จาก “บางกลอย” ถึง “จะนะ” การเมืองแฝงตัว-นิสัยอีแอบชอบมุด ย้อน สามนิ้วโผล่สวมรอยชุมนุม?

1684

จาก “บางกลอย” ถึง “จะนะ” การเมืองแฝงตัว-นิสัยอีแอบชอบมุด ย้อน สามนิ้วโผล่สวมรอยชุมนุม?

จากกรณีที่เมื่อวานนี้ (6 ธันวาคม 2564) ได้มีการชุมนุมของกลุ่มชาวบ้านเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น จังหวัดสงขลา ที่บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเดินทางมาชุมนุมทวงสัญญา ที่รัฐบาลเคยระบุไว้เมื่อปีที่แล้วว่า จะยุติโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะและแก้ไขผังเมืองเอาไว้ก่อน นอกจากนี้ ตำรวจควบคุมฝูงชนได้เข้าสลายการชุมนุม และเข้าจับกุมบริเวณเต้นท์หน้าประตู 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งมีการจับกุมตัวผู้ชุมนุมขึ้นรถผู้ต้องขังนำตัวไปควบคุมไว้

ต่อมาทางด้านนายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล และ นายกัญจน์พงศ์ จงสุทธนามณี ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้เดินทางมาถึงด้านหน้าสโมสรตำรวจ เพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ และบอกสื่อมวลชน ที่ปักหลักรอด้านหน้าสั้นๆ ว่า สามารถใช้ตำแหน่งความเป็น ส.ส. ขอยื่นประกันตัวชาวบ้านได้

ในขณะที่ทางด้านของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊ก ประณามการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่เข้าสลายการชุมนุมประชาชนเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น ที่ได้มาปักหลักอยู่บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2564 เพื่อทวงถามความคืบหน้าในการทำตามข้อตกลง กรณีโครงการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมจะนะ จ.สงขลา ที่ได้เคยมีการสัญญากับชาวบ้านว่าจะให้มีการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมใหม่

นายธนาธร ระบุว่า คนทุกคนมีสิทธิที่จะหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติและวิถีชีวิตของตนเอง เช่นเดียวกับชาวจะนะที่มาชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อวานนี้ ย่อมมีสิทธิปฏิเสธไม่เอานิคมอุตสาหกรรมที่นายทุนและนักการเมืองต้องการผลักดัน

โครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ เป็นไปเพื่อผลประโยชน์จากราคาที่ดินที่นายทุนได้ไปกว้านซื้อไว้ก่อนหน้านี้ ดังที่นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล ได้เคยอภิปรายไม่ไว้วางใจนายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ว่าเป็นโครงการที่เต็มไปด้วยการเอื้อผลประโยชน์เครือญาตินักการเมือง นายทุน และการทุจริตเชิงนโยบาย ชาวจะนะเพียงต้องการปกป้องทะเล ชายหาด และวิถีชีวิต ที่จะหายไปจากการสร้างนิคมอุตสาหกรรมจะนะ ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ไม่เห็นหัวคนในพื้นที่ และจะเป็นคนบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้รับผลประโยชน์จากการขายที่ดิน หากนิคมอุตสาหกรรมจะนะเกิดขึ้น เราจะเสียทรัพยากรธรรมชาติไปอย่างที่ไม่อาจหวนคืนได้ และจะได้นิคมอุตสาหกรรมที่ไม่มีใครลงทุนมาแทน

พวกเขามาประท้วงเพราะเดือดร้อน การชุมนุมอย่างสันติเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน และเป็นหนึ่งในเครื่องมือเพียงไม่กี่อย่างที่ประชาชนคนตัวเล็กตัวน้อยมี ในการต่อสู้กับการเอารัฐเอาเปรียบจากรัฐและนายทุน เมื่อไม่มีการชุมนุมก็ไม่มีเสียง เมื่อไม่มีเสียง ประชาชนจะถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างไรก็ได้ การสลายการชุมนุมของพี่น้องจะนะเมื่อคืน จึงเป็นการละเมิดสิทธิพื้นฐานของประชาชน เป็นการกระทำเกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่รัฐ ผมขอเชิญชวนทุกคนช่วยกันส่งเสียงประณามรัฐบาล ผู้ถูกเอารัดเอาเปรียบต้องยืนหยัดต่อสู้เรียกร้องความเป็นธรรม

