ตบ “โอ๊ค” หน้าสั่น ชำแหละความจริง “นายกฯ” เสี่ยงชีวิตเพื่อชาติ ทดลองวัคซีนแทนประชาชน

2391

จากกรณีที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้เปิดเผยถึงกรณีวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากบริษัทซิโนแวค ไบโอแทค จำกัด ของจีน ล็อตแรก จำนวน 2 แสนโดส จะมาถึงประเทศไทยวันที่ 24 ก.พ.ว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีและได้รับการยืนยันมาแล้วว่าจะเข้ามาวันที่ 24 ก.พ.

ซึ่งตนจะไปร่วมรับวัคซีนด้วย เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าวัคซีนได้เข้าไทยมาแล้ว และวันข้างหน้าจะมีการเข้ามาอีก แต่ละประเภทก็เหมาะสมกับคนบางกลุ่ม ซึ่งบางคนก็ต้องระมัดระวัง ทั้งนี้สถาบันวัคซีนแห่งชาติ จะดูแลอย่างเต็มที่ คนสูงวัย คนที่มีโรคติดต่อจะใช้อะไรอย่างไรก็ว่ากันไป

ทั้งนี้พล.อ.ประยุทธ์ ตอบว่า “ถ้าผมฉีดได้ผมก็ฉีด ก็ไปดูว่าวัคซีนอะไรประเภทไหน ผมก็พร้อมฉีด” จากนั้นนายกฯได้ถามผู้สื่อข่าวว่า ใครจะฉีดกับตนบ้าง จะฉีดไหมก็ไม่อีก ผู้สื่อข่าวตอบว่า ไม่ได้อยู่กลุ่มเสี่ยง โดยนายกฯกล่าวว่า “อยู่ใกล้ฉันก็เสี่ยง”


ต่อมาทางด้านนายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชายนายทักษิณ ชินวัตร อดีตฯนายก โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว วิจารณ์ถึงเรื่องนี้ว่า… อ้าว…เฮ้ยยย!!
“ผู้นำ” ทำแบบนี้ก็ได้หรอ??

ประเทศไทยฉีดวัคซีนให้ประชาชน ล่าช้ากว่าประเทศอื่น จนอาจกระทบทำให้โครงสร้างทางธุรกิจเสียหาย ไม่ทันประเทศอื่น โดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยว ที่ถือเป็นห่วงโซ่ทางธุรกิจอันดับต้น ๆ ของประเทศ

ถ้าคนเป็นนายกรัฐมนตรี คิดว่าการจัดวัคซีนฉีดให้คนไทยไม่ชักช้า ตัวเองก็ไม่ควรรีบร้อนฉีดเป็นคนแรก ๆ ครับ

ผู้นำประเทศควรเสียสละ โดยเรียกความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ว่าการฉีดวัคซีนให้คนไทยไม่ล่าช้า ด้วยการยอมเสียสละ ฉีดเป็นคนสุดท้ายครับ

ไม่ใช่เอาตัวรอด #ตัดช่องน้อยแต่พอตัว ถ้าผู้นำทำตัวแบบนี้ คนไทยจะไม่เชื่อมั่นในตัวผู้นำ มากกว่าไม่เชื่อถือวัคซีนครับ

ทำให้ล่าสุดนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ (แรมโบ้อีสาน) ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ได้ตอบกลับถึงเรื่องนี้ ว่าที่นายพานทองแท้ ชินวัตร โพสต์แสดงความเห็นเรื่องวัคซีนโควิด-19 ว่านายกฯ ไม่ควรรีบร้อนฉีดเป็นคนแรก ผู้นำประเทศควรเสียสละ ฉีดเป็นคนสุดท้าย ไม่ใช่เอาตัวรอด โดยนายสุภรณ์ ระบุว่า ในคำให้สัมภาษณ์ของนายกฯ ที่บอกว่าพร้อมฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 คนแรก ถ้าฉีดได้ ซึ่งก็หมายความว่าจะต้องเป็นไปตามขั้นตอน หลักเกณฑ์ต่าง ๆ

ทั้งนี้ที่นายกฯ ให้สัมภาษณ์เช่นนั้นก็เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่าวัคซีนที่นำเข้ามานั้นมีความปลอดภัย เนื่องจากที่ผ่านมายังมีประชาชนบางส่วนยังมีความกังวลในเรื่องของความไม่ปลอดภัยหากจะฉีดวัคซีนโควิด-19 ขณะที่ในบางประเทศผู้นำได้มีการฉีดวัคซีนเข็มแรกเช่นกัน เพราะว่าต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในประเทศ

นายกฯ มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาและให้ความสำคัญกับประชาชนก่อน ทั้งนี้เพื่ออยากสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน ให้ประชาชนมีความปลอดภัยสูงสุดในการที่จะได้รับวัคซีน ยืนยัน นายกฯ ไม่เคยคิดที่จะเอาตัวรอดหรือเอาเปรียบใคร โดยที่ผ่านมาก็ได้ทำงานอย่างหนักเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์โควิด-19 จนสถานการณ์เริ่มคลี่คลายลง อีกทั้งยังเร่งจัดหาวัคซีนให้คนไทยโดยเร็วที่สุด แต่ทุกอย่างจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่มีอยู่ และคนที่เป็นผู้นำประเทศเขาก็คิดเช่นนี้ คิดถึงประชาชนก่อน

