ชาวเน็ต สงสาร “Top News” รณรงค์ชวนฉีดวัคซีนสุดแรง! ต่างกับ “Thai PBS” รายงานข่าวผิดตลอด สปอนเซอร์ก็ไม่ต้องหา กินเงินหลวงยาวๆ?

2335

ชาวเน็ต สงสาร “Top News” รณรงค์ชวนฉีดวัคซีนสุดแรง! ต่างกับ “Thai PBS” รายงานข่าวผิดตลอด สปอนเซอร์ก็ไม่ต้องหา กินเงินหลวงยาวๆ?

จากกรณีที่เมื่อวานนี้ ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒน่คณะนิเทศศาสตรฺและนวัตกรรมการจัดการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)NIDA ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีไทยพีบีเอสที่ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิดของแอสตราเซเนกา ว่ามีประสิทธิภาพป้องกันการป่วยหนักได้แค่ 10%

และบอกว่า เหนื่อยใจกับไทยพีบีเอสจริงๆครับ ผิดอีกแล้ว คราวที่แล้วเรื่องเช่าเครื่องบินจากอินเดียมาไทยแปลผิด คราวนี้ทั้งแปลผิดและเข้าใจข้อมูลผิด และผิดหลายจุดเลย ไทยพีบีเอส นำเสนอสกู๊ปว่าวัคซีนต่างๆมีประสิทธิภาพลดลงในการป้องกันโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ซึ่งอันนี้เป็นความจริง แต่ปัญหาอยู่ที่ สกู๊ปนี้ของไทยพีบีเอส รายงานตัวเลขที่ผิดพลาดหลายจุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการเน้นว่า วัคซีนของแอสตราเซเนกา ที่ไทยจะใช้เป็นหลักนั้น สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 6% และป้องกันการป่วยหนักได้ 10% ซึ่งเห็นตัวเลขอย่างนี้แล้วน่าตกใจมาก โดยเฉพาะการป้องกันการป่วยหนัก

หลังจากที่โพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันเป็นจำนวนมาก และก็ได้มีชาวเน็ตคนหนึ่งได้ออกมาโพสต์ข้อความว่า

สงสารช่อง Top news ทำข่าวเชียร์วัคซีนฯสุดแรงใจ ช่วยรณรงค์ให้คนลงทะเบียนเพื่อฉีดวัคซีนอยู่ช่องเดียว สปอนเซอร์ก็ต้องหาเพื่อความอยู่รอด ผิดกับอีกช่อง รายงานข่าวผิดพลาดทำให้วัคซีนที่เรามีไม่น่าเชื่อถือ แต่สปอนเซอร์ไม่ต้องหา กินเงินหลวงชิลล์ ชิลล์

ต่อมาทางด้าน ผศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ก็ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีของไทยพีบีเอส โดยบทความนี้ถูกเผยแพร่เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2560 โดยมีเนื้อหาที่น่าสนใจว่า

ภาวะที่ไม่ต้องทำอะไรให้ดีเลยก็เลยทำให้ TPBS ถึงห่วยไม่มีคนดู ไม่มีโฆษณา จัด rating ได้บ๊วยหรือเกือบบ๊วยของตารางก็สามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องคิดปรับปรุงอะไรใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะอ้วนพีและมีงบประมาณล้นเหลือเฟือฟายท่ามกลางกระแสดิจิทัลที่สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อวิทยุโทรทัศน์กำลังยากแค้นแสนสาหัส ในเรื่องนี้ TPBS ไม่ได้เดือดร้อนใดๆ เพราะถึงทำรายการได้ห่วยจนคนดูส่ายหน้าแค่ไหนก็ไม่จำเป็นต้องเดือดร้อน ใช้เงินภาษีประชาชนไปได้ตลอด เป็นเสือนอนกินภาษีของประชาชนโดยผลงานจะห่วยอย่างไรก็ได้ เราไม่มีความจำเป็นต้องเอาเงินภาษีนับพันล้านของประชาชนไปเลี้ยงเสืออ้วนที่ไม่ทำหน้าที่และไม่มีหน้าที่อีกแล้ว

