ชำเลืองอินเดีย อ่านมหายุทธศาสตร์ภารตะยุทธ์

6354

ชำเลืองอินเดีย อ่านมหายุทธศาสตร์ภารตะยุทธ์
Future Squints…INDIA STRATEGY
สหรัฐและจีนปะทะกันทางยุทธศาสตร์ แล้วอินเดียอยู่ตรงไหน ภาพของอินเดียในอดีต
คือประเทศที่มีแต่คนยากจนจำนวนมาก ด้อยพัฒนา ขาดแคลน และล้าหลัง แต่ปัจจุบันไม่ใช่
อินเดียกลับเป็นประเทศที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจรวดเร็วที่สุดในโลก
มีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีระดับสูงมากที่สุดในโลก
เป็นซีอีโอของบริษัทต่างชาติที่มีขนาดใหญ่สร้างเม็ดเงินทางเศรษฐกิจมหาศาลของโลกมากที่
สุด จนบางคนสงสัยว่า ใครกันแน่เป็นเบอร์ 1 ของโลก
เพราะซีอีโอของยักษ์ใหญ่ดิจิทัลโลกมีแค่คนอินเดียทั้งนั้น
อินเดียถูกมหาอำนาจตะวันตกครอบครองยาวนาน
โดยสหราชอาณาจักรหรืออังกฤษในนามบริษัทอินเดียตะวันออกจำกัด หรือ British East India
Company เข้ายึดครองอินเดียในปี 1757 และครอบครองทั้งประเทศได้ในปี 1958
ไม่นานได้ถ่ายโอนอำนาจการบริหารจัดการอาณานิคมแห่งนี้ให้กับรัฐบาลอังกฤษในนาม
British Raj
ภายหลังการออกกฎหมาย Government of India Act 1858
ในวันที่อังกฤษเข้ายึดครองอินเดียเป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลก มูลค่าผลผลิตของทั้งโลก
หรือ GDP ของโลก คือ 23-24% (ในช่วงเวลาดังกล่าว
อังกฤษชนะสงครามฝิ่นกับจีนส่วนผลผลิตของอินเดียกับจีนรวมกันประมาณ ครึ่งหนึ่งของ GDP
โลก กล่าวคืออังกฤษเป็นมหาอำนาจที่มั่งคั่งที่สุดแห่งยุค)
อินเดียได้รับเอกราชในปี 1947 ในปีนั้น มูลค่าผลผลิตของอินเดียคิดเป็นเพียง 3% ของ GDP
โลก จากประเทศที่ร่ำรวยที่สุดเป็นอันดับที่ 1 หรือ 2 ของโลกในปี 1858 อังกฤษใช้เวลาไม่ถึง
90 ปีทำให้อินเดียกลายเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก
อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอินเดียในช่วง 47
ปีสุดท้ายของการครอบครองโดยอังกฤษ อยู่ที่ร้อยละ 0.0001% ต่อปีระหว่างปี 1900-1947
ประชาชนอินเดียร้อยละ 90 ดำรงชีวิตอยู่ใต้เส้นความยากจน
อัตราการรู้หนังสือของคนอินเดียอยู่ที่ร้อยละ 17 และอายุขัยเฉลี่ยของชาวอินเดียอยู่ที่ 27
ปีเท่านั้น ไม่ทันแก่ก็ตายด้วยสภาพข้นแค้นทางธรรมชาติ
สภาพชีวิตความเป็นอยู่และสุขอนามัยต่ำ นั่นคือวันที่อินเดียตกต่ำถึงขีดสุด
ปัจจุบันอินเดียมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 7.5 – 7.8% ต่อปี
และกลายเป็นประเทศที่มีเขตเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก (ประมาณ 2.85
ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรีฐ ) ต่อมาโลกต้องตกตะลึงเมื่อปี 2014 ยานอวกาศชื่อมังคลายาน
(Mangalyaan) ของอินเดียได้เข้าสู่วงโคจรดาวอังคาร และเริ่มส่งข้อมูลกลับมายังโลกได้
งบประมาณของ Indian Mars Orbiter Mission อยู่ที่ 74 ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น (ต่ำกว่า
Hollywood สร้างหนังสถานีอวกาศ เรื่อง Gravity เพียงหนึ่งเรื่อง)
ดังนั้นในด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชั้นสูง ตลอดจนด้าน Cost-Efficiencies
Technology ก็ไม่มีใครเทียบอินเดียได้ และที่สุดในวันนี้ Sanjiv Mehta ได้ซื้อบริษัทวิสาหกิจ

