เรียนรู้จากเพื่อนบ้าน!!?!สิงคโปร์ประกาศ ชูแนวทางเศรษฐกิจใหม่ รับโลกหลังโควิด-19 ไม่ขยายลงทุนภายนอกมาก เน้นพัฒนาคน พึ่งตนเองสูงสุด!!

2019

สิงคโปร์รายงานตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 2 ที่เศรษฐกิจถดถอยเลวร้ายที่สุดในรอบ 10 ปี รัฐมนตรีการค้าและอุตสาหกรรมเปิดเผยว่า รัฐบาลสิงคโปร์พร้อมประกาศจะไม่เดินกลับไปสู่โลกก่อนโควิด-19 ที่ทุกฝ่ายต้องติดกับดักความขัดแย้งของมหาอำนาจ และข้อจำกัดเทคโนโลยีที่แบ่งค่าย แต่ต้องเขียนทิศทางใหม่เสียแต่บัดนี้ เพื่อรองรับโลกหลังโควิด-19 จะไม่ขยายลงทุนภายนอกมากเกินไป เน้นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สร้างความเจริญรุ่งเรืองแบบเป็นตัวของตัวเอง

สิงคโปร์รายงานเศรษฐกิจไตรมาส 2  (11 ส.ค.) หดตัวลง 13.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แย่ยิ่งกว่าที่รัฐบาลประเมินไว้ล่วงหน้าที่ -12.6% หากเทียบกับไตรมาส 1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ร่วงลง 42.9% มากยิ่งกว่าที่รัฐบาลประเมินไว้ว่า จะหดตัว 41.2% ถือเป็นการหดตัวสองไตรมาสติดต่อกัน  เท่ากับว่า เศรษฐกิจสิงคโปร์เข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 ครั้งนั้นเจอวิกฤติการเงินโลกยังไม่สาหัสเท่านี้

กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมได้ปรับตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจสำหรับทั้งปีนี้ โดยจะติดลบระหว่าง 5-7% ในปี 2563อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ในเศรษฐกิจสิงคโปร์ต้องปิดตัวลงในช่วงต้นเดือน เม.ย. ที่ประเทศเข้าสู่การล็อกดาวน์บางส่วน ซึ่งรัฐบาลเรียกว่ามาตรการ “เซอร์กิตเบรกเกอร์” เพื่อชะลอการระบาดของโควิด-19 จากนั้นทางการได้ผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มเป็นบางส่วนตั้งแต่ต้นเดือน มิ.ย. ทำให้เศรษฐกิจส่วนใหญ่ของประเทศกลับมาเปิดอีกครั้ง

ชาน ชุนซิง รัฐมนตรีการค้าและอุตสาหกรรม กล่าวว่า หากพิจารณาตามบริบท นี่คือผลประกอบการรายไตรมาสที่เลวร้ายที่สุดเป็นประวัติการณ์ การคาดการณ์เศรษฐกิจประจำปี 2563 หมายความว่าการเติบโตในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาถูกหักลบไปหมด ตัวเลขสะท้อนถึงผลกระทบของโควิด-19 ตลอดจนพลังอันล้ำลึกในการเปลี่ยนโฉมเศรษฐกิจโลก และสถานะของเราในห่วงโซ่อุปทานโลก” รัฐมนตรีกล่าวและว่า เขารู้ว่าบางคนยังคงหวังให้เศรษฐกิจฟื้นตัวโดยเร็วและกลับไปสู่โลกเก่าที่คุ้นเคย แต่เป็น  ความจริงอันที่ว่าเราจะไม่กลับสู่โลกก่อนโควิด-19 อีกแล้ว แต่การฟื้นตัวต้องใช้เวลาอีกสักระยะและอาจไม่ราบรื่น คลื่นการติดเชื้อระลอกใหม่และความปั่นป่วนจะกลับมาอีกอย่างแน่นอน โลกเปลี่ยนไปแล้ว

โลกเปลี่ยนไปแล้วอย่างถาวรใน 4 ด้าน

ด้านแรก– สภาพแวดล้อมทางภูมิรัฐศาสตร์ซึ่งทำให้สิงคโปร์เจริญรุ่งเรืองในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาได้เปลี่ยนไป  การแข่งขันและความตึงเครียดระหว่างประเทศมหาอำนาจ กำลังแทรกซึมไม่เพียงแต่การเมืองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการค้า เทคโนโลยี และความมั่นคงอีกด้วย 

