“เพื่อไทย” ดิ้นพล่าน เรียกฟันโทษหนัก ส.ส. ไม่โหวตตามคำสั่งพรรค

1619

นี่หรือประชาธิปไตย? “เพื่อไทย” ดิ้นพล่าน เรียกฟันโทษหนัก ส.ส. ไม่โหวตตามคำสั่งพรรค ทั้งที่ได้ทำหนังสือคำสั่งไปแล้ว!?

สืบเนื่องจากกรณีที่ ได้มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม – 4 กันยายน 2564 เพื่อพิจารณาเรื่องด่วน “ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล” โดยผลการลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จำนวนผู้ลงมติทั้งหมด 475 เสียง ไม่ไว้วางใจ 208 เสียง ไว้วางใจ 264 เสียง และงดออกเสียง 3 เสียง พร้อมกับ 5 รัฐมนตรี สภามีมติไว้วางใจ

แต่ที่น่าแปลกใจใครหลายๆคนก็คือ มี ส.ส.พรรคเพื่อไทย จำนวนหนึ่ง ได้ทำการโหวตสวนมติพรรค โดยได้เปิดเผยว่า รัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ได้ตอบคำถามอย่างมีเหตุและผล บวกกับฝ่ายค้านซักถามก็ไม่ชัดเจน หลักฐานไม่เพียงพอ แต่ก็มีกดและการสั่งลงมติแบบซ้ายหันขวาหัน ซึ่งเป็นอะไรที่ไม่ใช่ ส.ส.ผู้ทรงเกียรติของปวงชนชาวไทยทำกัน

ล่าสุดในวันที่ 5 ก.ย.64 ทางด้านของ น.ส.อรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ได้เปิดเผยถึง กรณี ส.ส. ของพรรคจำนวนหนึ่งโหวตสวนมติพรรคในการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ผ่านมา ว่า ส.ส. ที่มีเจตนาฝ่าฝืนมติของพรรค ทั้งขาดประชุมโดยไม่มีเหตุผล ตั้งใจให้ร้ายกับพรรคด้วยความเท็จ และผู้ที่มีลักษณะที่บ่งบอกว่าไม่ต้องการจะอยู่กับพรรคในการเลือกตั้งครั้งหน้า

คณะกรรมการจริยธรรมของพรรคมีการประชุมในวันจันทร์ที่ 6 กันยายนนี้ เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงก่อนพิจารณาดำเนินการในขั้นต่อไป หากพบจงใจทำผิดขั้นร้ายแรง พรรคจะดำเนินการขับออกจากสมาชิกพรรคทันทีตามมาตรการขั้นเด็ดขาดของนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรค ที่ได้ออกหนังสือแจ้งไปยัง ส.ส. ทุกคนก่อนหน้านี้

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 64 ก่อนจะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ทางด้านของ พรรคเพื่อไทย ได้มีการออกหนังสือ พท 0762/2564 โดยมีเนื้อหา ว่า

“เพื่อให้การตรวจสอบฝ่ายบริหารด้วยการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจข้างต้น เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามญัตติที่พรรคได้เสนอไป จึงขอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนในการลงมติให้เป็นไปตามแนวทางและนโยบายของพรรคด้วยการลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีทุกคนที่ถูกอภิปราย”

ซึ่งทางด้านของ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ กำลังตรวจสอบหนังสือดังกล่าวอยู่ว่าอาจจะมีความผิดขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 124 วรรคหนึ่ง ตามแนวคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 1/2542 เนื่องจากการออกหนังสือดังกล่าว ในเชิงบังคับล่วงหน้าว่า ส.ส. จะต้องลงมติตามความในหนังสือ นั้น ส่อเข้าข่าย “อาจเป็นปฏิปักษ์” ตามแนวที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยที่ 3/2562 ด้วย