หรือถึงคิวทอน! เทพมนตรี ถอดรหัส “Portrait ธนาธร” งานนี้ไม่น่ารอด แยกรายข้อชี้จุด พฤติกรรมหมิ่นเหม่สถาบัน?

1547

หรือถึงคิวทอน! เทพมนตรี ถอดรหัส “Portrait ธนาธร” งานนี้ไม่น่ารอด แยกรายข้อชี้จุด พฤติกรรมหมิ่นเหม่สถาบัน?

จากกรณีเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และนักเทววิทยา ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กถึงกรณีที่ได้เข้าแจ้งความนายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โดยมีเนื้อหาระบุว่า

บันทึกการไปโรงพัก แจ้งความอาจารย์ปิยบุตร วันนี้เวลา 11.00 น. ได้ไปแจ้งความดำเนินคดีกับอาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล ที่สถานีตำรวจนครบาลดุสิต อันที่จริงเคยแจ้งมาแล้วครั้งหนึ่ง ครั้งนี้นำเอกสารและหลักฐานไปมอบให้พนักงานสอบสวน
ทั้งนี้เมื่อได้อ่านบทบัญญัติมาตรา 50 ในรัฐธรรมนูญซึ่งระบุว่า บุคคลมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
บุคคลอย่างเราๆ จึงมีสิทธิ์กล่าวโทษผู้ที่ไม่รู้จักหน้าที่ความเป็นคนไทยที่ตราไว้ในบทบัญัติของรัฐธรรมนูญ
ผมได้รวบรวมหลักฐานอันเป็นหลักฐานชั้นต้นของอาจารย์ปิยบุตรที่เขียนขึ้นในทวีตเตอร์ ในFacebook และในบล็อกคณะก้าวหน้า แม้ผมไม่ใช่นักกฎหมายเพราะเรียนมาทางประวัติศาสตร์ แต่ก็มีผู้รู้ทางกฎหมายได้เสนอแนวทางมาบ้าง
ผมอ้างข้อบทในรัฐธรรมนูญที่ มาตรา 3-4 ที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ ยกเว้นการละเมิดเรื่องความมั่นคง เมื่อเข้าไปดู ป.อาญา มาตรา 108 และ 112 มันน่าจะเข้าข่าย
มาตรา ๑๐๘ ผู้ใดกระทำการประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของพระมหากษัตริย์ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิตผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน ถ้าการกระทำนั้นมีลักษณะอันน่าจะเป็นอันตรายแก่พระชนม์ ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของพระมหากษัตริย์ หรือรู้ว่ามีผู้จะกระทำการประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของพระมหากษัตริย์ กระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบหกปีถึงยี่สิบปี (เสรีภาพตามมาตรา ๔ แห่งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ได้รับความคุ้มครองและเสมอภาพกัน)*
มาตรา ๑๑๒ ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี
ดังนั้นครั้งนี้อาจเป็นครั้งแรกของอาจารย์ปิยบุตรที่จะโดนคดีจริงๆเสียที หวังว่าการกระทำของเขาจะได้รับการสนอง
ผมขอไม่บอกอะไรมาก เพราะสั้นๆกระชับๆ ครับ
ล่าสุดวันนี้ (20 พฤศจิกายน 2564) นายเทพมนตรียังได้โพสต์ข้อความถึงกรณีหนังสือ Portrait ธนาธร ของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า โดยระบุข้อความว่า
Portrait ธนาธร ต้องทำการบ้านข้อใหญ่ ต้องอ่าน 3 รอบ ไม่ใช่สามก๊กนะครับ แต่เป็นหนังสือ Portrait ธนาธร และหลักฐานอื่นๆทั้งการพูดการเขียน เจ้านายท่านว่าด้วยวิธีการวิพากษ์วิธีของผมจะช่วยบ้านเมืองได้ อันที่จริงวิธีการทางประวัติศาสตร์ผมเรียนมาจากครูบาอาจารย์หลายท่าน บางท่านเอ็นดูธนาธรเสมือนลูกรักและความหวังอนาคตของเขา
ผมจะลองนำมาถอดรหัสและพฤติกรรมของธนาธรเขาดู ผมทำเป็นรายๆ ไม่พร่ำเพรื่อ เจ้านายท่านว่าชอบๆมาก ลองค้นหาดู ผมเป็นปลื้มเลย
ย้อนไปก่อนหน้านี้ ดร.สุวินัย ภรณวลัย ประธานยุทธศาสตร์วิชาการ สถาบันทิศทางไทย ได้มีการพูดถึงหนังสือ Portrait ธนาธร ว่า “โดยส่วนตัวผมรู้จักคุณวรพจน์ พันธุ์พงศ์ คนสัมภาษณ์ธนาธรในหนังสือ ” Portrait ธนาธร” มานานร่วมยี่สิบปี (ในฐานะที่ผมเคยถูกเขาสัมภาษณ์ไม่ต่ำกว่าสองครั้งในอดีต) เขาเป็นนักสัมภาษณ์มืออาชีพและมือหนึ่งระดับต้นๆที่หาคนทัดเทียมยากมากแม้ในยุคนี้ ผลงานหนังสือ ” Portrait ธนาธร” (ตุลาคม 2018) คือเครื่องพิสูจน์อย่างดี เขาสัมภาษณ์ได้ดียิ่ง และธนาธรก็เต็มใจเปิดเผยความคิดของเขาแทบทุกเรื่องที่โดนซักถาม นี่เป็นหนังสือสัมภาษณ์ที่เร้าใจที่สุดเล่มหนึ่งที่ผมเคยอ่านมา

