เซินเจิ้น-ซิลิคอนวัลเลย์แห่งจีน ฝันที่เป็นจริงของเติ้ง เสี่ยวผิง จากหมู่บ้านชาวประมงกลายเป็นเมืองนวัตกรรมล้ำสมัย เป็นแหล่งรวมบริษัทเทคโนโลยีชั้นสูง และศูนย์กลางการเงินการธนาคารที่ขึ้นชื่อ

2577

หากอเมริกามี ซิลิคอนวัลย์ ที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่บริษัทเทคโนโลยี อย่าง Google Facebook หรือ Apple จีนก็มีเซินเจิ้นเป็นซิลิคอนวัลเลย์ของเอเชียเช่นกัน ขณะนี้ เซินเจิ้นเป็นศูนย์กลางการเงินเป็นอันดับที่ 22 ของโลก เป็นเขตการคาเสรีที่ดำเนินนโยบายด้านนวัตกรรมที่ทันสมัยที่สุด เป็นแหล่งการเรียนการสอนด้านการเงินการคลังชั้นสูง และ ด้านการผลิตและเทคโนโลยีชั้นสูง จึงเป็นเมืองที่สามารถผลิตนักการเงินการธนาคาร และวิศวกร จำนวนมากเข้าสู่ตลาดได้อย่างต่อเนื่อง

Shenzhen:เซินเจิ้น คือเมืองแห่งเทคโนโลยีของจีน ในอดีตขึ้นชื่อเป็นแหล่งช็อปปิ้งของก็อป(เลียนแบบ) ตั้งแต่นาฬิกา กระเป๋ายันเครื่องใช้ไฟฟ้า และใช้คำว่า เซินเจิ้น แทนคำว่าก็อปปี้ไปเลยก็มี เช่น หลุยส์เซินเจิ้น หมายถึงกระเป๋าหลุยส์ก็อปปี้ แม้ว่ากระเป๋าใบนั้นอาจจะไม่ได้ผลิตมาจากเซินเจิ้นก็ตาม  เซินเจิ้นยุคแรกทำการประมง ยุคสอง Tech Copycat และยุคที่สามเปลี่ยนเป็นผลิตแบรนด์ตัวเอง ยุคที่สี่ กำลังก้าวสู่ “ซิลิคอน วัลเลย์” อย่างเต็มตัว

ปี 1979 ที่จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเซินเจิ้น จนถึงวันนี้ 37 ปี เซินเจิ้นได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นเมืองที่มีความเจริญเป็นอันดับที่ 4 ของประเทศจีน เป็นรองเพียง ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกว่างโจว เท่านั้น จากหมู่บ้านชาวประมงที่มีตึกสูงที่สุดเพียงแค่ 5 ชั้น บัดนี้เซินเจิ้นมีตึกสูงเสียดฟ้า 119 ชั้น เป็นอันดับที่ 4 ของโลก คือตึก ผิงอัน อินเตอร์เนชั่นแนล ไฟแนนซ์ เซ็นเตอร์ รองจาก ตึก เบิร์จ คาลิฟา ในนครดูไบ (อันดับที่3) และ ตึกสกายซิตี้ เมืองฉางซา มณฑลหูหนาน(อันดับที่2) และ ตึกคิงดอมทาวเวอร์ เจดดะห์,ซาอุดิอาระเบีย (อันดับที่1)

40 ปีก่อน เซินเจิ้น มีประชากรน้อยกว่า 300,000 คน อาชีพหลัก คือ ทำประมง แต่เมื่ออดีตประธานาธิบดี เติ้ง เสี่ยวผิง ประกาศให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษในปี 2523 กำหนดมาตรการต่างๆ จูงใจนักลงทุน ทั้งด้านภาษีและกฎระเบียบการค้าต่างๆ ทำให้เสิ่นเจิ้นเติบโตเร็ว

