แหล่งข่าวระดับสูง เผยชัดความจริง หลังหลุดกระแสสุดแรง แอบปล่อยตัวนักโทษ ในคดีสำคัญจำนำข้าว

1702

แหล่งข่าวระดับสูง เผยชัดเป็นความจริง หลังหลุดกระแสสุดแรง แอบปล่อยตัวนักโทษ ในคดีสำคัญจำนำข้าว ไปแล้วหลายคน!?

เรียกได้ว่ากำลังเป็นที่พูดถึงกันอย่างกว้างขวาง เมื่อทางด้าน นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุถึงนักโทษคดีสำคัญ ๆ ที่ได้รับการลดโทษแบบกระหน่ำซัมเมอร์เซลล์ ในช่วงนี้ และก็มีกระแสหลุดออกมาอีกว่า ได้มีการแอบปล่อยตัวนักโทษในคดีสำคัญจำนำข้าว

ทั้งนี้แหล่งข่าวระดับสูง ในกรมราชทัณฑ์ ได้เปิดเผยกรณีที่มีกระแสข่าวว่า มีผู้ต้องขังบางคนในคดีทุจริตจำนำข้าวพ้นโทษแล้วนั้น โดยได้รับข้อมูลว่า มีคนที่ได้รับการปล่อยตัวไปแล้วจริง รวมทั้งหมด 8 คน และยังต้องโทษอยู่รวม 7 คน โดยคนที่ถูกปล่อยตัว เป็นคนที่ได้รับโทษน้อย และผ่านการอภัยโทษหลายครั้ง ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ยืนยันว่า ไม่ได้มีการแอบปล่อยตัวนักโทษแต่อย่างใด

สำหรับผู้ที่พ้นโทษไปแล้ว อาทิ
-นายสมคิด เอื้อนสุภา จำเลยที่ 7 โทษจำคุก 12 ปี ได้รับการอภัยโทษ 2 ครั้ง
-นายอัครพงศ์ ช่วยเกลี้ยง หรือทีปวัชระ อดีตเลขานุการกรมการค้าต่างประเทศและอดีตผอ.สำนักการค้าข้าวต่างประเทศ จำเลยที่ 6 จำคุก 24 ปี ได้รับการอภัยโทษ 3 ครั้ง
-นายรัฐนิธ โสจิระกุล จำเลยที่ 8 จำคุก 8 ปี ได้รับการอภัยโทษ 2 ครั้ง
-นายกฤษณะ สุระมนต์ จำเลยที่ 18 จำคุก 4 ปี เป็นต้น

ซึ่งก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 10 ธ.ค.64 ทางด้านของ นายณรงค์ จุ้ยเส่ย รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเผยถึงกรณีที่มีกระแสสังคมตั้งคำถามผ่านสื่อต่างๆ ถึงหลักเกณฑ์การอภัยโทษว่าอาจมีการให้สิทธิพิเศษต่อผู้ต้องขังบางกลุ่ม นั้นกรมราชทัณฑ์ ขอทำความเข้าใจเพิ่มเติมเพื่อให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การอภัยโทษ รวมถึงการบริหารโทษของกรมราชทัณฑ์ ว่าการอภัยโทษมีการสืบทอดเป็นโบราณราชประเพณีเนื่องในโอกาสสำคัญของบ้านเมือง เพื่อให้โอกาสแก่ผู้กระทำผิดได้กลับตนเป็นพลเมืองดี อันจะเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ

ส่วนกรณีที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ ว่ากรมราชทัณฑ์และกระทรวงยุติธรรมมีอำนาจเหนือคำพิพากษาศาล ขอชี้แจงว่า การพิพากษากำหนดโทษเป็นอำนาจของศาล ในส่วนการบริหารโทษ เป็นอำนาจของกรมราชทัณฑ์ ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ภายใต้อำนาจของกฎหมาย

สำหรับหลักเกณฑ์ในการที่นักโทษจะได้รับอภัยโทษ ต้องเป็นนักโทษเด็ดขาดที่มีความประพฤติดี ตั้งแต่ชั้นกลางขึ้นไป ส่วนจะได้รับการลดโทษมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับชั้นและประเภทคดีเป็นสำคัญ ประกอบด้วย คดีอาญาทั่วไป คดีอาญาร้ายแรง คดียาเสพติดรายย่อย และคดียาเสพติดรายใหญ่ โดยจะได้รับการลดโทษตามหลักเกณฑ์ คือ คดีอาญาทั่วไป คดีอาญาร้ายแรง คดียาเสพติดรายย่อย คดียาเสพติดรายใหญ่

โดยตัวอย่างการคำนวณการลดโทษ สำหรับคดีอาญาทั่วไป นักโทษเด็ดขาดชาย ก. อยู่ในชั้นเยี่ยม กำหนดโทษจำคุก 30 ปี จะได้ลด 1 ใน 2 ตามเกณฑ์ข้างต้น คือจะได้ลด 15 ปี ดังนั้น จึงเหลือกำหนดโทษจำคุกอีก 15 ปี แต่หากเป็นคดีอาญาร้ายแรง ถ้านักโทษเด็ดขาดชาย ก. เป็นผู้กระทำผิดในคดีอาญาร้ายแรงมีกำหนดโทษจำคุก 30 ปี และเป็นชั้นเยี่ยมเช่นเดียวกัน จะได้รับการลดโทษ 1 ใน 3 คือจะได้ลด 10 ปี ดังนั้น จึงเหลือกำหนดโทษจำคุกอีก 20 ปี

ด้านกรณีของนายบุญทรง คดีจำนำข้าวที่ปรากฏเป็นข่าว ถือเป็นคดีอาญาร้ายแรง ศาลได้ตัดสินจำคุก มีกำหนดโทษ 48 ปี และได้รับการอภัยโทษจำนวน 4 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 วันที่ 15 ส.ค.2563 ได้ลดโทษ 12 ปี (ลดโทษ 1 ใน 4 ชั้นดีมาก) เหลือโทษจำคุก 36 ปี
ครั้งที่ 2 วันที่ 5 ธ.ค. 2563 ได้ลดโทษ 12 ปี (ลดโทษ 1 ใน 3 ชั้นเยี่ยม) เหลือโทษจำคุก 24 ปี
ครั้งที่ 3 วันที่ 28 ก.ค.2564 ได้ลดโทษ 8 ปี (ลดโทษ 1 ใน 3 ชั้นเยี่ยม) เหลือโทษจำคุก 16 ปี
ครั้งที่ 4 วันที่ 6 ธ.ค. 2564 ได้ลดโทษ 5 ปี 4 เดือน (ลดโทษ 1 ใน 3 ชั้นเยี่ยม) เหลือโทษจำคุก 10 ปี 8 เดือน

กรมราชทัณฑ์ ขอให้สังคมและประชาชนเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ภายใต้กรอบของกฎหมาย และจะปฏิบัติต่อผู้ต้องขังทุกคนด้วยความเสมอภาค เท่าเทียม ไม่มีการเลือกปฏิบัติ หรือให้สิทธิประโยชน์ต่อผู้ต้องขังกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะ พร้อมให้โอกาสแก่ผู้กระทำความผิดทุกคนได้กลับตนเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมต่อไป