ผมมีหนังสือเล่มนี้หลายเดือนแล้ว ก่อนทราบผลเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 ผมจงใจไม่อ่านมัน แต่เลือกอ่านหนังสือเล่มนี้ ในวันที่ธนาธรกำลังจะเจอบททดสอบของจริง ซึ่งเจ้าตัวก็รู้ดีว่าวันนั้นต้องมาถึงอย่างแน่นอน แต่ธนาธรคงคิดไม่ถึงว่ามันจะมาเร็วขนาดนี้  ธนาธรเป็นคนที่ชัดเจนมากในความคิดของตัวเอง เขาบอกว่า “ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด เป้าหมายสูงสุดคือการเปลี่ยนประเทศ” (หน้า 270)

ธนาธรตระหนักดีว่า สิ่งที่เขาพูด เขาทำ มีคนฟัง มีคนเอาด้วย เห็นด้วยกับเขา (หน้า 272) ธนาธรมองว่า คุณสมบัติสำคัญของผู้นำประเทศ คือต้องมีเจตจำนงทางการเมืองเป็นหลัก เมืองไทยมีคนเก่งกว่าเขาเยอะแยะไปหมด แต่มีตัวเขาคนเดียวเท่านั้นที่มีเจตจำนงทางการเมืองที่ต้องการ”ให้ไทยออกจากวังวนของเผด็จการ วังวนของอำนาจนิยมที่รับใช้ชนชั้นนำให้ได้” (หน้า 273)

เจตจำนงทางการเมืองของธนาธรในวัยสี่สิบตอนนี้ มีความห้าวและอหังการในระดับเดียวกับเสกสรรค์ ประเสริฐกุลอดีตผู้นำนักศึกษาในวัยก่อนสามสิบหรือในช่วงระหว่างปี 2516-2523 ก็เห็นจะไม่ผิดนัก ธนาธรไม่เคยมองว่าตำแหน่งนายกฯ คือ ลิมิตสูงสุดของตัวเขา … ธนาธรเป็นนักผจญภัย เขาต้องการท้าทายลิมิตสูงสุดของตัวเขาเองในทุกเรื่อง
ในฐานะผู้นำทางการเมือง ธนาธรมุ่งเป้าไปที่การทำให้ตัวเขา “มีอำนาจมากพอที่จะไปต่อรอง (กับ) ××××”
(หน้า 277)

เขายอมรับว่าในการเคลื่อนไหวสร้างพรรคหาเสียง เขาพูดความจริงได้แค่ครึ่งเดียว ที่เขาพูดออกไปให้สังคมรับรู้ “ไม่เป็นความจริง มันเป็นความจริงแค่ครึ่งเดียว เราถึงโดนฝ่ายก้าวหน้าด่า” (หน้า 277)

“ถามว่าเรารู้มั้ย รู้ … เหี้x มันก็รู้เหมือนกันหมดแหละ ปัญหาคือใครจะทำยังไง เราคิดว่า วิธีการของเราคือต้องมีอำนาจและต่อรอง (กับ)××××   นี่ต่างหากคือเป้าหมาย ถ้าจัดการเรื่องนี้ไม่ได้ เอาทหารออกจากการเมืองไม่ได้หรอก จัดการเรื่องนี้ไม่ได้ จัดการเรื่องศาลไม่ได้หรอก จัดการเหี้xห่xอะไรไม่ได้

ถามว่าเรารู้มั้ย สิ่งที่เราพูดโดยไม่พูดเรื่องนี้ มะนไม่จริง มันเป็นไปไม่ได้  ถามว่ารู้มั้ย รู้ แต่มันพูดไม่ได้ ยังมีข้อจำกัด ” (หน้า 277  ตรงนี้แหละ คือ ความจริงอย่างที่สุดในความคิดและตัวตนของธนาธร เพราะเขาคือนักปฏิวัติที่มีเจตจำนงแรงกล้าที่ต้องการสานต่อภารกิจการปฏิวัติ 2475ให้สมบูรณ์

จึงไม่แปลกที่เมื่อธนาธรเป็นหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ปิยบุตรจึงต้องเป็นเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่เพราะมีอุดมการณ์ปฏิวัติ 2475 เหมือนกัน  ธนาธรคือผู้นำทางการเมืองคนเดียวในประทศนี้ตอนนี้ ที่ขีดเส้นแบ่งชัดเจนให้ประชาชนต้องตัดสินใจเลือกข้างว่าจะเลือกอยู่ฝั่งเดียวกับเขาแล้วช่วยกันผลักดันการปฏิวัติ 2475 ให้สำเร็จต่อไปหรือไม่ …