“บ.ก.ฟ้าเดียวกัน” ปรี๊ดแตก ด่าผู้พิพากษาไม่กล้าลงชื่อยกคำร้องประกัน 4 แกนนำ? เตือนปากดีโชว์โง่หมิ่นศาลระวังเจอคุก

2986

จากกณีที่ ช่วงเช้าวันนี้ 27 ก.พ. 64 นายนรเศรษฐ์ ได้โพสต์ข้อความบนทวิตเตอร์ ว่า “ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัว กลุ่มราษฎร นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ กับพวก โดยให้เหตุผลว่า “ไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม”

โดยคำสั่งศาลคือ
“วันที่ 26 เดือน กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2564
พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดี ประกอบกับศาลอุทธรณ์
เคยไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4ในระหว่างพิจารณามาแล้ว อีกทั้งเหตุตาม
คำร้องไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3
และที่ 4 ในระหว่างพิจารณา คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวชอบแล้ว ให้ยกคำร้อง.”

ต่อมาได้มีการเผยแพร่เอกสารคำสั่งยกคำร้องประกันตัวนายเพนกวินและพวก ของศาลอุทธรณ์ โดย เพจเฟศบุ๊ก ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ได้ตั้งคำถามถึงกรณีการที่ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ลงชื่อในคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยทั้งสี่ โดยได้โพสต์ ข้อความระบุว่า

อาจเป็นรูปภาพของ 3 คน และข้อความ

“ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนส่งหนังสือถึงอธิบดีศาลอุทธรณ์ และ ประธานศาลฎีกา เรื่องการลงชื่อผู้พิพากษาในคำสั่งศาลและการใช้ดุลพินิจในการปล่อยชั่วคราว โดยรายละเอียดในหนังสือมีดังนี้

สืบเนื่องจากกรณีที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ กับพวกรวม 4 คน ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.287/2564 ของศาลอาญา ฉบับลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 รายละเอียดปรากฏตามที่ท่านทราบดีอยู่แล้วนั้น

ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน มีหนังสือฉบับนี้มายังท่านเพื่อสอบถามและขอคำชี้แจงใน 2 กรณี ดังนี้

กรณีที่หนึ่ง ภาคีฯ เห็นว่า การที่ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ลงชื่อในคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยทั้งสี่นั้น ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 10 ซึ่งเป็นหลักทั่วไปบัญญัติว่า
“ถ้อยคำสำนวนต้องระบุชื่อศาล สถานที่ และวันเดือนปีที่จด ถ้าศาลจดถ้อยคำสำนวนตามคำสั่งหรือประเด็นของศาลอื่น ให้กล่าวเช่นนั้น และแสดงด้วยว่าได้ทำไปอย่างใด
ผู้พิพากษาที่จดถ้อยคำสำนวนต้องลงลายมือชื่อของตนในถ้อยคำสำนวนนั้น”

จึงเรียนมาเพื่อสอบถามท่านว่า ท่านอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด หรือข้อยกเว้นใด้เป็นเหตุให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ทำคำสั่งไม่ต้องลงชื่อในคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว และกรณีดังกล่าวเป็นกรณียกเว้นหรือเป็นกรณีโดยปกติทั่วไปในการทำหน้าที่ของศาลอุทธรณ์ที่จะไม่ลงลายมือชื่อในคำสั่งปล่อยชั่วคราว และข้อยกเว้นหรือแนวปฏิบัติดังกล่าว ขัดหรือแย้งกับมาตรา 10 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือไม่

ทั้งนี้ ภาคีฯ เห็นว่าการลงชื่อผู้พิพากษาในคำสั่งที่ตนเป็นผู้สั่งนั้น เป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อการใช้ดุลพินิจของผู้พิพากษาอันพึงมีต่อประชาชนเป็นเบื้องต้น อันสืบเนื่องมาจากหลักการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย หากกรณีการไม่ลงชื่อผู้พิพากษาในคำสั่งดังกล่าวข้างต้นมิใช่เรื่องเฉพาะกรณี แต่เป็นแนวปฏิบัติทั่วไปของศาลอุทธรณ์ ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ในฐานะเป็นองค์กรที่ทำงานด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เสนอให้ท่านทบทวนการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักกฎหมาย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคำสั่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับถ้อยคำสำนวน โดยเฉพาะคำสั่งเกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวที่จะมีขึ้นในอนาคต จะเป็นไปตามมาตรา 10 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

กรณีที่สอง ระยะเวลาในการพิจารณาสั่งคดีดำหมายเลข อ.287/2564 ศาลชั้นต้นส่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวไปยังศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ใช้ระยะเวลาในการทำคำสั่งรวม 3 วันเศษ ส่วนคดีหมายเลขดำที่ อ.247/2561 ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับพวกรวม 39 คน ถูกศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำคุก ศาลชั้นต้นส่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวไปยังศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 ใช้ระยะเวลาในการทำคำสั่งไม่ถึง 1 วัน จึงขอสอบถามมายังท่านว่า เหตุใดคดีทั้งสองจึงใช้ระยะเวลาพิจารณาแตกต่างกัน และนอกจากประเด็นเรื่องระยะเวลาในการพิจารณาทำคำสั่งแล้ว ยังมีประเด็นเรื่องสิทธิในการได้รับการปล่อยชั่วคราวที่แตกต่างกันอีกด้วย ทั้งที่คดีหมายเลขดำที่ อ.284/2564 และคดีหมายเลขดำที่ อ.247/2561 ต่างก็เป็นคดีที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด ซึ่งควรได้รับสิทธิในการปล่อยชั่วคราวเช่นเดียวกันตามหลักการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่กลับแตกต่างกันโดยชิ้นเชิง และไม่อาจเข้าใจได้ภายใต้หลักการแห่งกฎหมาย กรณีดังกล่าว ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องความคิดเห็นทางการเมืองตามมาตรา 27 และมาตรา 29 แห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่

ภาคีฯ ในฐานะที่เป็นองค์กรที่ทำงานด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และในฐานะประชาชนพลเมืองที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยและศาลเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตยที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ หลักกฎหมาย และหลักนิติธรรม จึงขอท่านได้โปรดชี้แจงเหตุผลและข้อกฎหมายดังที่ได้สอบถามข้างต้น เพื่อที่ภาคีฯ รวมทั้งประชาชนในสังคมประชาธิปไตยจะสามารถเข้าใจเหตุผล การใช้ และการตีความกฎหมายของศาลอุทธรณ์ในกรณีดังกล่าวได้มากขึ้น”

ล่าสุด นายธนาพล อิ๋วสกุล บก.ฟ้าเดียวกัน ได้แสดงความคิดเห็นถึงเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน โดยได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า
“กล้าทำ ไม่กล้ารับ
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัว
กลุ่มราษฎร นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ กับพวก
โดยให้เหตุผลว่า “ไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม”
แต่ไม่กล้าลงชื่อ
สมแล้วที่คนจะด่าศาลกันทั้งบ้านทั้งเมือง”