แฉ ชาวบ้านบางกลอย เหยื่อการเมือง และ NGO จี้ รัฐบาลเอาผิดตามกฎหมาย สอบเส้นทางเงิน!?!

2965

แฉ ชาวบ้านบางกลอย เหยื่อการเมือง และ NGO เดินตามม็อบสามกีบ จี้ รัฐบาลเอาผิดตามกฎหมาย สอบเส้นทางเงิน!?!

จากกรณีที่นายนภันต์ เสวิกุล ผู้บันทึกย่างพระบาทที่ยาตรา ช่างภาพผู้ถวายงานการบันทึกภาพพระราชกรณียกิจของในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ออกมาแฉ NGO ว่าอยู่เบื้องหลังม็อบบางกลอย และยังบอกว่า ชาวบ้านไปเดินตาม NGO ที่มีผู้ “รู้ทัน” เยอะ และชาวบ้านมาประท้วง และเดินตามกลุ่มที่ชูสามนิ้ว คนส่วนใหญ่ในประเทศเขาไม่เอาด้วย โดยข้อเรียกร้องของชาวบางกลอย เว่อร์วังอลังการณ์ เช่นขอที่ดิน 15 ไร่ หมุนเวียนทุกรอบ ท้ังนี้ นอกจาก NGO และ PMove แล้ว ยังมีกรรมาธิการที่ดินและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย รายสุดท้ายนี่อาจจะเป็นผู้ถีบชาวบ้านให้ออกมายืนเด่นอยู่แถวหน้าด้วยซ้ำ

ซึ่ง NGO เป็นองค์กรที่ให้การสนับสนุนกองทัพนักศึกษาและประชาชน เพื่อทำลายชาติไทย และ NGO ได้รับการสนับสนุนอย่างลับๆ จากรัฐบาลชาติตะวันตก และยังสนับสนุนม็อบสามกีบที่เคลื่อนไหวอยู่ในประเทศไทยด้วย NGO คือองค์กรไม่แสวงหากำไร เพราะฉะนั้นจึงไม่มีการตรวจสอบที่มาที่ไปของเงินที่ไหลเข้าและออก เงินทุนส่วนหนึ่งมาจากการเปิดรับบริจาคจากประชาชนทั้งโลก อีกส่วนมาจากนักธุรกิจการเมือง และประเทศอภิมหาอำนาจ

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม ชาวบ้านบางกลอยทยอยเก็บของและเดินทางกลับบ้านบางกลอย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ด้วยรถบัสโดยสารที่ทางรัฐบาลจัดให้ หลังปักหลักอยู่บริเวณรอบทำเนียบรัฐบาลและล่าสุดที่บริเวณสะพานชมัยมรุเชษฐ ภายหลังจากที่วันนี้ ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน รวมทั้งการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่บ้านบางกลอย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ได้ยื่นเรื่องเข้าการประชุมคณะรัฐมนตรี หลังจากนั้นได้มีการส่งเรื่องไปถึงนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีได้มีการลงนามในทันทีที่มีการประชุมเสร็จ โดย 4 ข้อที่นายกรัฐมนตรีลงนามประกอบไปด้วย

1. ให้ พล.อ.ทประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหากรณีชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย เพื่อทำหน้าที่ในการสอบสวนหาข้อเท็จจริงเพื่อคืนสิทธิ์ให้ชาวบ้าน และดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน

2. ให้ พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม เปิดประชุมโดยเร่งด่วน

3. ให้นำผลการประชุมของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี

4.  ให้พนักงานสอบสวนชะลอการส่งสำนวนคดีไปอัยการจนกว่าการแก้ไขปัญหากรณีบางกลอยของรัฐบาลจะได้ข้อยุติ

หากย้อนไปก่อนหน้านี้ นายดำรงค์ พิเดช หัวหน้าพรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย และอดีดอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) แถลงกรณีบันทึกข้อตกลง เพื่อแก้ปัญหากรณีบางกลอย-ใจแผ่นดิน ระหว่างตัวแทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขบวนการประชาชน เพื่อสังคมที่เป็นธรรม ภาคี #SAVEบางกลอย และชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย เมื่อวันที่ 16 ก.พ.ที่ผ่านมา ว่า