ล่าสุดวันนี้ (7 ธันวาคม 2564) ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล  พล.ต.ต.จิรสันต์ แก้วแสงเอก รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กล่าวถึงการชุมนุมทางการเมืองในวันนี้ว่า จากข้อมูลทางการข่าวทราบว่าจะมีการชุมนุมจำนวน 5 จุด 1.กลุ่มราษฎรยกเลิก 112 ที่อนุสารสถาน 14 ตุลา เริ่มการชุมนุมเวลา 13.00 น. 2.กลุ่มขุนพลคนของราษฎร ชุมนุมที่หน้าหอศิลป์ เริ่มชุมนุมเวลา 16.00 น. 3.กลุ่มศิลปินเพลงเพื่อราษฎร ชุมนุมที่หน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เริ่มชุมนุมเวลา 17.00 น. 4.กลุ่มพลเมืองโต้กลับ ชุมนุมที่หน้าศาลฏีกา เริ่มเวลา 17.00 น. 5.กลุ่มเครือข่ายทะลุแก๊ส หากมีการชุมนุมจะชุมนุมที่ใต้ด่วนดินแดง เริ่มเวลา 17.30 น.เป็นต้นไป หากมีการรวมกลุ่มคาดว่าจะมีการก่อความไม่สงบและเคลื่อนที่ไปยังจุดใกล้เคียง

ในการรักษาความสงบเรียบร้อย พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผบช.น.ได้จัดกำลังพลและยุทโธปกรณ์ ไว้เรียบร้อย โดยมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบแต่ละพื้นที่ดูแลความสงบเรียบร้อยแล้ว โดยปฏิบัติภายใต้กรอบของกฎหมายเพื่อความปลอดภัยของประชาชนมากที่สุด ส่วนการรักษาความสงบเรียบร้อยวันที่ 6 ธ.ค.ที่ผ่านมา การชุมนุมเป็นไปด้วยความสงบไม่มีความวุ่นวาย แต่ในส่วนของเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น รวมตัวกันเวลา 15.00 น.ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล เจ้าหน้าที่ได้ทำการจับกุมผู้กระทำความผิด 37 คน เป็นชาย 6 คน หญิง 31 คน ถ้าถามว่าทำไมต้องมีการดำเนินการจับกุมนั้น

ประการแรกในการรวมกลุ่มทำกิจกรรมของกลุ่มนี้ปรากฏว่า เข้าไปชุมนุมบริเวณกีดขวางทางจราจรเข้าออกทำเนียบรัฐบาล มีการวางตั้งว่างสิ่งของที่พื้นผิวจราจร เจ้าหน้าที่ทำการเจรจาแล้วยังทำการฝ่าฝืน

ประการที่ 2 การร่วมชุมนุมทำกิจกรรมเกรงว่าจะเป็นการแพร่เชื้อโรค เจ้าหน้าที่จะเข้าทำการตรวจสอบการแพร่เชื้อโรค แต่กลุ่มดังกล่าวไม่ยินยอม

ประการที่ 3 การเข้าดำเนินการ เจ้าหน้าที่มีการเจรจาแต่เห็นว่ามีการรวมตัวกันตั้งแต่เวลา 15.45 น. เจ้าหน้าที่มีการเจรจาหลายครั้ง ตลอดจนมีการจัดเตรียมสถานที่อื่นเพื่อไม่ให้เกิดขวางการจราจร และการแพร่เชื้อโรค แต่กลุ่มผู้ชุมนุมยังฝ่าฝืน

ประการที่ 4 กลุ่มนี้เคยมาเรียกร้องครั้งหนึ่งเมื่อปี 63 ขณะนี้รัฐบาลได้รับข้อเสนออยู่ระหว่างดำเนินการ และการชุมนุมเมื่อปี 63 มีการฝ่าฝืนกฎหมายและมาชุมนุมครั้งนี้ยังมีการฝ่าฝืนกฎหมายอย่างต่อเนื่อง

ประการที่ 5 การข่าวมีผู้เข้าร่วมชุมนุมมาจากกลุ่มอื่นอาจมีการใช้ความรุนแรงก่อความไม่สงบ ถ้าหากปล่อยให้การชุมนุมต่อเนื่องอาจก่อให้เกิดความไม่สงบได้

ประการที่ 6 การเข้าดำเนินการดังกล่าวไม่ได้เป็นลักษณะสลายการชุมนุมแต่เป็นการเจรจาทำการจับกุมผู่กระทำความผิดกฎหมาย และการดำเนินการดังกล่าวไม่ได้ใช้ความรุนแรงเป็นการใช้กำลังควบคุมฝูงชนหญิง เป็นการจับกุมตามปกติ

