ย้อนแย้งในหลักการ?!? สส.นอร์เวย์เสนอทรัมป์รับโนเบลสันติภาพ!?! รางวัลทรงเกียรติ-สับสนหรือมีวาระซ่อนเร้น???

2000

คริสเตียน เทบริง เยเดอ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนอร์เวย์ เปิดเผยกับเอเอฟพีเมื่อวันพุธที่ 9 กันยายน ว่าเขาเสนอชื่อประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐชิงรางวัลโนเบลสันติภาพประจำปี 2564 เหตุผลคือการทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยจนเกิดความตกลงฉบับประวัติศาสตร์และพิเศษระหว่างอิสราเอลกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) ซึ่งเป็นความตกลงที่จะสามารถขยายไปยังประเทศอาหรับอื่นๆได้ เพื่อให้เกิดสันติภาพยั่งยืนในตะวันออกกลาง ทำชาวโลกตะลึงงันว่า “สันติภาพ” ในความหมายของโนเบลมันผิดเพี้ยนไปแล้ว หรือมีเหตุผลอื่นอยู่เบื้องหลัง ตั้งแต่ครั้งมอบให้ปธน.โอบามา-ถอนคืนรางวัลอองซาน ซูยี คนไทยคงไม่ต้องเสียใจที่ไม่เคยได้รับรางวัลนี้อีกต่อไปแล้วกระมัง

รางวัลจากความเสียใจของผู้ประดิษฐ์ไดนาไมต์

รางวัลโนเบลเป็นความตั้งใจก่อนเสียชีวิตของ อัลเฟรด โนเบล (Alfred Nobel) นักเคมีชาวสวีเดน ผู้คิดค้นระเบิดไดนาไมต์ ซึ่งรู้สึกเสียใจจากการที่ระเบิดของเขาถูกนำไปใช้ในการคร่าชีวิตมนุษย์ เขาจึงมอบ 94% ของทรัพย์สินมาให้เป็นเงินทุนในรางวัลโนเบล 5 สาขา (เคมี, การแพทย์, วรรณกรรม, สันติภาพ และฟิสิกส์)

รางวัลโนเบล หรือ  Nobel Prize  เป็นรางวัลประจำปีที่มอบให้แก่บุคคลที่มีผลงานวิจัย ความอัจฉริยะ และความเชี่ยวชาญที่โดดเด่น หรือสร้างคุณประโยชน์ให้กับมนุษยชาติ ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม เป็นรางวัลระดับชาติที่สังคมโลกต่างยกย่องและให้เกียรติแก่บุคคลที่ได้รับรางวัลนี้ ถือเป็นสิ่งที่เชิดชูเกียรติ บ่งบอกถึงความเก่งกาจ ยอดเยี่ยม และเป็นผู้อุทิศตนเพื่อความเจริญก้าวหน้า ความสงบและสันติของ รางวัลนี้จัดและคัดเลือกโดยคณะกรรมการสแกนดิเนเวีย พิธีมอบรางวัลโนเบลจะจัดขึ้น ในวันที่ 10 ธันวาคมเป็นประจำทุกปี อันเป็นวันครบรอบการเสียชีวิตของอัลเฟรด โนเบลโดยรางวัลที่ผู้ได้รับจะได้คือ เงินรางวัลประมาณ 10 ล้านโคร์น หรือประมาณ 44 ล้านบาท ใบประกาศเกียรติคุณ และเหรียญทองคำ 18 กะรัต รูปใบหน้าของผู้ก่อตั้งรางวัล นั่นคือ อัลเฟรด โนเบล

อัลเฟรด โนเบล นักเคมี นักประดิษฐ์ วิศวกร นักเขียนเป็นชาวสวีเดน ผู้ประดิษฐ์ไดนาไมท์ เมื่อครั้งที่มีการทดลองใช้ระเบิดไดนาไมท์ เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด คือการระเบิดครั้งนั้นคร่าชีวิตมนุษย์ไปเป็นจำนวนมาก มีการตีพิมพ์โจมตีเขาอย่างรุนแรงตามสื่อหนังสือพิมพ์ โดยประณามเขาว่า เป็นพ่อค้าแห่งความตาย เขาจึงมอบทรัพย์สินจำนวนมากเกือบทั้งหมดให้เป็นเงินทุนรางวัลโนเบลแก่บุคคล ที่มีผลงานโดดเด่นในสาขาต่าง ๆ 6 สาขา ภายหลังที่เขาถึงแก่กรรมเมื่อปีประมาณ 1985 การมอบรางวัลครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1901  โดยคนแรกที่ได้รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพคือ อังรี ดูนังต์ นอกจากนั้นยังมอบให้แก่ บุคคลและองค์กรอื่น ๆ อีกมากมาย

การมอบรางวัลโนเบลจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี โดยผู้พระราชทานคือ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งราชอาณาจักรสวีเดน

การได้รับรางวัลนี้ผู้ได้รับอาจมีทั้งเป็นบุคคลและกลุ่มบุคคลก็ได้ ผู้ได้รับจะได้รับการเรียกว่า ผู้ได้รับรางวัลโนเบล  การมอบรางวัลนี้มีการแบ่งการมอบรางวัลใน 2 ประเทศคือ  การมอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ จะจัดขึ้นที่เมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์ ส่วนสาขาอื่น ๆ จะจัดที่เมืองสต๊อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน

ในอดีตเคยมีการกล่าวว่ากษัตริย์ออสการ์ที่ 2 แห่งสวีเดนทรงไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการมอบรางวัลที่สำคัญสูงสุดระดับประเทศนี้ให้กับคนต่างชาติ แต่สุดท้ายพระองค์ก็ทรงเปลี่ยนพระทัยเนื่องจากทรงเล็งเห็นว่ารางวัลที่สำคัญนี้จะสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ มีบุคคลสำคัญต่าง ๆ ทั่วโลกที่ได้รับรางวัลนี้ ที่เราอาจรู้จักกันดีก็เช่น แม่ชีเทเราซา เนลสัน แมนเดลา และบารัค โอบามา

มีคนไทยได้รับรางวัลนี้หรือยัง บอกได้ว่า ยัง แต่ก็มีชาวไทย 2 คน ซึ่งเป็นสมาชิกในทีมของเจ้าของรางวัลโนเบล 2017 สาขาฟิสิกส์ เขาคือ ดร.ธารา เฉลิมทรงศักดิ์ และนางสาวณัฐสินี กิจบุญชู โดยผลงานที่ได้รับรางวัลคือ ไลโก้ (LIGO) ซึ่งเป็นเครื่องตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วง

ถ้าพูดถึงสแกนดิเนเวีย หลายคนอาจนึกถึงตัวโทรลส์ ซึ่งถือเป็นสิ่งประดิษฐ์เชิงนามธรรมของชาวสวิดิช เป็นตัวแทนความเชื่อของเทพผู้มีความเยนชาเป็นบุคคลิก แต่นายคริสเตียน เทบริง-เยเดอ, สมาชิกรัฐสภาแห่งประเทศนอร์เวย์สาบานว่าเขาไม่ได้เป็นโทรลส์ แต่เขาคือผู้เสนอชื่อ ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์เข้ารับรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ

ฮือฮาสุดเมื่อมีผู้เสนอชื่อปธน.ทรัมป์ให้รับรางวัล

สำนักข่าวต่างประเทศหลายแห่งพากันรายงานว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐได้รับการเสนอชื่อให้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2021 ผู้ที่เสนอเสนอชื่อก็คือ คริสเตียน เทบริง-เยเดอ Christian Tybring-Gjedde สมาชิกรัฐสภานอร์เวย์ยกซึ่งย่องทรัมป์ที่ทุ่มเทความพยายาม ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ยืดเยื้อทั่วโลก “ด้วยความดีความชอบของเขา ผมคิดว่าเขาพยายามสร้างสันติภาพระหว่างประเทศมากกว่าผู้ได้รับการเสนอชื่อรางวัลสาขาสันติภาพคนอื่นๆ ส่วนใหญ่เสียอีก” เทบริง-เยเดอ สมาชิกรัฐสภา 4 สมัยและทำหน้าที่เป็นประธานคณะผู้แทนนอร์เวย์ของรัฐสภานาโตกล่าว

