ไทยบุกอาร์เซ็ป!!! ลูกค้าส่งออก จีน-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ สดใส ดันสินค้าเกษตร แปรรูปส่งไปไม่ผิดหวัง 5 เดือนกวาด10,870 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

2209

ปี 2562 ที่ผ่านมา ไทยส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปไปประเทศสมาชิกอาร์เซ็ป 16 ประเทศ รวมมูลค่า 25,209 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 62.2% ของการส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปไทยไปโลก

และในช่วง 5 เดือนของปี 2563 (มกราคม-พฤษภาคม) ไทยส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปไปประเทศสมาชิกอาร์เซ็ปแล้ว 10,870 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 2.4% หรือคิดเป็นสัดส่วน 63.8% ของการส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปไทยไปทั่วโลก กรมการค้าฯย้ำแนวโน้มยังสดใส เชียร์ผู้ส่งออกไทยทุ่มแรงไปที่ จีน-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ ไม่ผิดหวังแน่นอน

โดยสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปที่เติบโตได้ดี เช่น ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง เพิ่ม 22.07% ไก่สด แช่เย็นแช่แข็ง แปรรูป เพิ่ม 12.12% ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เพิ่ม 6.7% น้ำผลไม้ เพิ่ม 10.19% ผักกระป๋องและผักแปรรูป เพิ่ม 8.05% และผลิตภัณฑ์ข้าว เพิ่ม 19.32% เป็นต้น

ความตกลงอาร์เซ็ป RCEP เป็นความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยสมาชิก 16 ประเทศ มีประชากรรวมกันเกือบ 3,600 ล้านคน คิดเป็นประมาณ 48.1% ของประชากรโลก โดยข้อมูลในปี 2562 สมาชิกอาร์เซ็ป มีมูลค่า GDP กว่า 28.5 ล้านล้านดอลลาร์หรือประมาณ 32.7% ของ GDP โลก และมีมูลค่าการค้ารวมกว่า 11.2 ล้านล้านดอลลาร์ คิดเป็น 29.5%  ของ มูลค่าการค้าโลก

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ขณะนี้ กรมได้เตรียมความพร้อมในการแนะนำเกษตรกรและผู้ประกอบการของไทย ในการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป) ตามนโยบาย“เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” ที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ได้มอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงพาณิชย์รับไปดำเนินการ

ในส่วนของกรม มีหน้าที่ชี้ช่องทางและโอกาสที่ไทยจะได้รับจากความตกลงฉบับนี้  เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบโอกาสทางการตลาด และเตรียมตัวที่จะใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว ล่าสุดประเทศสมาชิกอาร์เซ็ป กำลังอยู่ระหว่างการขัดเกลาถ้อยคำทางกฎหมาย เพื่อให้ได้ความตกลงอาร์เซ็ปฉบับสมบูรณ์ และพร้อมให้สมาชิกร่วมลงนามความตกลงในเดือนพฤศจิกายน 2563 ที่เวียดนาม

โอกาสทางการตลาดสำหรับสินค้าเกษตรและอาหารของไทย พบว่า ไทยสามารถที่จะส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ไปยังสมาชิกอาร์เซ็ปได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตลาดจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ โดยมีสินค้าเกษตรที่ไทยน่าจะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นจากการทยอยยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้ากับสินค้าที่ส่งออกจากไทย เช่น ผักผลไม้แปรรูปและไม่แปรรูป น้ำมันที่ได้จากพืช ของปรุงแต่งจากธัญพืชและแป้ง แป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู สินค้าประมง อาหารแปรรูป น้ำผลไม้ เป็นต้น

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยยังสามารถใช้เกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้าเดียวกันในการส่งออกไปยังประเทศสมาชิกอาร์เซ็ป จากเดิมที่ใช้เกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้าที่แตกต่างกันตามความตกลงเอฟทีเอแต่ละฉบับอีกทั้งเกณฑ์ถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงอาร์เซ็ปยังเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้แหล่งวัตถุดิบที่หลากหลายมากขึ้นทั้งจากประเทศในกลุ่มและนอกอาร์เซ็ปได้

นางอรมนกล่าวเพิ่มเติมว่า “กรมจะเดินหน้าชี้แจง ชี้โอกาสในการทำตลาดให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการของไทยเป็นการล่วงหน้า เพื่อให้สามารถเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์จากผลการเจรจาอาร์เซ็ป เพื่อขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทย เพราะที่ผ่านมา ไทยสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19ได้ดี ก็ยิ่งเป็นปัจจัยทำให้สินค้าเกษตรและอาหารของไทยเป็นที่ไว้วางใจของผู้บริโภคมากขึ้น เพราะมีคุณภาพและความปลอดภัย” 

การฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทยหลังหมดไวรัส  มีความสำคัญต่อปากท้องของประชาชนคนไทยทั้ง 66.8 ล้านคน มากทีเดียว เพราะประเทศไทยเป็นประเทศในฐานะปานกลางไม่ใช่ประเทศที่มีฐานะการคลังที่ร่ำรวยเหมือนยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา ประมาณอันดับทิ่ 21 หรือว่า 22 ของ

การฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทย จะทำให้ได้รวดเร็วนั้นก็คงต้อง เน้นไปที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว,อุตสาหกรรมอาหารเพื่อการส่งออก,อุตสาหกรรมบริการด้านการแพทย์,อุตสาหกรรมการบินและอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ก่อน เพื่อสร้างเม็ดเงินมาหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจทั้งระบบ ซึ่งจะทำให้สามารถสร้างรายได้เข้ามาสู่ประเทศโดยทมีการใช้ฐานการผลิตสินค้าในนามผลิตภัณฑ์ไทยในต่างประเทศควบคู่กันไปด้วย อีกประการหนึ่งก็คือการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆจากผลิตภัณฑ์ของไทย แบบเมดอินไทยแลนด์ขนานแท้ซึ่งจะทำรายได้เข้าประเมศได้เป็นจำนวนมาก ศึกษาแบบอย่างจาก เกาหลีใต้,ญี่ปุ่นและจีนซึ่งจะมีผลให้ประเทศไทยฟื้นตัวได้เร็วอย่างแน่นอน