ซึ่งคนอย่างนายพานทองแท้ แม้จะเกิดมาเป็นลูกและหลานของอดีตผู้นำ ก็คงไม่เข้าใจเรื่องนี้ เพราะพ่อและอาของนายพานทองแท้ตอนเป็นผู้นำประเทศไม่เคยคิดถึงใคร คิดถึงแต่ผลประโยชน์ตัวเองมากกว่า ซึ่งหากนายพานทองแท้ยังไม่เข้าใจการทำงานของนายกฯ ก็ไม่ควรที่จะออกมาวิพากษ์วิจารณ์ให้ประชาชนเข้าใจในตัวนายกฯ ผิดไป และทำลายบรรยากาศบ้านเมืองในขณะนี้

“ช่วงนี้นายพานทองแท้ คงว่างมาก หรือไม่ก็คงกินยาผิดขนาดจนมึนเมายาหรือเปล่า จึงได้ออกมาแขวะนายกฯ บ่อย ๆ สงสัยว่ากลัวคนไทยจะลืมพ่อและอาที่ทิ้งปัญหาอะไรไว้ให้กับประชาชน แม้แต่ชาวนาก็ไม่ละเว้น ถ้าขืนออกมาปั่นกระแสให้ตัวเองบ่อย ๆ เช่นนี้คงไม่เป็นผลดี เพราะคนที่เจ็บปวดและทุกข์ใจที่สุดคงไม่พ้นคุณพ่อและคุณอา ที่จะต้องถูกคนไทยขุดเรื่องราวการทุจริตในอดีตขึ้นมาพูดและสาปแช่งอีกต่างหาก ถ้าสงสารคุณพ่อและคุณอาก็ควรจะหยุดวาทะกรรมใส่ความคนอื่นได้แล้ว เพราะยิ่งพูดยิ่งทำให้คนไทยลืมวีรกรรมอัปยศที่ได้กระทำไว้กับประเทศไทยและคนไทยของอดีตผู้นำประเทศทั้งสองคนไม่ได้เลย”

ส่วนเรื่องความกังวลในการฉีดวัคซีน นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับสถานการณ์ “วัคซีนโควิด-19” ซึ่งมีเนื้อหาระบุว่า…

โควิด-19 วัคซีน ทำไมวัคซีน Sinovac ถึงต้องฉีดให้กับผู้มีอายุ 18 ถึง 59 ปี?

จากการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ข้อมูลของวัคซีน Sinovac ยังมีข้อมูลการฉีดวัคซีนในผู้ที่อายุเกิน 60 ปี มีจำนวนน้อย

จากการศึกษาในระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 3 มีผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี อยู่เกือบร้อยละ 4

ดังนั้นทางคณะกรรมการ จึงอนุญาตให้ฉีดในภาวะฉุกเฉิน กับผู้ที่มีอายุ 18 ถึง 59 ปี เช่นเดียวกัน ทำไมไม่ให้เด็กต่ำกว่าอายุ 18 ปี ก็เพราะยังไม่มีข้อมูลในการศึกษาในกลุ่มอายุดังกล่าว

ในทางปฏิบัติจึงจะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ที่ถูกกำหนดไว้ และในอนาคตข้างหน้าเมื่อมีข้อมูลการฉีดในผู้สูงอายุมากเพียงพอ ก็จะขยับการฉีดวัคซีนในผู้สูงอายุต่อไป

ในวันข้างหน้า หรือในระยะเวลาอันใกล้ มีความเป็นไปได้สูงมาก ที่จะขยับอายุขึ้นไป เมื่อมีข้อมูลมากพอ

อย่างไรก็ตามถ้าผู้ที่มีอายุ 60 ปีหรือมากกว่า และมีความเสี่ยงสูง ที่จะติดเชื้อหรือป่วยเป็นโรคโควิด 19 และเกิดอันตรายได้สูง อย่างเช่น คุณหมอจังหวัดมหาสารคาม ก็สามารถที่จะให้ได้ แต่จะต้องประเมิน ประโยชน์ที่จะได้จากวัคซีน มากกว่าอาการข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น โดยแพทย์ได้ให้ข้อมูลทั้งหมด และเจ้าตัวยินดีรับความเสี่ยง ก็สามารถทำได้ ด้วยความยินยอมของผู้นั้น โดยความเห็นส่วนตัว ในระยะเวลาอันใกล้ ข้อมูลการฉีดวัคซีนในผู้สูงอายุ ก็จะมีเพิ่มขึ้นและคงจะได้ฉีดกันทุกคน อดใจรอ

อย่างไรก็ตามจากคำพูดจากหมอยงข้างต้น ก็พอจะชัดเจนแล้วว่า การที่นายกฯจะต้องฉีดวัคซีน อาจจะต้องมีขั้นตอนตามความเหมาะสม และถึงแม้ว่าต้องฉีดเพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากประชาชน ก็ถือเป็นความเสี่ยงที่นายกฯกล้าเสียสละอย่างมาก เพราะอยู่ในกลุ่มนอกเหนือจากเกณฑ์อายุ 18- 59 ปี นอกจากนี้ก็ได้ปรากฎเป็นข่าวจากหลาย ๆ ประเทศ ว่าผู้นำในประเทศนั้น ๆ จะฉีดวัคซีนคนแรก ไม่ใช่เพราะว่าหนีเอาตัวรอดก่อน แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้นำ ก็ย่อมต้องโชว์สปิริตให้เป็นตัวอย่าง เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นใจเพิ่มขึ้น