“อุ๊ หฤทัย” ท้า “ม็อบล้มเจ้า” หมิ่นประมุขรัฐต่างชาติ จะได้รู้ว่าติดคุกไหม!?

1928

จากกรณีที่แกนนำคณะราษฎร ได้ออกมาเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมาย ม.112 รวมถึงนายปิยบุตร คณะก้าวหน้า และพรรคก้าวไกล ได้ออกมาเรียกร้องให้มีการปรับแก้กฎหมายม.112และกฎหมายหมายหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไป

ล่าสุด หฤทัย ม่วงบุญศรี หรือ “อุ๊” นักร้องชื่อดัง และแกนนำกลุ่มไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟชบุ๊ก ว่า
“ขอท้า​นะ ให้พวกมึงไปหมิ่นฯประมุข​แห่งรัฐ​ทุกที่ทั่วโลก​ที่ไหนก็ได้ ลองดูดิ​ จะติดคุก​กันไหม??
แต่ว่าจะกล้ากันรึเปล่า​??? 55555​+++”

พร้อมแนบภาพข้อความของผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งที่เขียนถึงกฎหมาย ม.112 โดยระบุว่า

“ถ้าใครโดนแจ้งความในคดี ม.112 และ/หรือ ม.116 ให้เอาใบแจ้งความที่มีชื่อลายเซ็นคนแจ้วความกับชื่อลายเซ็นตำรวจที่รับแจ้งความ ส่งเป็นหลักฐานให้สถานทูตเยอรมัน พร้อมจดหมายแจ้งว่าบุคคลที่มาแจ้งความจับเราด้วย ม.112 ได้กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามกฎหมายของสหภาพยุโรปว่าด้วยการตอบโต้การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง (ไม่ว่สจะเป็นการกระทำของบุคคลธรรมดารหรือนิติบุคคลล) โดยกฎหมายดังกล่าวบังคับใช้ทั่วโลก (Règlement (UE) 2020/1998 du Conseil du 7 décembre 2020) ไปตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2563 เพื่อให้สถานทูตเยอรมันและประเทศในกลุ่มอียู blacklist และห้ามออกวีซ่าให้บุคคลและตำรวจที่แจ้งจับเรา (แลถ้ามันมีสมบัติกับทรัพย์สินที่เกี่ยวพันกับอียู มันก็ต้องโดนรัฐบาลอียูอายัดด้วย) และผลต่อไปคือพวกมันจะไปขอวีซ่าเข้าประเทศอื่นก็ไม่ได้ด้วย เพราะมันเคยมีประวัติโดนปฏิเสธวีซ่าจากกลุ่มอียูมาแล้วในโทษฐานร้ายแรงคือละเมิดสิทธิมนุษยชน”

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

อย่างไรก็ตาม กฎหมายหมิ่นประมาทในประเทศไทยนั้นมีหลายลำดับชั้น คือ
1.กระทำต่อบุคคลธรรมดา
1.1 หมิ่นประมาท (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326)
1.2 หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328)
1.3 ดูหมิ่นซึ่งหน้า (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393)

2.กระทำต่อเจ้าหน้าที่รัฐ
2.1 การหมิ่นประมาทเจ้าพนักงาน
2.2 การหมิ่นประมาทศาล

3.การหมิ่นประมาทบุคคลสำคัญระดับชาติ
3.1 หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
3.2 การหมิ่นประมาทบุคคลสำคัญของรัฐต่างชาติ

โดย กฎหมายว่าด้วยการหมิ่นประมาทบุคคลสำคัญระดับชาติมีรายละเอียดดังนี้

1. หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทย
ข้อหาที่เรียกกันว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้น เป็นความผิดที่กระทำต่อผู้ดำรงฐานะสี่อย่างของไทย ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112) ผู้กระทำผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และความผิดตามมาตรานี้มิได้เพียงกล่าวถึงการดูหมิ่นอย่างเดียว แต่รวมถึง “แสดงความอาฆาตมาดร้าย” ด้วย
ถ้าได้กระทำโดยการโฆษณา ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

