“เพนกวิน” ไม่รอด นอนคุกยาว ศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัว คดีละเมิดอำนาจศาล พร้อมย้ายไปขังปทุมฯ!!

2655

ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก จากกรณีทนายความยื่นคำร้องขอประกันตัวนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน แกนนำกลุ่มราษฎร คดีละเมิดอำนาจศาลที่ศาลสั่งลงโทษกักขัง 15 วันนั้น

ศาลพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้อง เนื่องจากจำเลยถูกควบคุมตัวในคดีอื่นอยู่แล้ว รวม 2 คดี การปล่อยตัวชั่วคราวในคดีนี้ ไม่เป็นเหตุให้ได้รับการปล่อยตัวในคดีอื่น อีกทั้งผู้ประกันไม่มีความเกี่ยวข้องกับจำเลยแต่อย่างใด ยกคำร้อง

ก่อนหน้านี้ช่วงเช้า ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน แจ้งว่า เวลา 09.30 น. ที่ศาลอาญารัชดา ทนายความยื่นประกันตัวนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ “เพนกวิน” ในคดีละเมิดอำนาจศาลจากกรณีแถลงต่อศาลเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 64 โดยวางหลักทรัพย์ 20,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์

Image

คดีนี้ศาลมีคำพิพากษาให้กักขังเป็นเวลา 15 วัน ขณะนี้ถูกกักขังอยู่ที่สถานกักขังกลางจังหวัดปทุมธานี ทั้งนี้หากศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวในวันนี้ นายพริษฐ์ จะถูกนำตัวกลับมายังเรือนจำพิเศษกรุงเทพเพื่อควบคุมตัวระหว่างพิจารณาในคดี 19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร และคดี Mobfest ตามเดิม

สั่งจำคุก 1 เดือน 'เพนกวิน' ละเมิดอำนาจศาล ประพฤติไม่เหมาะสมในห้องพิจารณา - ข่าวสด

อย่างไรก็ตาม ข้อแตกต่างขอกการจำคุก และการกักขังนั้น เป็นไปตามนั้น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 ระบุไว้ว่า โทษสำหรับลงแก่ผู้กระทำความผิด ได้แก่ ประหารชีวิต, จำคุก, กักขัง, ปรับ, ริบทรัพย์สิน โทษประหารชีวิตและโทษจำคุกตลอดชีวิตมิให้นำมาใช้บังคับแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี

ในกรณีผู้ซึ่งกระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีได้กระทำความผิดที่มีระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ให้ถือว่าระวางโทษดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็นระวางโทษจำคุกห้าสิบปี

Image

การกักขัง ใน มาตรา 23 ของประมวลกฎหมายอาญาระบุไว้ว่า “ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุก และในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อน หรือปรากฏว่าได้รับโทษจำคุกมาก่อน แต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ ศาลจะพิพากษาให้ลงโทษกักขังไม่เกินสามเดือนแทนโทษจำคุกนั้นก็ได้”

ส่วนมาตรา 24 ของประมวลกฎหมายอาญาระบุไว้ในวรรคแรกและวรรคสองว่า “ผู้ใดต้องโทษกักขัง ให้กักตัวไว้ในสถานที่กักขังซึ่งกำหนดไว้อันมิใช่เรือนจำ สถานีตำรวจ หรือสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวน”

“ถ้าศาลเห็นเป็นการสมควร จะสั่งในคำพิพากษาให้กักขังผู้กระทำความผิดไว้ในที่อาศัยของผู้นั้นเอง หรือของผู้อื่นที่ยินยอมรับผู้นั้นไว้ หรือสถานที่อื่นที่อาจกักขังได้ เพื่อให้เหมาะสมกับประเภทหรือสภาพของผู้ถูกกักขังก็ได้”