สหรัฐอัดฉีดงบฯทางทหาร 740,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทย 22.9 ล้านล้านบาท มูลค่าสูงสุดในรอบ 70 ปี ล่าสุดกองพลน้อยชุดรบ(BCT)จะได้รับการยกระดับอาวุธประจำการขั้นสูง ด้วยงบฯ 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อ้างเตรียมรับภัยคุกคามจีน-รัสเสีย ขณะที่ประชาชนทั่วประเทศระส่ำระสายรอการช่วยเหลือเยียวยา เพราะงบฯเยียวยาผลกระทบโควิดและสวัสดิการของรัฐหมดลงตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา คาดถูกตัดไฟตัดน้ำไร้บ้านในไม่ช้านี้
BCT ย่อมาจาก Brigade Combat Team หรืออาจเรียกว่า กองพลน้อยชุดรบ เป็นรูปแบบการจัดหน่วยรบของกองทัพบก BCT มาจาก 2 คำรวมกัน คือ กองพลน้อย กับชุดรบ คำว่ากองพลน้อย หมายถึง BCT เป็นหน่วยที่มีขนาดใหญ่กว่ากรม แต่เล็กกว่ากองพล ส่วนคำว่าชุดรบ หมายถึง BCT เป็นหน่วยที่มีการผสมหลายเหล่าทั้งราบ ม้า ปืนใหญ่ ช่าง สื่อสาร เป็นต้น และมีทั้งส่วนดำเนินกลยุทธ สนับสนุนการรบ และช่วยรบ เพื่อให้มีความสมบูรณ์และรบได้ดัวยตัวเองเป็นอิสระจากหน่วยเหนือขึ้นไป
สหรัฐมุ่งมั่นในสงคราม-แข่งขันสร้างอาวุธสังหาร
ปัจจุบันกองพลน้อยนี้ได้รับการติดอาวุธ เฮลไฟร์ (ตระกูลเดียวกับนินจาบอมที่ใช้ในซีเรีย) ติดมิซไซล์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการบรรลุภารกิจ “เทคโนโลยีการต่อสู้อากาศยานระยะสั้น”
รถถังสไตรเกอร์สามารถทำลายโดรน, เฮลิคอปเตอร์ และอากาศยานบินระดับต่ำ ซึ่งพัฒนาและทดสอบสมรรถนในการสู้รบยอดเยี่ยมและเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นมีพลังอำนาจมากในยุคนี้
สองสามปีที่ผ่านมา โครงการ “ไอเอ็ม-ชอแหรด”(IM-SHORAD)ของกลาโหมสหรัฐพัฒนาขึ้นในการทดสอบศักยภาพและพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ในการต่อสู้ และเพิ่งได้รับรางวัล การพัฒนารถถังเบาจำนวน 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อ “สร้าง, ทดสอบและนำส่งยานพาหนะ ชอแหรดแก่กองทัพบก เรื่องนี้รายงานโดย GDLS :General Dynamics Land Systems
สำหรับอาวุธต่อต้านอากาศยานซึ่งไม่เห็นอยู่บนรถถังสไตรเกอร์ ผู้พัฒนายุทโธปกรณ์อาวุโสแห่งกองทัพสหรัฐกล่าวว่า ระหว่างสงครามเย็นที่สหรัฐเผชิญหน้ากับโซเวียต รถถังติดอาวุธต่อต้านอากาศยานเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ซึ่งเสื่อมไปเพราะใช้งานหนักในสงครามต่อต้านการก่อการร้ายตลอด 15 ปี
เปรียบเทียบปืนรุ่น M2.50-cal ที่ติดอยู่กับสไตรเกอร์ ในรุ่นใหม่อาวุธขนาด 30 มิลิเมตรถูกออกแบบให้สามารถใช้ในทุกระดับทั้งบกและอากาศซึ่งมีอันตรายร้ายแรง ปืนรุ่นใหม่สามารถยิงได้อย่างน้อยรัวสองรอบในระยะใกล้ด้วยขนาดลำกล้องปืน .50 คาลิเบอร์ นายพลแห่งGDLS ได้ให้สัมภาษณ์กับนสพ.the National Interest.