ความผิดตามกรณีนี้ไม่ว่าจะกระทำภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรไทยก็ต้องรับโทษในราชอาณาจักร เพราะเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 7)

2. การหมิ่นประมาทบุคคลสำคัญของรัฐต่างชาติ
ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายราชาธิบดี ราชินี ราชสามี รัชทายาท หรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดได้กระทำโดยการโฆษณา ต้องระวางโทษเช่นกัน (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 133)

ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายผู้แทนรัฐต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มาสู่พระราชสำนัก ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปีหรือปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดได้กระทำโดยการโฆษณา ต้องระวางโทษเช่นกัน (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 134)

ตร.แจ้งข้อหา ม.112 แล้ว แกนนำม็อบคณะราษฎรเจอเพิ่มทุกคน

นอกจากนี้ประเทศอื่นๆก็มีกฎหมายในลักษณะเดียวกันด้วย เช่น
ซาอุดีอาระเบีย เป็นประเทศที่ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งกษัตริย์เป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาล

บทบัญญัติภายใต้กฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายที่มีผลบังคับใช้ในปี 2014 (พ.ศ.2557) กำหนดว่าการกระทำที่ “คุกคามเอกภาพของซาอุดีอาระเบีย รบกวนความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของรัฐหรือกษัตริย์” ถือเป็นการกระทำที่เป็นการก่อการร้าย อาจมีการพิจารณาโทษเป็นรายกรณีเนื่องจากลักษณะ “ตามอำเภอใจ” ของระบบกฎหมายของซาอุดีอาระเบีย โดยความผิดดังกล่าว อาจได้รับการลงโทษทางร่างกายอย่างรุนแรงรวมถึงการเฆี่ยนในที่สาธารณะ การจำคุกที่ยาวนาน และแม้กระทั่งการประหารชีวิต

โมร็อกโก กฎหมายอาญาระบุบทลงโทษขั้นต่ำในการล่วงละเมิดต่อกษัตริย์ ว่าหากคำแถลงที่ล่วงละเมิดอยู่ในสถานที่ส่วนตัวและไม่ใช่ที่สาธารณะ (เช่น ไม่ออกอากาศ) ต้องระวางโทษจำคุก 1 ปี และจำคุก 3 ปีหากเผยแพร่ในที่สาธารณะ โดยทั้งสองกรณี มีโทษสูงสุดคือจำคุก 5 ปี

ไอซ์แลนด์ ยังคงมีกฎหมายห้ามหมิ่นประมาทประมุขแห่งรัฐ ซึ่งกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีและอาจขยายเวลาได้ถึง 5 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 สำหรับการละเมิดที่ร้ายแรงมากสามารถขยายระยะเวลาได้ 6 ปี

กัมพูชา สำหรับการหมิ่นประมาทประมุขของรัฐ มีโทษจำคุก 1-5 ปี บังคับใช้ครั้งล่าสุดในปี 2562 โทษปรับ 2-10 ล้านเรียล

จอร์แดน การหมิ่นประมาทประมุขของรัฐมีโทษจำคุก 1-3 ปี

บรูไน มีโทษจำคุกสูงสุดสำหรับความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่ที่ 3 ปี

มาเลเซีย มีโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 3 ปี

สวิตเซอร์แลนด์ กฎหมายหมิ่นประมาทประมุขแห่งรัฐ มีโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 3 ปี อย่างไรก็ตาม

สเปน การดูหมิ่นราชวงศ์มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี

สวีเดน และ เดนมาร์ก มีโทษจำคุก 4 เดือนสำหรับการละเมิดไม่ร้ายแรง หากละเมิดอย่างร้ายแรงอาจต้องโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปี

เนเธอร์แลนด์ มีโทษจำคุกสูงสุด 4 เดือน

รัสเซีย กฎหมายว่าด้วยข่าวปลอมหรือดูหมิ่นประธานาธิบดีรัสเซีย นายกรัฐมนตรี และประมุขต่างประเทศ ต้องโทษจำคุกสูงสุด 15 วัน และปรับไม่เกิน 30,000 รูเบิล