อัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ ไขข้อสงสัย แท้จริง “หุ้นSCB” เป็นของสถาบันหรือของแผ่นดิน ลั่น ม็อบทรราษฏร์ โดนแหกตาว่าเป็นสมบัติแผ่นดิน
จากกรณีที่กลุ่มคณะราษฎร ได้ประกาศว่าจะมีการชุมนุมใหญ่บริเวณหน้าสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ในวันที่ 25 พฤศจิกายนนี้ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ชุมนุม โดยประกาศว่าจะไปชุมนุมที่สำนักงานใหญ่ SCB ในเวลา 15.00 น. โดยอ้างว่า จะไปทวงคืนสมบัติชาติให้กลับมาเป็นของคนไทย ซึงประเด็นดังกล่าวยังมีการแสดงความคิดเห็นกันเป็นจำนวนมาก ถึงหุ้น SCB ว่าแท้จริงเป็นของสถาบันพระมหากษัตริย์หรือของแผ่นดิน
ล่าสุดทางด้าน นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการประวัติศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีหุ้นของ SCB ที่กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้ โดยระบุข้อความว่า
#หุ้นSCBเป็นของสถาบันหรือของแผ่นดิน
ผมโพสต์เรื่องนี้ไว้หนหนึ่งแล้ว ขอเอากลับมาฉายซ้ำ เพื่อย้ำความจริง
ทบทวนกันซ้ำอีกครั้งอย่างย่อๆ
ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นของสถาบันพระมหากษัตริย์มาตั้งแต่ต้น ซึ่งรัชกาลที่ 5 ได้แยกออกจากทรัพย์สินของแผ่นดิน ในสังกัดกดพระคลังข้างที่
ต่อมาเมื่อปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 คณะราษฏร์ได้ยึดพระคลังข้างที่ไปเป็นของรัฐบาล แล้วปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ปี 2560 คสช ออกกฎหมายถวายคืนสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้สถาบันพระมหากษัตริย์
ซึ่งพูดภาษาชาวบ้านได้ว่า เป็นการคืนทรัพย์สมบัติเดิมให้เจ้าของเดิม
การที่หุ้นอยู่ในนามของ พระปรมาภิไธยของในหลวง ไม่ได้หมายความว่า ในหลวงรัชกาลที่ 10 จะยกให้ใครก็ได้ อย่างที่ม็อบทรราษฏร์โดนแหกตา
เพราะหุ้นนั้นเป็นทรัพย์สินของสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่บุคคล ซึ่งแปลว่าหุ้นนั้นจะเป็นของพระมหากษัตริย์พระองค์ต่อๆ ไปตราบนานเท่านาน
**เพราะฉะนั้น ที่ม็อบทรราษฏร์ โดนแหกตาว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นสมบัติของแผ่นดิน จึงจะมาถวงคืน นั้นเป็นเรื่องของการด้อยการศึกษาของม็อบจึงถูกแกนนำม็อบแหกตา
ถ้าท่านมีเวลา มาอ่านรายละเอียดทั้งหมด ดังต่อไปนี้
………………………………………………………………….
SCB มีจุดกำเนิดมาตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ทรงสนับสนุนให้เปิดในปีพุทธศักราช 2450 เพราะเล็งเห็นความสำคัญของธุรกิจการธนาคารที่มีต่อการค้า และเศรษฐกิจของประเทศนั้น
ต่อมาในปีพุทธศักราช 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้ง บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ขึ้น ด้วยพระราชประสงค์ที่จะให้ประเทศไทยผลิตปูนซีเมนต์ใช้เอง ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ และเพื่อจัดสรรการใช้ทรัพยากรภายในประเทศอย่างคุ้มค่า
จุดเริ่มต้นของธนาคารเริ่มขึ้นมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เชื่อว่าประเทศไทยนั้นควรจะมีระบบธนาคารเป็นของตัวเองเพื่อคอยค้ำจุนเศรษฐกิจภายในประเทศ มากกว่าที่จะไปพึ่งพาธนาคารต่างประเทศ จึงทำการทดลองเปิด “บุคคลัภย์” (Book club) เพื่อดูแนวโน้มความเป็นไปได้ที่ขยายเป็นกิจการระดับประเทศ ด้วยความสำเร็จของโครงการบุคคลัภย์
ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง พระราชทานอนุญาตให้ดำเนินการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ภายใต้ชื่อ แบงก์สยาม กัมมาจล ทุนจำกัด ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2450 นับแต่นั้นเป็นต้นมา ธนาคารไทยพาณิชย์ก็กลายเป็นต้นแบบของธนาคารไทยทุกแห่ง
โดย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 ธนาคารมีสินทรัพย์รวม 3,111 พันล้านบาท มีเงินฝาก 2,255 พันล้านบาท และมีสินเชื่อ 2,144 พันล้านบาท ธนาคารจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2519 ปัจจุบัน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2563 ธนาคารมีมูลค่าหุ้น ตามราคาตลาด (Market Capitalization) 246,464 ล้านบาท
………………………………………………………………….
