รัสเซียช่วยดับไฟสงคราม!?! ระงับพิพาทนากอร์โน-คาราบัค ฝรั่งเศสท้วงต้องให้มหาอำนาจตะวันตกร่วม

2111

ปธน.มาครงแห่งฝรั่งเศส  ค้านรัสเซียตุรกีมีบทบาทระงับสงครามนากอร์โน-คาราบัค โดยไม่ดึงกลุ่มมินสก์เข้าไปร่วม  ได้แถลงต้องการให้นานาชาติกำกับดูแลความสงบในพื้นที่พิพาท ทั้งที่ฝรั่งเศสเองยังวุ่นวายกับ ความกลัวอิสลามในประเทศตัวเอง และการพูดวิพากษ์ศาสนาอิสลามออกนอกหน้า จนถูก บอยคอตจากโลกมุสลิม ผู้สันทัดกรณีเชื่อว่า เนื้อแท้แล้วมาครงต้องการแก้ปัญหาผู้อพยพเชื้อสายอาร์เมเนียในฝรั่งเศสจำนวนกว่า 6 แสนคนมากกว่า แต่ช้าไปแล้วรัสเซียส่งทหารรักษาสันติภาพเข้าประจำการแล้ว 2,000 นายพร้อมรถถัง 90 คัน

เมื่อวันพฤหัสบดี (19 พ.ย.2563) ฝรั่งเศสแถลงที่กรุงปารีส ต้องการให้นานาชาติมีบทบาทกำกับดูแลพื้นที่พิพาท นอร์กาโน-คาราบัคเพราะรัสเซียและตุรกีเข้ามามีอิทธิพลท่ามกลางความขัดแย้ง เป็นการลดทอนอำนาจตะวันตกในภูมิภาคนี้ในการเป็นตัวกลางเจรจาเพื่อสันติภาพ เพราะมอสโคก็เป็นสมาชิกของกลุ่มมินส์อยู่แล้ว ซึ่งได้เคยมีบทบาทยับยั้ง การสู้รบที่เกิดขึ้นในภูมิภาคแห่งนี้มาโดยตลอด ตั้งแต่เกิดการขัดแย้ง สู้รบกัน รัสเซียได้พยายามเจรจากับตุรกี พันธมิตรสำคัญของอาเซอร์ไบจานซึ่ง เป็นผู้วิพากษ์วิจารณ์กลุ่มมินส์มาโดยตลอด ซึ่งนั่นสามารถทำให้อังการาควบคุมกำลังทหารในระดับภูมิภาคได้

“เมื่อการสู้รบจบลงแล้ว ควรมีการจัดการเจรจาสันติภาพ เพื่อปกป้องประชาชนของนากอร์โน-คาราบัคและให้ความมั่นใจแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจำนวนนับหมื่นคนที่พัดพรากจากที่อยู่อาศัย เมื่อสงครามระเบิดขึ้น จะสามารถกับสู่บ้านเกิดได้อย่างปลอดภัย “เจ้าหน้าที่สำนักงานประธานาธิบดี เอามานูเอล มาครงกล่าว หลังจากโทรศัพท์กับประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจัน และนายกรัฐมนตรี อาร์เมเนีย

ประชาชนชาวฝรั่งเศสประมาณ 400,000-600,000 คน เป็นชาวอาร์เมเนียโดยกำเนิด มาคงเริ่มระมัดระวังไม่กลับไปสู่ความขัดแย้งภายในประเทศเรื่องปัญหาผู้อพยพ  แต่เขาต้องพบเจอการวิพากษ์วิจารณ์ในประเทศของเขาเองว่า เขาไม่ได้ช่วยแก้ไขอะไรที่จะช่วยเยเรวานเมืองหลวงของอาร์เมเนียเลย “เราต้องการให้กลุ่มมินส์มีบทบาทเหมือนที่เคยช่วยยับยั้งกรณีขัดแย้งในบริเวณนี้มาแล้ว” มาครงกล่าว

แหล่งข่าวจากปารีสมองว่า การที่มาครงเข้ามาเรียกร้องขอมีบทบาทโดยอ้างกลุ่มมินส์เพราะ เนื้อแท้ต้องการผลักดันผู้อพยพกลับสู่บ้านเกิดพวกเขา และเข้าไปร่วมจัดการการส่งนักรบตกค้างจากซีเรีย และต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมกำหนดสถานะของนากอร์โน-ซาราบัคด้วย

ลงนามสันติภาพมีผลบังคับ 10 พ.ย.2563

ประเทศอาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจาน สองอดีตสาธารณรัฐสมาชิกสหภาพโซเวียตในภูมิภาคคอเคซัส ได้ทำสงครามต่อสู้กัน ด้วยปมความขัดแย้งเรื่องเชื้อชาติศานาที่ดำเนินมาหลายทศวรรษ คือ ภูมิภาคนากอร์โน-คาราบัค กลายเป็นพื้นที่ขัดแย้งที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของอาเซอร์ไบจาน แต่ถูกควบคุมโดยคนเชื้อสายอาร์เมเนีย รบกันหลายครั้ง สูญเสียชีวิตและทรัพย์สินมากมาย ก็ไม่เคยสงบสันติ