นายชานยกตัวอย่างแพล็ตฟอร์มการส่งข้อความ โดยกล่าวว่า เมื่อชาวสิงคโปร์ทำธุรกิจในจีน ต้องสื่อสารกับคู่ค้าผ่านวีแชท(WeChat) และไม่สามารถใช้บริการวอทสแอป(WhatsApp)ได้ แต่ในสหรัฐฯกลับตรงข้ามกัน “ความขัดแย้งเช่นนี้จะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในโลกที่ซับซ้อนมากขึ้น  เราต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้ตกอยู่ในความขัดแย้งของมหาอำนาจ หรือติดอยู่ในโลกของความสัมพันธ์ทางการค้าและมาตรฐานเทคโนโลยีที่แยกออกเป็นส่วนๆ”

ด้านที่สอง บริษัทระดับโลกปรับเปลี่ยนการผลิตและห่วงโซ่การผลิต รวมทั้งทบทวนความจำเป็นของการมีสำนักงานภูมิภาค และสถานที่ตั้งโรงงาน หลายบริษัทได้ผละจากการผลิตที่เน้นประสิทธิภาพ ไปมุ่งเน้นการผลิตที่ส่งมอบสินค้าตามเวลาและปริมาณที่ต้องการ หรือ Just in time เพื่อให้มีความยืดหยุ่นสามารถปรับตัวได้ หรือเน้นไปที่การจัดเก็บและกักตุนสินค้าเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า Just in case

“บริษัทเหล่านี้ต้องการกระจายความเสี่ยง เพื่อที่ไม่ต้องพึ่งพาแหล่งผลิตใดเพียงที่เดียว” นายชานกล่าวและว่า สำหรับผู้ผลิตบางรายแล้ว หมายถึง กลยุทธ์ จีนบวก 1 โดยมุ่งความสนใจมากที่อาเซียน นั้นหมายความว่าขณะที่มีการลงทุนส่วนหนึ่งมาที่สิงคโปร์ แต่รายที่อยู่ในสิงคโปร์อยู่แล้ว อาจจะกระจายการลงทุนไปยังประเทศอื่น สิงคโปร์ต้องตอกย้ำข้อได้เปรียบที่สำคัญ เช่น การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาและความแน่นอนชัดเจนด้านกฎหมาย

ด้านที่สาม- รูปแบบและโอกาสของงานจะเปลี่ยนไป เพราะทุกประเทศจะเสริมเทคโนโลยีทันสมัย และหันมาพึ่งตนเองมากขึ้น เพราะมีการกีดกันปกป้องตนเองของประเทศต่างๆมากขึ้น

ด้านที่สี่-เศรษฐกิจดิ่งเหวทั่ว  ไม่มีประเทศไหนจ้างคนนอกมากเหมือนในอดีต สิงคโปร์ต้องไม่ขยายงานไปอย่างสุ่มเสี่ยง แต่ต้องยืนหยัดพัฒนาตนเองให้สอดคล้องความต้องการของโลก นั่นคือทรัยพยากรมนุษย์คือจุดมุ่งหมาย

ชานยังตอกย้ำถึงการเปลี่ยนแปลงระดับโลกครั้งใหญ่หลังการระบาด สภาพแวดล้อมด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เอื้อให้สิงคโปร์เติบโตได้ดีในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาเปลี่ยนแปลงไปแล้ว  ความตึงเครียดระหว่างมหาอำนาจหลักเพิ่มสูงขึ้นทุกขณะ เขาได้แต่หวังว่าประเด็นด้านภูมิรัฐศาสตร์จะไม่บานปลายกลายเป็นความขัดแย้งอย่างเปิดเผย จนบั่นทอนเสถียรภาพส่วนอื่นๆ ของโลก

หลัก 3 ประการที่สิงคโปร์จะต้องยึดถือ เพื่อก้าวเข้าสู่เส้นทางใหม่ที่รออยู่ ได้แก่

1- การเปิดกว้างธุรกิจอย่างปลอดภัยและยั่งยืน 2– รัฐบาลช่วยเหลือภาคธุรกิจ และแรงงานให้ปรับตัวเข้าสู่โลกใหม่ได้อย่างสมเหตุสมผล 3– รัฐบาลต้องช่วยเหลือบริษัทที่ธุรกิจได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 และสภาพแวดล้อมของโลกเปลี่ยน ทำให้บริษัทต้อง เปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง เพื่อให้ยืนขึ้นสร้างสรรค์ในแบบใหม่ๆได้ และสามารถก้าวสู่ตลาดใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ชาน กล่าวว่าแม้อนาคตจะไม่แน่นอนและสภาพการณ์ต่างๆ กำลังท้าทาย แต่ความรับผิดชอบของรัฐบาลต่อประชาชนสิงคโปร์ทุกคนยังไม่เปลี่ยนแปลง เราเปลี่ยนแปลงเร็วเท่าไหร่ เราจะฟื้นฟูได้เร็วเท่านั้น” ชานย้ำ

CR : https://www.straitstimes.com/singapore/singapore-will-not-return-to-pre-covid-19-world-must-chart-a-new-path-now-chan-chun-sing