จากมูลค่าจีดีพีน้อยกว่า 1,000 ล้านบาทปี 2522 กลายเป็น 1.25 ล้านล้านบาทในปี 2559 และทำให้มีประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 14 ล้านคนในปัจจุบัน มีเพียง 30% ของประชากรที่ลงทะเบียนเป็นพลเมืองประจำของพื้นที่ นอกนั้นเป็นพลเมืองชั่วคราวระยะสั้นหรือระยะยาว ทั้งคาดกันว่าปี 2563 จีดีพีต่อหัวจะเป็น 36,000 ดอลลาร์สหรัฐ

ยุคต่อมาของ เสิ่นเจิ้น คือยุคการปรับเปลี่ยน ที่มีปัจจัยหลักสามด้าน คือ ผู้คนมีความสามารถมากขึ้น มีค่าแรงที่สูงขึ้น และรัฐบาลจีนเริ่มจริงจังในการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์มากขึ้น จากการเข้าสู่ข้อตกลงขององค์กรการค้าโลก ทำให้บริษัทในเสิ่นเจิ้นที่ประสบความสำเร็จ เริ่มสร้างผลิตภัณฑ์และแบรนด์ของตัวเอง

ยุคที่สามของเซินเจิ้นเกิดขึ้นหลังประธานาธิบดีสีจิ้นผิงมาเยี่ยมในปี 2558 และเริ่มจัดตั้ง Maker Space กว่าหนึ่งพันแห่ง เพื่อสร้างฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ แทนการก็อปปี้สินค้าแบบเดิมๆ แต่สุดท้าย Maker Space ก็ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่า Co-working Space ทั่วๆ ไป และส่วนใหญ่ปิดตัวลงหลังไม่ประสบความสำเร็จในเชิงธุรกิจ

ปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคที่สี่ของเมืองเซินเจิ้น คือ การก้าวสู่สากล พร้อมด้านนวัตกรรมที่แข่งในตลาดโลกได้ และเข้าถึงแหล่งเงินทุนต่างๆ ได้มากมาย เป็นศูนย์กลางนวัตกรรม โดยเฉพาะด้านฮาร์ดแวร์

ความสำเร็จของเมืองเซินเจิ้น มาจากการมีบุคลากรที่มีคุณภาพจำนวนมาก มีคนจบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีมากถึง 37.1% สูงกว่าปักกิ่ง และเซี่ยงไฮ้ ทำให้สามารถสร้างงานวิจัยและพัฒนาได้จำนวนมาก โดยตั้งแต่ปี 2552 ถึงปี 2557 พบว่า 90% ของบริษัทในเมืองเซินเจิ้นลงทุนทางด้านการวิจัยและพัฒนา

ขณะที่งบประมาณงานวิจัยและพัฒนาของเมืองเซินเจิ้นคิดเป็น 4.2% ของจีดีพี สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศจีนที่ 2% และ 2.5% ที่เป็นค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศด้านนวัตกรรม เซินเจิ้น ยังเป็นเมืองที่มีสิทธิบัตรสูงที่สุดในประเทศจีน และพบว่าการยื่นจดสิทธิบัตรกว่า 51.8% ของจีนในปี 2559 มาจากที่นี่

เซินเจิ้นนับว่าเป็นเมืองที่มีภาคการผลิตที่ใหญ่ที่สุดและเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทข้ามชาติและบริษัทสัญชาติจีนที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมากเช่น Tencent ของมหาเศรษฐี โพนี่ หม่า,Huawei แบรนด์สมาร์ทโฟนยักษใหญ่ของจีน, DJI แบรนด์โดรนที่ครองส่วนแบ่งการตลาดทั่วโลกกว่า 70%, ZTE แบรนด์สมาร์ทโฟน, BYD แบรนด์แท็กซี่-รถยนต์พลังงานไฟฟ้าของจีน, Ping An Bank, China Merchants Banks

…………………………………………….
Cr:bloomberg