TPBS มีการใช้เงินไม่ถูกต้อง เช่น เอาเงินไปซื้อหุ้นกู้ CPF โดยผิดระเบียบและกฎหมาย ทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ จนผอ TPBS คนก่อนต้องลาออกไป ถือว่าใช้เงินอีลุ่ยฉุยแฉก ไร้ประสิทธิภาพ ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรกับประเทศชาติ ยุบทิ้งแล้วเอาเงินสองพันล้านไปให้โรงพยาบาลที่กำลังลำบากอย่างยิ่งน่าจะดีกว่า หรือถ้าเปรียบเทียบกับสื่ออื่นๆ เช่น ASTV News1 นี่ใช้เงินเดือนหนึ่งไม่เกิน 20 ล้านบาทแน่นอน ปีหนึ่ง ๆ เงินเท่านี้ทำสถานีโทรทัศน์ดี ๆ ที่มีคนดูมากกว่านี้ได้ 20-30 สถานีอย่างแน่นอน ไม่ใช่ช่องเดียว ว่าแต่ว่าช่องเยาวชนที่ กสทช. ขอให้ TPBS ทำทำไมจึงยังไม่เกิดจนป่านนี้ ทั้ง ๆ ที่มีเงินมากกว่าเพื่อน ช่องทีวีเยาวชนไม่มีกำไรมากนัก TPBS มีเงินถุงเงินถังน่าจะทำได้ก่อนใคร เพราะมีเงินใช้โดยไม่ต้องหา

การสรรหาผู้บริหาร เป็นในลักษณะพวกพ้อง นายเก่าอยู่ สสส. มีเรื่องอื้อฉาวผลประโยชน์ทับซ้อน เลยชิงลาออก หนีบเอาลูกน้องมาด้วย มา TPBS เป็น รอง ผอ. ในขณะที่สรรหาก็มี NGO ตระกูล ส เข้าไปนั่งเป็นกรรมการสรรหาอยู่มากมาย น้ำเน่ายิ่งกว่านักการเมือง สองคนผัวเมียคุม Sin tax ภาษีของประชาชนไปกว่า หกพันล้าน และเอาเงินเหล่านี้ไปให้ NGO ทำงานและมีฐานเสียงทางการเมืองตระกูล ส

ความจำเป็นของสื่อเสรีไม่มีอีกต่อไปแล้ว ทุกวันนี้ Social media ไม่ว่าจะเป็น Twitter, Line, Facebook หรือ Youtube เอง ประชาชนเป็นสื่อเสรีอยู่แล้ว โดยไม่ต้องเสียเงินให้แม้แต่บาทเดียว แล้วมีเหตุผลอะไรที่จะต้องเอาเงินภาษีของประชาชนไปให้จ้าง NGO มาผลิตรายการให้ TPBS ที่ไม่มีคนดู ปีละ 2000 ล้านบาท ถ้าจะทำจริง ๆ จัดประกวดให้ประชาชนนำเสนอข่าวให้รางวัลประชาชนที่เป็นสื่อเสรีที่ทำสื่อและทำข่าวหรือสารคดีที่มีคุณภาพได้ จัดประกวดได้ผลงานดีกว่า TPBS ผลิตเองหรือจ้าง NGO ผลิตอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างแน่นอนและใช้เงินรางวัลปีหนึ่งไม่ถึง 10 ล้านด้วยซ้ำไปและจะมีคนชมมากกว่าด้วย ให้ประชาชนประกวดแข่งกันทำรายการโทรทัศน์บน Youtube ก็ได้ เสียดายเงินที่ใช้ไม่คุ้มค่ากว่าปีละ 2000 ล้านแล้วเงินเหลือจนต้องไปลงทุนในหุ้นกู้ CPF ตั้งเกือบ 200 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ด้านนายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม ประธานกรรมการบริหารสถานีโทรทัศน์ท็อปนิวส์ เปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า ช่องท็อปนิวส์ ใช้เงินในการดำเนินการบริหารจัดการ ปีละประมาณ 300 ล้านบาท ขณะที่ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสใช้งบประมาณ ปีละ 2,500 ล้าน