ม็อบสามกีบโดนแฉอีก ของปลอมเกลื่อนชุมนุม สร้างดราม่าแพทย์อาสา-นางแบบก็เก๊

1906

ยังคงเป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมาก ภายหลังจากที่ ในโลกโซเชียลฯ ออกมาโพสต์เรื่องราวของแพทย์อาสา พร้อมมีการแชร์ภาพและข้อความว่า “ตำรวจทำร้ายแพทย์อาสา” ในม็อบวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา

โดยในโลกทวิตเตอร์ร่วมกันแชร์คลิปวิดีโอและภาพ พร้อมข้อความที่ระบุว่าทีมแพทย์อาสาโดนกระทืบบาดเจ็บสาหัส รวมถึงวิจารณ์กรณีที่ผู้ชุมนุมถูกตำรวจรุมควบคุมตัวด้วยความรุนแรง และมีการประณามการกระทำดังกล่าว

ต่อมา สถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างออกแถลงการณ์ประณามเหตุที่เจ้าหน้าที่ใช้ความรุนแรงกับบุคลากรทางการแพทย์ อาสาสมัคร และผู้ชุมนุม ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ขัดต่อหลักอนุสัญญาเจนีวาที่ 1 อนุสัญญาฉบับที่ 4 ว่าด้วยการปกป้องคุ้มครองบุคคลพลเรือนในระหว่างสงคราม หรือการขัดแย้งทางกำลังทหารประเทศต่าง ๆ ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญานี้

โดย ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา อุปนายกแพทยสภาคนที่ 1 พร้อมด้วย รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ อุปนายกแพทยสภาคนที่ 2 และ พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา กล่าวถึงกรณีความรุนแรงที่เกิดขึ้นในการชุมนุมทางการเมืองเมื่อวันที่ 13 ก.พ.ที่ผ่านมา

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์กล่าวถึงประเด็นที่ผู้ชุมนุมตั้งทีมแพทย์อาสาเองว่า หลักการใหญ่คือ เมื่อมีอาสาสมัครเข้ามาดูแลความปลอดภัยแล้ว สำหรับด้วยกันเองถือว่าสุขภาพคนทุกฝ่ายเป็นหน้าที่ที่เราต้องดูแล

เมื่อถามว่าจะต้องมีการลงทะเบียนด้วยหรือไม่ ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์กล่าวว่า สังคมไทยตั้งอยู่บนความระแวง ดังนั้น การทำเป็นระบบก็เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการจะนำสัญลักษณ์ไปให้ใครสักคนไม่ใช่ใครก็ใส่ได้ ไม่ฉะนั้นระบบจะเสีย เรากำลังจะวางระบบเช่นนี้โดยทำงานร่วม สธ. เพราะสิ่งที่เกิดอาจไม่ใช่เพียง กทม. เราจะได้คุยกันเพื่อวางระบบ

“การใช้สัญลักษณ์ กากบาทสีแดง เป็นสีของ กาชาด ที่เป็นสากลรับรู้โดยทั่วกัน ซึ่งขณะนี้หากจะมีสัญลักษณ์ที่ใช้สำหรับกรณีดังกล่าวให้ยึดเป็นกากบาทสีเขียวที่มีความหมายจากสีของแพทย์ และใช้กากบาทเพื่อให้แสดงเห็นถึงความเป็นกลาง ไม่เลือกข้าง แต่เมื่อหารือกันแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ก็จะต้องแจ้งให้ทุกฝ่ายรับทราบให้ตรงกัน” ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์กล่าว

ขณะที่ ล่าสุด นายไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี(พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์เฟซบุ๊กถึงกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจถูกระบุว่าใช้กำลังรุมทำร้าย “แพทย์อาสา” ระหว่างการชุมนุมของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “ราษฎร” เมื่อช่วงค่ำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ว่า ในที่สุดก็ต้องยอมรับความจริง!

ที่เป็นข่าวว่าเป็นแพทย์ถูกทำร้ายนั้นแท้จริงก็เป็นการ์ด!!! แต่ยังคงอ้างว่าเป็นแพทย์อาสา หนูเอ๊ย อ้างให้มันเข้าท่าสักหน่อย! แพทย์อาสานั้น เขาต้องเป็นแพทย์แล้วมาอาสาสมัคร ช่วยรักษาพยาบาลให้โดยไม่เลือกฝ่ายไม่เลือกข้าง

จึงเรียกว่าแพทย์อาสา ไม่ใช่ใคร ๆ ก็ไปตั้งตนเป็นแพทย์อาสาได้ แต่อย่างว่านั่นล่ะครับ นางแบบก็ปลอม นักเรียนก็ปลอม นี่จะเป็นแพทย์อาสาปลอมอีกแล้ว

อย่างไรก็ตาม ภายในเพจเฟซบุ๊ก “Thailand Vision” ยังมีการโพสต์ข้อความถึงเด็กอายุ 19 ด้วยว่า ที่ สน.ชนะสงคราม ผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมจากการชุมนุมเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รวม 6 ราย หนึ่งในนั้นมี นายปุรพล วงศ์เจียก อายุ 19 ปี อาสาสมัครทีมเเพทย์ DNA ที่มีภาพถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดควบคุมฝูงชน (คฝ.) ทำร้ายร่างกายขณะเข้าจับกุม จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง ชี้แจงรายละเอียดผ่านสื่อมวลชนถึงเหตุการณ์ในวันที่เกิดขึ้น พร้อมรับโทรศัพท์มือถือที่ถูกยึดไว้กลับมา

นายปุรพล กล่าวว่า หลังแกนนำประกาศยุติการชุมนุม พวกตนกำลังช่วยเหลือคนเจ็บที่ถูกมีดบาด แล้ว ตำรวจ คฝ. ก็ประกาศให้ยุติการชุมนุมใน 30 นาที แต่พวกตนต้องตรวจเช็กสิ่งของและเก็บอุปกรณ์ ซึ่งผ่านไปเพียง 10 นาที คฝ.ก็เข้ามา พวกตนก็รีบออกทันที โดยมีรุ่นพี่ขี่จักรยานยนต์ออกมา และพวกตนอยู่บนรถกระบะ แต่รถพี่ดับ จึงจอดแล้วลงไปช่วย แต่ คฝ.ก็วิ่งเข้าหาตน แล้วบอกว่าให้ใจเย็น ๆ ระวัง คฝ.ชุดหลังจะเข้ามาทำร้าย และให้ตนคร่อมรถจักรยานยนต์รอไว้ แต่ คฝ.ก็วิ่งเข้ามาก่อนตนถูกตีจนสลบไปชั่วขณะ เจ้าหน้าที่ถึงจะตรวจค้นตัว แล้วยึดกรรไกรตัดผ้าที่ใช้ทางการแพทย์ ซึ่งมีปลายกลมที่ตนพกไว้กับตัวไป ยืนยันว่าตนไม่ได้ต่อสู้ขัดขืน และเป็นแพทย์อาสา ไม่ใช่ผู้ชุมนุมแฝงตัวเข้ามา ส่วนเรื่องแจ้งความกลับ ต้องรอปรึกษาทนายความก่อน

ขณะที่ นายอดิศักดิ์ ผาราม ผู้ถูกจับอีกราย กล่าวว่า มาช่วยเพื่อนที่ถูกแก๊สน้ำตา ระหว่างนั้นกำลังล้างหน้าให้ ก็ถูก คฝ.วิ่งเข้ามาใช้กระบองตี

ขอบคุณ : Paisal Puechmongkol และ Thailand Vision