ธนาธรหนักแน่!! ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ สั่งลบโพสต์ ไลฟ์วัคซีน! มัดโดนคดีม.112 ส่อดิ้นไม่หลุด?

1844

ธนาธรหนักแน่!! ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ สั่งลบโพสต์ ไลฟ์วัคซีน! มัดโดนคดีม.112 ส่อดิ้นไม่หลุด?

จากกรณีเมื่อวันที่ 8 ก.พ.64 ที่ศาลอาญา ศาลอ่านคำสั่งคดีหมายเลขดำ พศ.76/2546 ที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งระงับการเผยแพร่คลิปไลฟ์สดของ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า

กรณีการไลฟ์สดเกี่ยวกับการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ของรัฐบาล โดยมีเนื้อหาพาดพิงถึงสถาบันกษัตริย์ ซึ่งก่อนหน้านี้ศาลได้มีคำสั่งให้ระงับคลิปตามที่ดีอีเอสยื่นร้องขอ ต่อมานายธนาธรได้ยื่นคัดค้าน โดยศาลได้ไต่สวนคู่ความทั้งสองฝ่ายเมื่อสัปดาห์ก่อน ต่อมา ศาลได้อ่านคำสั่ง ใจความว่า พิเคราะห์ทั้งข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงโดยละเอียด เนื้อหาที่นายธนาธร ผู้คัดค้านกล่าว มุ่งเน้นการกล่าวหารัฐบาลบกพร่อง ข้อมูลเรื่องผู้ถือหุ้นเป็นเพียงส่วนน้อย ไม่เป็นประเด็นหลักในการนำเสนอ ไม่สามารถเห็นได้ชัดเจนถึงกับกระทบความมั่นคง จึงให้คำสั่งศาลที่ให้ระงับการเผยแพร่คลิปเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2564 เป็นอันสิ้นผล ให้ยกคำร้อง

ล่าสุด นายทศพล เพ็งส้ม ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้เปิดเผยว่า ศาลอุทธรณ์มีคำตัดสินเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564 พิพากษากลับให้ระงับการทำให้แพร่หลาย 3 URL

นอกจากนายธนาธรจะโดนร้องให้ระงับการเผยแพร่ ก็ยังมีเรื่องของคดีอาญา ทำให้แนวทางและข้อมูลในคำตัดสินของศาลอุทธรณ์เป็นที่น่าสนใจ ฝ่ายผู้ร้องบอกว่า เป็นเนื้อหาเข้าข่ายความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงต่อราชอาณาจักร ในหมวดความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท (ม.112) เข้าข่ายตามผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จึงเป็นการบรรยายขอให้ดำเนินการตามพ.ร.บ.การกระทำความผิดว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือว่า ศาลบอกว่า อุทธรณ์ของผู้ร้องขอ ขอให้ศาลวินิจฉัยเฉพาะมาตรา 20 (2) คดีจึงต้องพิจารณาว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามคำร้องเข้าข่ายเป็นข้อมูลที่อาจจะกระทบต่อความมั่นคงหรือไม่

ศาลเห็นว่า ตามรัฐธรรมนูญตามราชอาณาจักรไทย มาตรา 6 ระบุว่า งค์พระมหากษัตริย์ทรงดํารงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้ แม้ข้อความดังกล่าวจะกล่าวถึงรัฐบาลว่าบกพร่องในการจัดหาวัคซีน แต่มีการกล่าวถึงพระมหากษัตริย์เกี่ยวกับการถือหุ้นของบริษัทสยามไบโอไซเอนม์ ซึ่งบริษัทแอสตร้าเซเนก้าว่าจ้างให้ผลิต มีลักษณะมุ่งกล่าวให้ผู้ใช้บริการในการนำเข้าสู่อินเตอร์เน็ตเข้าใจว่า พระมหากษัตริย์มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริหารจัดการวัคซีนที่เป็นปัญหาด้วย

นอกจากนี้ ตามวัตถุพยานมีข้อความหัวเรื่องว่า “วัคซีนพระราชทาน ใครได้ใครเสีย” ทำนองว่าพระมหากษัตริย์อาจได้รับประโยชน์จากวัคซีน ข้อความดังกล่าว จึงเข้าข่ายอาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในภาค 2 ลักษณะ3 แห่งประมวลกฎหมายอาญา แสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้บริการในการเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตเข้าใจว่า พระมหากษัตริย์ได้ประโยชน์จากการหาวัคซีนของรัฐบาล การลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้ ทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ อันเป็นการละเมิดและกล่าวหาพระมหากษัตริย์ซึ่งอาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรแห่งราชอาณาจักรแห่งประมวลกฎหมายอาญา มิใช่เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 34

กรณีมีเหตุระงับการดำเนินการให้แพร่หลาย ซึ่งข้อมูลคอมพิเวเตอร์ดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นออกคำสั่งยกคำรองมานั้น ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของผู้ร้องผู้นี้ ฟังขึ้น สุดท้ายจึงพิพากษากลับให้ระงับการทำให้แพร่หลาย ซึ่งข้อมูล 3 URL ดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลตามคำพิพากษาดังกดล่าว อาจจะมีผลต่อคดีม.112 ที่นายธนาธรถูกกล่าวหา โดยเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2564 นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความ ในคดีของ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า เปิดเผยว่า ล่าสุด นายธนาธรได้รับหมายเรียกจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเพิ่มอีก 2 หมาย ในข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรืออาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14(3) ว่าด้วยการนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา โดยคาดว่าเป็นคดีเกี่ยวเนื่องจากการที่ธนาธรออกไลฟ์สดวิจารณ์แผนการบริหารจัดการวัคซีนของรัฐบาลเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2564 หรือเมื่อ 7 เดือนที่แล้ว