โดยสรุปทั้ง 6 ประการเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าเป็นเหตุผลความจำเป็นที่ตำรวจต้องดำเนินการจับกุมและดำเนินการตามกฎหมาย นอกจากนั้นสิ่งที่ยืนยันว่าน่าจะมีกลุ่มอื่นเข้ามาใช้ความรุนแรงจะเห็นได้ว่า เมื่อทำการจับกุมผู้ชุมนุมแล้วนำตัวไปควบคุมที่ บช.ปส. มีกลุ่มผู้ชุมนุมตามไปยิงพลุ ประทัดทางเข้าสโมสรตำรวจ เป็นการยืนยันได้ว่ามีกลุ่มผู้ที่อาจจะก่อความไม่สงบและใช้ความรุนแรงเข้ามาร่วมชุมนุมดังกล่าวด้วย ตำรวจจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ส่วนการดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมในพื้นที่กรุงเทพฯว่า มีจำนวน 800 คดี สอบสวนสั่งฟ้องไปแล้ว 401 คดี อยู่ระหว่างสอบสวน 399 คดี

ย้อนไปเมื่อช่วงมีนาคม 2564 ที่มีการชุมนุมของกลุ่มชาวบ้านบางกลอย ที่ปักหลักชุมนุมอยู่มากว่า 7 วัน และมีการชุมนุมของกลุ่มทะลุฟ้า โดยมีการตั้งหมู่บ้านทะลุฟ้าบริเวณทำเนียบรัฐบาล หลังจากนั้น กลุ่มชาวบ้านได้เดินทางกลับหลังมีการทบทวนข้อตกลงบ้างข้อ

ซึ่งทางกลุ่มหมู่บ้านทะลุฟ้า ก็ยังคงปักหลักอยู่บริเวณหน้าทำเนียบ มีการแต่งกายคล้ายชาวบ้าน โดยแกนนำทะลุฟ้า คือบอย แกดำ ได้ออกมาเรียกร้องให้กับชาวบ้านบางกลอย ทั้งที่พื้นเพไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ ทำให้หลายคนตั้งข้อสงสัยว่า รับค่าจ้างมาเพื่อโหนกระแสการชุมนุมของชาวบ้านบางกลอยหรือไม่

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2564 นายธนาธร​ จึงรุ่งเรืองกิจ​ ประธานคณะก้าวหน้า​ เดินทางมาบริเวณถนนพระราม​ 5​ ข้างศาล​กรมหลวงชุมพรฯ เพื่อร่วมทำกิจกรรมกับกลุ่มพีมูฟและภาคีเซฟบางกลอย​ พร้อมขึ้นเวทีกล่าวกับผู้ชุมนุมตอนหนึ่งว่า​ คนกะเหรี่ยงบางกลอยเขาอยู่ในพื้นที่มานานก่อนที่จะมีกฎหมาย ก่อนที่จะมีอุทยานเสียอีก นั่นสะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลไม่เห็นคุณค่าของประชาชน ไม่เห็นหัวประชาชน และกฎหมายมีความล้าหลัง

เขาบอกว่าคนกับป่าอยู่ด้วยกันไม่ได้ แต่เราเชื่อว่าคนกับป่าอยู่ด้วยกันได้ ป่าใดที่มีชุมชนก็จะเป็นป่าที่ยั่งยืน ป่าใดที่ไม่มีชุมชนก็มักจะเป็นป่าที่ไม่ยั่งยืน หลายคนถูกคุกคาม ถูกดำเนินคดีอย่างไม่เป็นธรรม จนต้องมาชุมนุมกันอยู่ในที่นี้ ซึ่งเป็นการประท้วงของคนที่มาด้วยความเดือดร้อน รู้สึกถึงความไม่เป็นธรรม

“ผมไปม็อบมาหลายม็อบ ไม่มีการประท้วงที่ไหนมีความสุข คนที่มามีเรื่องเดือดร้อน เพราะเขารู้สึกถึงความไม่เป็นธรรม ข้อเรียกร้องไม่ได้ยาก และวันนี้จำเป็นต้องพูดอีกครั้งให้ประชาชนได้เข้าใจ เขาไม่รับ MOU เพราะบันทึกความเข้าใจไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย อยากให้เรื่องราวของเขาถูกรับรองอยู่ในมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้มีการตั้งคณะกรรมการอิสระมาศึกษาข้อพิพาท ดังนั้น ระหว่างแสวงหาความจริงและข้อยุติ หยุดคุกคามดำเนินคดีพวกเขาทุกกรณี ถ้าไม่เดือดร้อน อับจนหนทางจริง ๆ ไม่มีใครมาขอความช่วยเหลือที่ทำเนียบรัฐบาล” นายธนาธร กล่าว