้รวดเร็ว ประเทศนี้เน้นเงินเฟ้อต่ำของไม่แพงเพื่อประชาชนอยู่ได้ ไม่เป็นหนี้มากมายาวนาน เพิ่งจะเจอสองสูงเข้า ไปเลย ต่อไปจะแข่งกับชาติอื่นลำบาก ประเทศก็เหมือนกับคน ไม่มีวินัยการเงินครอบครัวก็พัง
ฟันเฟืองที่สาม คือ เน้นการปรับตัวทางเศรษฐกิจ เรียกว่า ความสามารถในการแข่งขัน ต้องผลิตของที่แข่งกับต่างประเทศได้หลากหลายชนิด ยิ่งมากยิ่งดีทั้ง การท่องเที่ยว สินค้าเกษตร อุตสาหกรรม ไม่ฝืนตลาดเช่นนโยบายข้าวที่ตั้งราคาจนทำให้แข่งไม่ได้ แล้วยังกระตุ้นให้คนและประเทศเพื่อนบ้านผลิตมาแข่งมากกว่าเดิม
ฟันเฟืองประเทศไทยอันที่สี่ คือการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับต่างประเทศ สร้างจิตใจที่รักคนไทย ประเทศไทยให้กับคนต่างชาติ ดูแลให้โอกาส ความเป็นธรรมแก่คนไทยทุกสายชาติ เพื่อระดมความสามารถที่หลากหลาย เครือข่ายต่างประเทศมาสร้างเศรษฐกิจชาติ ได้เงิน เทคโนโลยี ตลาด และพลังขับเคลื่อนประเทศ
ประเทศไทยขับเคลื่อนมาได้ ด้วยความสามารถผูกใจคนทั้งคนไทยและต่างชาติ เป็นที่ยอมรับนับถือ เราทำได้ดี มาก พระราชกรณียกิจที่เรียกว่า ทศพิธราชธรรม
ฟันเฟืองที่ห้าของประเทศไทยคือ สร้างคนเก่ง คนดี มีความซื่อสัตย์ มาทำงาน นำหน่วยงาน UN Team สรุปในปี 1990 ว่าโมเดลประเทศไทยถือเป็นแบบอย่างที่ประสบความสำเร็จในการสร้างชาติ นำไปเผยแพร่ทั่วโลก
ในที่ประชุม Consultative Group Meeting ผู้นำประเทศในเอเซียฟังด้วยความสนใจอย่างยิ่ง มีขอเอกสารเพิ่มเติมเพื่อแจกจ่ายให้หน่วยงานในประเทศ กำลังทำตามโมเดลประเทศไทย
หัวใจ คือคนที่ดีที่สุดเก่งที่สุดต้องได้บริหารประเทศและหน่วยงาน ต้องรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ต้องเชื่อมโยงกับต่างประเทศอย่างมีประโยชน์ ต้องไม่สร้างสงครามกลางเมือง และต้องสร้างความสามารถในการแข่งขัน คนยุคก่อนไม่หน้าด้าน ไม่ทุจริตแบบวันนี้ เกรงเสียเกียรติสถาบันที่เล่าเรียนมา
วันนี้ประเทศไทยมีคนที่พยายามสร้างความแตกต่างทางชนชั้น ภาค อาชีพ วัฒนธรรม ซึ่งจะนำไปสู่สงครามการเมืองและการแยกประเทศ ทำแล้วได้ดี มีชื่อเสียงมาก
วันนี้เราใช้ทุนมากมายเพื่อหาเสียงจนการเกษตรที่บรรพบุรุษสร้างมายาวนานมูลค่า 25% ของรายได้เกษตรพังลง
วันนี้เราขาดดุลเยอะมากโดยไม่มีการศึกษาโครงการที่จะลงทุนอย่างชัดเจน
วันนี้คนเก่งคนดีไม่มีโอกาสทำงานให้ประเทศ ระบบนี้ต้องการแบ่งปันเงินทองกันเท่านั้น
UN เริ่มบันทึกบทใหม่ของประเทศไทย การล่มสลายทางเศรษฐกิจ กรณีศึกษาของประเทศไทย เขียนเมื่อปี 2513