British East India Company ซึ่งนำความทุกข์มาให้อินเดียมานับทศวรรษ
มาอยู่ในมือเรียบร้อย
ปี 2017 รัฐบาลอินเดียประการยุทธศาสตร์ อินเดียใหม่ หรือ New India
ให้บรรลุเป้าหมายภายใน ปี 2022 ซึ่งเป็นปีที่อินเดียจะครบรอบ 75 ปีแห่งการประกาศเอกราช
และตั้งเป้าจะสร้างขนาดเศรษฐกิจ 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2030 (ปี 2018
อินเดียมีขนาดเศรษฐกิจ 2.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) และในปี ค.ศ. 2022 หรือ พ.ศ.2565
ซึ่งเป็นปีที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม APEC 2022 Thailand
ปัจจุบันนี้ด้านแสนยานุภาพทางทหารของอินเดียไม่น้อยหน้าทั้งสหรัฐอเมริกา จีน รัสเซียในปี
2018 อินเดียได้ทุ่มงบฯทางทหารประมาณ 58,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ2.1 ของ
GDP มีกองกำลังทหารประจำการ 1.4
ล้านนายและเป็นหนึ่งในชาติมหาอำนาจนิวเคลียร์ในเอเชียใต้
อินเดียครอบครองขีปนาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์จำนวน 9 ประเภท หนึ่งในนั้นรวมถึงขีปนาวุธรุ่น
“อัคนี-3” ซึ่งมีพิสัยการยิงไกลถึง 5,000 กิโลเมตร
สถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์มระบุว่า อินเดียครอบครองหัวรบนิวเคลียร์อยู่ที่ 130-
140 หัวรบ
ท่าทีของอินเดียต่อโครงการของจีนไม่ค่อยดีนัก
อินเดียสนับสนุนระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกกับตะวันตกที่เชื่อมต่ออินเดียกับพม่าและไทย
(ผ่านทางหลวงสายอินเดีย-เมียนมาร์-ไทย
โครงการขนส่งมวลชนต่อเนื่องหลายรูปแบบคาลาดาน และท่าเรือในบังกลาเทศและพม่า)
ส่วนด้านตะวันตก อินเดียสร้างระเบียงการค้าและการขนส่งทางรถไฟและท่าเรือ
ไปยังอัฟกานิสถานผ่านทางชาบาฮาร์ในอิหร่าน
นอกจากนี้ได้ทุ่มทุนช่วยเหลือจำนวน 2.5-3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 7.5
ล้านล้านบาทถึง 9 ล้านล้านบาท)
แก่ประเทศเพื่อนบ้านในแอฟริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมเสนอวิสัยทัศน์ทางเลือก
โครงข่ายท่าเรือริมทะเล โดยประกาศว่า “ความรับผิดชอบต่อสันติภาพ ความเจริญรุ่งเรือง
และความมั่นคงเป็นความรับผิดชอบของผู้ที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย” เสมือนตอบโต้
“เอเชียเพื่อชาวเอเชีย” ของจีน
กล่าวคืออินเดียพยายามรื้อฟื้นเส้นทางการค้าโบราณของตนและการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ
สังคมและวัฒนธรรมทั่วภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย แข่งกับเส้นทางสายไหมของจีนอยู่กลายๆ
ท่ามกลางการท้าทายของสองคู่ชิงสหรัฐฯและจีน
อินเดียเป็นอีกหนึ่งพลังอำนาจที่ไม่อาจมองข้าม ด้วยท่าทีที่บ่งบอกชองผู้นำ
“ทำแบบตะวันออกมองแบบตะวันตก” จะเป็นเข้นไร
เพราะสถานภาพทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองการทหารไม่น้อยหน้า
ขยับไปทางไหนก็อ่าจก่อผลสะเทือนกับคู่ท้าชิงทั้งสองหรือแม้แต่ประเทศไทยเรา
ประเทศไทยย่อมได้รับผลกระทบได้ทั้งดีและร้าย
จำเป็นต้องวางบทบาทให้ถูกต้องสมดุลต่อว่าที่ลูกค้าของเรา

มีบางคนบอกว่าแค่เราค้าขายกับอินเดียและจีนสองประเทศนี้ได้ ก็ไม่ต้องง้อใครอีกแล้ว
แต่หากวางบทบาทผิด มีสิทธิ…อ่วม!
……………………………………………………..