ในจดหมายเสนอชื่อต่อคณะกรรมการโนเบลระบุว่ารัฐบาลของทรัมป์มีบทบาทสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเคยเป็นคู่ตรงข้ามกันมาก่อน และผู้เสนอชื่อคาดว่าประเทศในตะวันออกกลางอื่นๆ จะเดินตามรอยของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และข้อตกลงนี้อาจเป็นตัวเปลี่ยนเกมที่จะเปลี่ยนตะวันออกกลางให้เป็นภูมิภาคแห่งความร่วมมือและความมั่งคั่ง  นอกจากนี้ จดหมายเสนอชื่อยังระบุว่า ทรัมป์มีบทบาทสำคัญในการประสานงานติดต่อระหว่างฝ่ายที่ขัดแย้งกันและสร้างพลวัตใหม่ในความขัดแย้งที่ยืดเยื้ออื่นๆ เช่นข้อพิพาทพรมแดนแคชเมียร์ระหว่าง

อินเดียและปากีสถานและความขัดแย้งระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ตลอดจนจัดการกับแสนยานุภาพด้านนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ล่าสุดทำเนียบขาวยังเผยแพร่ข่าวว่า บาเรนห์จะเดินตามรอยอาหรับเอมิเรตส์เร็วๆนี้อย่างแน่นอน

มุมมองของฝรั่งต่อสันติภาพโลก

เมื่อวันพุธที่ 9 ก.ย.2563 นายเทบริง เยเดอกล่าวว่า “คุณลองบอกชื่อใครที่ดำเนินการเพื่อให้เกิดสันติภาพในภูมิภาคต่างๆของโลก ได้มากเท่าปธน.โดนัลด์ ทรัมป์บ้าง?” ดูจะเป็นคำถามช็อกโลก แต่กรี๊ดสลบที่ทำเนียบขาว เมื่อนางเคไล แมคเอนานี โฆษกหญิงรับขานรับอย่างกระตือรือร้น “นี่เป็นข่าวดีที่สุด ที่แสดงถึงการทำงานหนักและผลตอบแทนที่คู่ควรแด่ท่านประธานาธิบดี” 

ด้านทรัมป์ทวีตขอบคุณ ส.ส.นอร์วีเจียน สายอนุรักษ์รายนี้รวมถึงรีทวีตการเฉลิมฉลองการเสนอชื่อของเขาอย่างรัวรัว

เทบริง เยเดอกล่าวว่า นักการเมืองส่วนใหญ่ไม่ยกหูโทรศัพท์เพื่อคุยกัน ปธน.ทรัมป์ใช้ความสามารถในการเจรจา เปิดโอกาสให้สันติภาพได้ทำงาน นั่นตรงความตั้งใจของผู้ก่อตั้งที่เน้นไปที่ ความกล้าหาญที่จะสถาปนาสันติภาพ และเขามองว่า ปธน.ทรัมป์กล้าหาญที่เข้าไปอยู่ตรงกลางความขัดแย้งนั้นและสร้างโอกาสในการเจรจาซึ่งเป็นผลดีกับภูมิภาค เขายังกล่าวอีกว่า สันติภาพไม่ได้หมายความถึง ตาข่ายแห่งคำสัญญาระหว่างคนรวยโรคจิต ที่ไม่ได้สนใจประชาชนอย่างแท้จริง 

ทีบริง-เยเดอ เป็นสมาชิกพรรคก้าวหน้า พรรคการเมืองของนอร์เวย์ที่มีนโยบายต่อต้านคนเข้าเมือง ตัวเขายังเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการกิจการกลาโหมและการต่างประเทศของสภาผู้แทนราษฎร เขาเคยเสนอชื่อทรัมป์ชิงโนเบลสันติภาพมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี 2561 โดยเสนอชื่อร่วมกับ ส.ส.นอร์เวย์อีก 1 คน ทั้งคู่อ้างผลงานที่ทรัมป์ทาบทามเจรจากับผู้นำเกาหลีเหนือ คลี่คลายความตึงเครียดด้านนิวเคลียร์ลงได้ในแต่ละปี

มีผู้ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลโนเบลจำนวนนับร้อยนับพันราย สถาบันโนเบลนอร์เวย์ตอบรับการเสนอชื่อแคนดิเดตทุกคน ตราบใดที่เสนอชื่อภายในเวลาที่กำหนดวัน 31 มกราคม ของปีที่มอบรางวัล และเป็นการเสนอชื่อโดยผู้ที่มีคุณสมบัติเสนอชื่อได้ ซึ่งรวมถึงสมาชิกสภานอร์เวย์ทรัมป์เคยโอดครวญว่าไม่ได้รับการพิจารณาอย่างจริงจังในรางวัลนี้ ปีนี้คงต้องรอลุ้น