อดีตบิ๊กข่าวกรอง ซัดแอมเนสตี้ จุ้นคดีสั่งฟ้อง 3 เยาวชน ร่วมม็อบฝ่าพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถึงเวลาไล่ออกจากประเทศ!?!

2294

อดีตบิ๊กข่าวกรอง ซัดแอมเนสตี้ จุ้นคดี อัยการสั่งฟ้องเยาวชน 3 คนร่วมม๊อบ ผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ​ชี้ ถึงเวลาไล่ออกไปจากไทย หลังส่งเสริมความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศ

จากกรณีในเช้าของวันที่ 15 ตุลาคม 2563 ได้มีการสลายการชุมนุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้จับกลุ่มแกนนำคณะราษฎร แล้วยึดคืนพื้นที่รอบทำเนียบรัฐบาล จากนั้นได้ทยอยจับกุมตัวแกนนำคนสำคัญไป และรัฐบาลได้ประกาศ ประกาศภาวะฉุกเฉินร้ายแรงใน กทม. ต่อมาในช่วงเย็นวันนั้น กลุ่มนักเรียนเลวได้นัดจัดการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ เพื่อแสดงการคัดค้านปฏิบัติการของรัฐที่พวกเขามองว่าใช้อำนาจโดยมิชอบ ต่อมาทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ออกหมายเรียก แกนนำนักเรียนเลว 2 คน คือ พลอย เบญจมาภรณ์ และ มิน ลภนพัฒน์ ในกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกความตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

ต่อมา เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2564 พนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเยาวชนและครอบครัวสั่งฟ้องเยาวชนจำนวน 3 คนได้แก่ นายลภนพัฒน์ หวังไพสิฐ (มิน) อายุ 18 ปี น.ส.เบญจมาภรณ์ นิวาส (พลอย) อายุ 16 ปี กลุ่มนักเรียนเลว และนายคณพศ แย้มสงวนศักดิ์ (ภูมิ) อายุ 16 ปี กลุ่มนักเรียนไท ในข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ พ.ศ. 2548 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จากกรณีเข้าร่วมการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563 จากการดำเนินคดีของภาครัฐต่อเยาวชน

ทางด้าน ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ให้ความเห็นถึงกรณีที่เยาวชน 3 คน ถูกอัยการสั่งฟ้อง ว่า เด็กและเยาวชนไม่ควรถูกดำเนินคดีจากการแสดงความคิดเห็นของตนโดยสงบ เพื่อเรียกร้องการปฏิรูปการศึกษาและสิทธิมนุษยชน ทางการไทยต้องคุ้มครองสิทธิของบุคคลโดยเฉพาะเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่ได้เข้าร่วมการชุมนุมตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองและอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งทางการไทยได้ให้คำมั่นสัญญาไว้

นอกจากนั้น รัฐยังมีพันธกิจเชิงรุกในการปกป้องสิทธิเด็ก และจะต้องดำเนินการโดยตระหนักว่าอาจมีเด็กอยู่ในพื้นที่ชุมนุมและปกป้องพวกเขาจากอันตรายใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งปฏิบัติตามพันธกิจที่จะลดความตึงเครียดของสถานการณ์ โดยต้องยุติการใช้กฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างมิชอบ ยุติการจับกุมและการใช้กฎหมายคุกคามผู้ชุมนุม

ทั้งนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยยังคงเน้นย้ำทางการไทยให้เคารพพันธกรณีระหว่างประเทศที่จะต้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่จะมีสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ ที่เป็นไปตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) รวมทั้งให้คุ้มครองสิทธิของบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่ได้เข้าร่วมการชุมนุมตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กซึ่งมีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยทั้งสองฉบับ

ล่าสุด นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงกรณีที่ แอมเนสตี้มาเข้าวุ่นวายยการสั่งฟ้องเยาวชน 3 คนที่ไปร่วมม๊อบ โดยระบุข้อความว่า

เ​ ือกอีกแล้ว
คดีที่อัยการสั่งฟ้องวัยรุ่น 3 คนที่ไปร่วมม๊อบ 3 นิ้ว​และร่วมในการ
กระทำผิดในการชุมนุมทางการเมือง​ และฝ่าฝืนพรก. ไม่เกินคาดหมาย แอมเนสตี้ก็ออกมาแถลงคัดค้านไม่เห็นด้วยกับการดำเนินคดีกับเด็กวัยรุ่น ในการแสดง ออกทางความคิดเห็น ทางการได้ประกาศห้ามการชุมนุมทั้งก่อนและระหว่างการชุมนุมว่า

ผิดกฎหมาย​ แต่เมื่อสมัครใจที่จะชุมนุมและเสี่ยงที่จะทำ​ผิดกฎหมาย​ คงต้องยอมรับความเสี่ยงต่อไป
ไม่ต้องห่วง กฎหมายระหว่างประเทศไม่ได้จำกัดสิทธิกฎหมายภายในของไทย และจะมาก้าวล่วงหรือแทรกแซงอำนาจอธิปไตยทางศาลของไทยไม่ได้

เตือนกันมาตลอดเวลาว่า เยาวชนอย่าตกเป็นเหยื่อของพวกบ่าง ที่ชักชวนเด็กและเยาวชนให้ออกไปชุมนุม เพราะรู้จุดอ่อนของคนไทยดีว่า เด็กมักจะได้รับการดูแลและมีเอกสิทธิ​เป็นพิเศษ​ นอกจากเด็กเหลือขอเท่านั้น

เรียกร้องกับรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐมาตลอด ถึงเวลาหรือยัง ที่จะไล่แอมเนสตี้ออกไปจากไทยเสียที​ ทำงานเป็นเครื่องมือ​ กลไกของรัฐต่างชาติที่ให้เงินสนับสนุน ก้าวก่าย​ ยุยงส่งเสริมความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศ