กรรมการสิทธิฯ สภาทนายฯ ยื่นกมธ.กฎหมายสอบ ศูนย์ทนายซัดอุ้มม็อบ?

2117

กรรมการสิทธิฯ สภาทนายฯ ยื่นกมธ.กฎหมายสอบ ศูนย์ทนายซัดอุ้มม็อบ?

จากกรณีที่วันนี้ (27 สิงหาคม 2564) นายปราโมทย์คริษฐ ธรรมคุณากร กรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ยื่นหนังสือต่อนายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.) การกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้ตรวจสอบทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน กรณีรับคดีผู้ชุมนุมทางการเมือง

โดยนายปราโมทย์คริษฐ กล่าวว่า ทนายความที่อ้างตัวว่า ทำเพื่อสิทธิมนุษยชนนั้น  ถ้าเป็นทนายความจริง เป็นผู้มีความรู้ด้านกฎหมาย ควรจะต้องเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ดี ควรแนะนำ สั่งสอน ตักเตือน บุคคลที่กำลังให้ความช่วยเหลือหรือลูกความของตัวเองไม่ให้กระทำการละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น แต่ออกมากล่าวถ้อยคำจากช่วงหยาบคายต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายหรือชุมนุมประท้วงในระบอบประชาธิปไตยโดยการยั่วยุสร้างความเกลียดชังบิดเบือนข้อเท็จจริงสร้างข้อมูลเท็จหลอกลวงให้หนุ่มสาวตกเป็นเครื่องมือสร้างความเสียหายกับบ้านเมืองและสถาบันหลักของชาติ  ไม่ควรเรียกคำนำหน้าของตนเองว่าเป็นนักกฎหมายหรือทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

ขอให้นายสิระ ในฐานะประธานกรรมาธิการการฯกฎหมาย เรียกผู้ที่อ้างตัวว่าเป็นทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนมาทำความเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของการเป็นทนายความต้องคอยชี้แนะลูกความในความดูแลไม่ให้ไปละเมิดผู้อื่นตามรัฐธรรมนูญมาตรา 4 สิทธิเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับการคุ้มครองซึ่งถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน

โดยทางเพจ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ในช่วงตลอดการชุมนุมที่ผ่านมา ได้มีทนายเข้าไปช่วยเหลือผู้ชุมนุมที่ถูกดำเนินคดีมาโดยตลอด ทั้งนี้ ยังมีการโพสต์ข้อความถึงกรณีที่ได้รับหมายเรียก โดยบอกว่า

หากได้รับหมายเรียกหรือถูกเจ้าหน้าที่โทรมาให้ไปรายงานตัวโดยอ้างว่ามีหมายเรียก ควรทำอย่างไร?
สืบเนื่องจากการออกหมายเรียกกับผู้ชุมนุมอย่างกว้างขวางและมีกรณีจนท.ตำรวจติดต่อให้มารายงานตัวเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาโดยไม่ออกหมายเรียกเป็นเอกสาร ขัดกับหลักที่เจ้าหน้าที่ต้องแสดงหมายเรียกเป็นเอกสารก่อนเท่านั้น
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนชวนทบทวนวิธีการรับมือหากได้รับหมายเรัยกผู้ต้องหาหรือหมายเรียกพยาน
1. เมื่อได้รับหมายเรียกไม่ต้องตกใจ หมายเรียกไม่ใช่หมายจับ “เจ้าหน้าที่ยังไม่มีอำนาจควบคุมตัวใดๆ”
2. ดูให้แน่ชัดว่าหมายที่ได้รับเป็น “หมายเรียกพยาน” หรือ “หมายเรียกผู้ต้องหา” โดยสามารถตรวจสอบได้ที่มุมด้านซ้ายบนของเอกสาร
3. ดูให้แน่ชัดว่าเป็นหมายเรียก “ครั้งที่เท่าไหร่” เพราะการไม่ไปพบเจ้าหน้าที่ตามหมายเรียก 2 ครั้ง อาจเป็นเหตุให้ออกหมายจับได้
4. เมื่อได้รับหมายเรียกแล้ว ควรประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตามหมาย ถามสาเหตุที่นัดหมายและเรื่องที่เจ้าหน้าที่ต้องการรายละเอียดจากเรา โดยยังไม่ต้องให้รายละเอียดใดๆ จนกว่าจะได้ปรึกษาทนาย
5. ถ้าไม่สะดวกตามวันเวลาที่ระบุไว้ในหมาย สามารถทำหนังสือเพื่อขอเลื่อนวันได้
6. ปรึกษาทนายความเพื่อสอบถามแนวทางและขั้นตอนทางกฎหมายต่อไป
แม้จะได้รับ “หมายเรียกพยาน” ก็ควรปรึกษาทนายความก่อนเข้าพบเจ้าหน้าที่ เพราะการให้ข้อมูลโดยไม่ระมัดระวังอาจเป็นเหตุทำให้ถูกดำเนินคดีในภายหลัง
*สำคัญ* นอกจากนี้ หมายเรียกต้องออกเป็นเอกสารเท่านั้น ถ้าหากเจ้าหน้าที่ตำรวจอ้างว่ามีหมายเรียกและขอให้เข้าไปพบที่สถานีตำรวจโดยไม่แสดงเอกสารให้ดู เรามีสิทธิไม่ไปและขอให้เจ้าหน้าที่นำหมายเรียกพยานหรือหมายเรียกผู้ต้องหามาแสดงก่อน
การที่เจ้าหน้าที่รัฐมาหาที่บ้านเพื่อสอบถามข้อมูลส่วนตัวเพิ่มเติม ขอให้เซ็นเอกสารข้อตกลง หรือพยายามควบคุมตัวไปที่สถานีตำรวจโดยไม่มีหมาย ถือเป็นมาตรการนอกกฎหมาย และหากต้องการความช่วยเหลือทางกฎหมายจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน สามารถติดต่อด้วยช่องทางตามที่ระบุไว้