ในการต่อสู้ภาคพื้นดินที่สนับสนุนด้วยยานเกราะ ต้องการอุปกรณ์ต่อต้านอากาศยานเคลื่อนที่เพื่อโจมตีอากาศยานที่เข้ามาประชิด นี่คือจุดเด่นของรถถัง “SHORAD” ในการสนับสนุนอาวุธยุทโธปกรณ์ขนาดใหญ่ การต่อสู้ระดับภาคพื้นดินต้องการยานเกราะเพื่อสนับสนุนในการข้สะพานและการบุกของทหารราบ
เฮลิคอปเตอร์และโดรนของจีนและรัสเซีย ติดอาวุธจรวด มิสไซล์และปืนขนาดเล็ก แนวความคิดในการผลิต “SHORAD” สามารถโจมตีอาวุธเหล่านี้ในระดับประชิดหรือระยะไกลได้ SHORAD มีทั้งรถถัง ปืนต่อสู่อากาศยานเคลื่อนที่ในระดับเรียลไทม์ ในพื้นที่สู้รบวงกว้าง ที่จรวดมิสไซล์ระดับเล็กทำไม่ได้
อาวุธต่อต้านอากาศยานขีปนาวุธ มีขีดความสามารถในการต่อกรกับขีปนาวุธระดับกลาง และการรบภาคพื้นดิน ขณะที่มิสไซล์เคลื่อนที่อาจจะไม่สามารถสนับสนุนการรบภาคพื้นดินเพื่อทำลายเฮลิคอปเตอร์และโดรนความเร็วสูงได้
วิเคราะห์คุณสมบัติ “ความสามารถในการปรับใช้”, “ความคล่องตัวเคลื่อนที่ไว” และ “ความรวดเร็วว่องไว” ในภารกิจสู้รบ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับ ยุทธศาสตร์การพัฒนารถถังสไตรเกอร์ บนเส้นทางแห่งเป้าหมายของ “สงครามสมัยใหม่แห่งสถาบันเวสต์พอยต์” ยกประเด็นเรื่องรัสเซีย พัฒนาทางทหารและระบบรางอย่างมาก ซึ่งทำให้สามารถมีสมรรถนะในการเคลื่อนที่เร็วกว่าและมีขนาดใหญ่กว่าได้ รถถังสไตรเกอร์รุ่นนี้สามารถเคลื่อนที่ในระยะไกลความเร็ว 60 ไมล์ต่อชั่วโมง สามารถเปรียบเทียบกับระยะเวลาการระดมกำลังคนและสรรพาวุธของรัสเซียได้ การระดมยุทโธปกรณ์นี้เน้นเป็นหลักในการเคลื่อนกำลังพลของกอลพัน “Dragoon Ride” เมื่อหลายปีที่ผ่านมาครั้งนำรถถังสไตรเกอร์เข้าร่วม หน่วยคุ้มกันทางทหารในสงคราม ยุโรปตะวันออกร่วมกับพันธมิตรนาโต้
รัฐบาลทรัมป์เพิ่มงบกลาโหมตั้งแต่สองปีก่อนหน้า
กระทรวงกลาโหมได้งบประมาณเพิ่มขึ้นทุกปีนับตั้งแต่ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์เข้ารับตำแหน่ง
-ปี 2561 กระทรวงกลาโหมได้งบฯ6.12 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ประธานาธิบดีทรัมป์สนับสนุนการเพิ่มงบการทหารเพื่อหวังให้กองทัพสหรัฐแข็งแกร่งที่สุดกว่าที่เคย โดยจะเพิ่มอาวุธยุทโธปกรณ์และกำลังทหาร
-ปี 2562 เดือนเมษายน สถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์ม(ซิปรี)รายงานว่า งบใช้จ่ายทางทหารทั่วโลกพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 1 ทศวรรษ สหรัฐอเมริกาเป็นหัวขบวน ใช้งบประมาณด้านกลาโหมมากถึง 7.32 แสนล้านดอลลาร์ (23.77 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้น 5.3% จากปีก่อนหน้านั้น หรือคิดเป็นสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 38 ของงบใช้จ่ายทางทหารทั่วโลก
-ปี 2563 เดือนกุมภาพันธ์ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้เปิดเผยตัวเลขคำของบประมาณประจำปี 2021 ซึ่งจะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมของปีนี้เป็นต้นไป แผนเค้าโครงงบประมาณจากฝ่ายบริหารของสหรัฐสูงถึง 4.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยจะมีการจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้นให้กับกระทรวงกลาโหม 0.3% เป็นเงินรวมกว่า 740,000 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ(ประมาณ 23 ล้านล้านบาท) และจะตัดลดงบประมาณด้านสวัสดิการสังคมและความช่วยเหลือระหว่างประเทศลง