กันยายน 2558
ธนาคารได้ขายหุ้น บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC) ทั้งหมดที่ถืออยู่จำนวน 9.09 ล้านหุ้นให้กับสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทำให้บริษัทได้รับเงินจากการขายหุ้นดังกล่าวราว 4.47 พันล้านบาท
วัตถุประสงค์ของการขายหุ้นดังกล่าว เพื่อนำมาใช้เป็นเงินที่ชดเชยในการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญจากกรณี บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ SSI เป็นลูกหนี้ของธนาคารฯ ประสบปัญหาการขาดทุนอย่างหนักทำให้ธนาคารต้องมีการตั้งสำรองของมูลหนี้ดังกล่าวราวราว 1.1-1.2 หมื่นล้านบาท
ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของประเทศไทย ถือได้ว่าเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุด โดยมีพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่สุด (ร้อยละ 23.35%) มีพนักงานของธนาคารมากกว่า 20,000 คน มีสาขาทั้งหมด 1,070 สาขา และเครื่องกดเงินอัตโนมัติ (ATM) 9,724 เครื่อง
………………………………………………………………….
ประกาศของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เมื่อ ๑๖ มิถุนายน 2561 ที่ว่าเป็น คำชี้แจง การเปลี่ยนชื่อผู้ถือหุ้นจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีนัยยะประทับลงอย่างมั่นคงว่าพระเจ้าอยู่หัววชิราลงกรณ์ฯ จะทรงจัดการทรัพย์สินนั้นตามพระราชอัธยาศัยและ ให้มีการเสียภาษีอากรทุกประเภทเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป
จึงต้องเปลี่ยนชื่อความเป็นเจ้าของทรัพย์สินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้ทรัพย์สินนั้นอยู่ในบังคับของกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร
คำชี้แจงฯ แจ้งไว้ชัดแจ้งถึง พระราชปณิธานที่จะสืบสานพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชในฐานที่รัชกาลที่ ๕ ทรงก่อตั้งแบ๊งค์ สยามกัมมาจล (ที่กลายมาเป็นธนาคารไทยพาณิชย์) และ ร.๖ ทรงให้กำเนิดบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ดังนั้นพระเจ้าอยู่หัวฯ ร.๑๐ จึง ทรงรับเป็นพระราชภาระในการดูแลกิจการเหล่านั้นด้วยพระองค์เอง ทั้งสิ้น
โดยที่ปัจจุบันสำนักงานทรัพย์สินฯ ถือหุ้นในไทยพาณิชย์ ๑๘.๑๔% เมื่อรวมกับหุ้นที่เพิ่งโอน ทำให้ในหลวงฯ วชิราลงกรณ์ทรงมีหุ้นอยู่ในธนาคารไทยพาณิชย์ ๒๑.๔๘% ทำนองเดียวกับทรงมีหุ้นปูนซีเมนต์ ๓๐.๗๖% ทั้งหมดนี้เป็นผลจากรัฐบาล คสช.ได้ทำการเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินสถาบันกษัตริย์เสียใหม่ จากฉบับ พ.ศ. ๒๔๗๙ มาเป็นฉบับ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยรวมทรัพย์สินส่วนพระองค์ และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้าด้วยกัน เป็นทรัพย์สิน ฝ่าย พระมหากษัตริย์
………………………………………………………………….
เว็บไซต์ settrade.com ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เผยแพร่ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCCเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2018 โดยบ่งชี้ว่า
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ได้ทรงถือหุ้นในบริษัท จำนวน 9,070,600 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 0.76% โดยทรงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นอันดับที่ 15 ใน SCC ข้อมูล ณ วันที่ 15 มีนาคม 2018 ชี้ว่าราคาหุ้นเฉลี่ยของ SCC ปัจจุบันอยู่ที่หุ้นละ 508.82 บาท
และนี่คือตัวอย่างรายได้ส่วนพระองค์ที่ได้จากการถือหุ้นใน 2 บริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นมรดกตกทอดในราชวงศ์ เป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ที่แยกจากทรัพย์สินของแผ่นดิน ที่เสียภาษีถูกต้องทุกบาททุกสตางค์
คำบิดเบือนปลุกปั่นว่าทรงใช้เงินภาษีของประชาชน เพื่อกิจกรรมส่วนพระองค์ ย่อมไม่เป็นความจริง และไม่มีมูลความจริงแต่อย่างใด หยุดเสพแต่ข่าวเท็จ แล้วบอกว่าตนเองตาสว่างมาจากการเสพแต่ข่าวปลอม ข้อมูลเท็จ
เปิดหู เปิดตาและเปิดใจ ค้นหาและอ่านข้อมูลที่ถูกต้อง คิดและพิจารณาก็จะพบความจริง
………………………………………………………………….
อัษฎางค์ ยมนาค