ผู้นำของรัสเซีย, ฝรั่งเศส, และสหรัฐฯ 3 ชาติดังกล่าวนี้คือ ประธานร่วมของ “กลุ่มมินสก์” ที่จัดตั้งขึ้นโดยองค์การเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (โอเอสซีอี) ตั้งแต่ปี 1992 เพื่อแก้ไขกรณีความขัดแย้งระหว่างอาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจาน เรื่องพิพาทดินแดนนอร์กาโน-คาราบัคที่อยู่กึ่งกลางของสองประเทศนี้ กลุ่มมินสก์มีบทบาทเป็นตัวกลาง ในการเจรจาสันติภาพมาโดยตลอด ไม่เคยเป็นผลแต่สำเร็จลงเมื่อรัสเซียยื่นมือแก้ไขอย่างเต็มตัว

ประธานาธิบดี อิลฮัม อาลีเยฟ ของอาเซอร์ไบจาน บอกว่า เงื่อนไขเพียงอย่างเดียวที่จะทำให้การสู้รบยุติลงได้คือ อาร์เมเนียต้องถอนตัวออกไปจากนากอร์โน-คาราบัค  พวกเจ้าหน้าที่อาร์เมเนียกล่าวหาว่าตุรกีเข้ามาเกี่ยวข้องแทรกแซงในการสู้รบคราวนี้ด้วย โดยกำลังจัดส่งทหารรับจ้างจากซีเรียและลิเบียเข้ามาในบริเวณแถบนี้ โดยที่เรื่องนี้ทางฝรั่งเศสและรัสเซียได้ยันยันแล้วว่าเป็นความจริง นายกรัฐมนตรีนิโคล ปาชิเนียน ของอาร์เมเนีย เคยแถลงในสัปดาห์ที่แล่วว่า การหยุดยิงจะเกิดขึ้นได้ ต่อเมื่อตุรกีถอนตัวออกไปจากภูมิภาคแถบนี้ ซึ่งเรียกกันว่าคอเคซัสใต้

ภูมิศาสตร์การเมืองทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างอาเซอร์ไบจานและอาร์เมเนียซับซ้อนเข้าไปอีก เพราะตุรกี ประเทศสมาชิกนาโต (องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ) เป็นประเทศแรกที่ถือว่าอาเซอร์ไบจานเป็นเอกราชในปี 1991 และเฮจแดร์ แอริเยฟ ประธานาธิบดีคนที่สามของอาร์เซอร์ไบจาน บอกว่า สองประเทศเป็น “หนึ่งชาติที่ประกอบไปด้วยสองรัฐ” (เพราะเป็นอิสลามชีอะฮ์เหมือนกัน:ผู้เขียน)

ขณะเดียวกัน อาร์เมเนียก็มีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัสเซีย โดยรัสเซียมีฐานทัพในประเทศ และทั้งสองประเทศได้ก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรทางการทหารร่วมกัน (เป็นคริสต์เหมือนกัน:ผู้เขียน)

รัสเซียส่งกำลังทหารเข้าพื้นที่ดูแลความสงบ

เมื่อวันจันทร์ที่ 9 พ.ย. ที่ผ่านมา เพื่อยุติการต่อสู้ที่ดินแดนพิพาท นากอร์โน-คาราบัค ซึ่งดำเนินมานานหลายเดือน  ผู้นำอาเซอร์ไบจานกับอาร์เมเนียลงนามข้อตกลงสันติภาพซึ่งมีรัสเซียเป็นตัวกลาง ยุติการต่อสู้ที่นากอร์โน-คาราบัค ขณะที่รัสเซียเริ่มส่งกองกำลังรักษาสันติภาพมายังภูมิภาคนี้แล้ว

ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว อาเซอร์ไบจานจะถือครองพื้นที่หลายส่วนในนากอร์โน-คาราบัค ที่ยึดมาได้ระหว่างการปะทะ ขณะที่ฝ่ายอาร์เมเนียตกลงจะถอนกำลังออกจากพื้นที่ใกล้เคียงภายใน 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า และล่าสุดในวันอังคารรัสเซียส่งทหารกองกำลังรักษาสันติภาพไปยังพื้นที่แนวหน้าในคาราบัคแล้ว เพื่อป้องกันเหตุปะทะ

รัสเซียจะส่งทหารไปประจำการในภูมิภาคดังกล่าวอย่างน้อย 2,000 นาย พร้อมกับรถหุ้มเกราะอีก 90 คัน เพื่อคุ้มกัน ‘เส้นทางลาชิน’ (Lachin corridor) ซึ่งเชื่อมเมือง สเตพานาแกร์ต เมืองหลวงของคาราบัค กับอาร์เมเนีย เป็นเวลา 5 ปีเป็นอย่างน้อย ขณะที่ตุรกีซึ่งประกาศตัวอยู่ฝ่ายอาเซอร์ไบจาน จะเข้าร่วมภารกิจรักษาสันติภาพนี้ด้วย แต่ยังไม่ชัดเจนว่าพวกเขาจะมีบทบาทอย่างไร  นอกจากนี้ ประธานาธิบดีปูตินเผยด้วยว่า ข้อตกลงยังรวมถึงการแลกเปลี่ยนนักโทษสงคราม และปลดล็อกข้อตกลงด้านการเดินทางและเศรษฐกิจทั้งหมด