แม้จะมีการเซ็นข้อตกลงแล้ว แต่กลุ่มชาวกะเหรี่ยงก็ยังไม่หยุดเผาหยุดโค่นป่าในเขตอุทยานฯ แก่งกระจาน จาก 32 ไร่ ลามเป็น 150 ไร่แล้ว ขอเรียกร้องให้แต่ละฝ่ายต้องหยุด โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรฯ และอธิบดีกรมอุทยานฯ ต้องเด็ดขาด บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง นำกะเหรี่ยงทั้ง 100 กว่าคนลงมาอยู่ข้างล่าง เพราะขณะนี้นอกจากทำลายพื้นที่อุทยานฯ แล้ว ยังมีการล่าสัตว์ป่า ทั้ง เก้ง กวาง เลียงผา และอนาคตหากมีการขยายพื้นที่ไปเรื่อยก็จะเกิดปัญหาความขัดแย้งกับช้างป่า และเป็นเขาหัวโล้นเหมือนที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จ.น่าน

“ผมไม่ได้มีอคติกับชาติพันธุ์ แต่จะเอาทั้งหมดตามใจไม่ได้ อย่าทำตัวเป็นอภิสิทธิ์ชน เพราะเรื่องนี้จบตั้งแต่ 20-30 ปีที่แล้วทุกคนยอมลงมาหมด เลิกอ้างปู่คออี้ได้แล้ว คนไทย 30-40 ล้านคนก็ยังไม่มีที่ทำกินเลย ถ้ายอมให้พื้นที่นี้กลับขึ้นไป พื้นที่อุทยานฯ เขตรักษาพันธุ์ฯ และป่าอนุรักษ์อีก 60 กว่าแห่งที่เอาคนลงมาได้แล้ว ทุกคนก็จะขอกลับขึ้นไปบ้างได้หรือไม่ เกิดกลียุคขึ้นแน่ๆ

“กะเหรี่ยงดีๆ ที่อื่นก็มีเยอะ ไม่เห็นมีปัญหาเหมือนที่นี่ ส่วนที่บอกว่าบางคนไม่ได้รับการจัดสรรที่ดินนั้น ไม่เป็นความจริง รัฐจัดสรรให้หมดแล้ว แต่คุณเอาไปขาย กะเหรี่ยงที่อยู่นอกพื้นที่ ทั้งจากสวนผึ้ง หรือที่อื่นๆ มาซื้อต่อ บางคนก็จะเอาทั้งที่เก่าที่ใหม่ บัตรประชาชนก็จะเอา สิ่งที่เกิดขึ้นเพราะมีเอ็นจีโออยู่เบื้องหลังที่ไปหนุนให้ชาวบ้านทำแบบนี้ ขณะที่เจ้าหน้าที่ได้แต่มองตาปริบๆ จะจับก็จับไม่ได้ ”

ดำรงค์ กล่าวว่า ขอเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการให้เด็ดขาดเอากะเหรี่ยงเหล่านี้ลงมาให้หมด และดำเนินคดีตามกฎหมาย พร้อมเรียกค่าเสียหายทางแพ่งฟ้องร้องค่าโลกร้อนด้วย เพื่อให้เป็นตัวอย่าง รวมทั้งเอาผิดเอ็นจีโอ นายทุน ผู้อยู่เบื้องหลัง วันนี้มีชาวเลเอาปลาเค็มไปแจก ชาวเลก็จะอดตายอยู่แล้ว ไปเอาที่ไหนมาถ้าไม่มีนายทุน จึงเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินคดีนายทุนเอ็นจีโอที่อยู่เบื้องหลังด้วย นอกจากนี้ยังมีคำสั่งศาลปกครองที่ไม่ให้กะเหรี่ยงกลับเข้าพื้นที่ใจแผ่นดิน เพราะเป็นพื้นที่อุทยานฯ นอกจากนั้นยังให้ฟ้องร้องทางแพ่งเรียกค่าเสียหายโลกร้อน แต่กรมอุทยานฯ ก็ยังไม่ได้ฟ้องแต่อย่างใด

ย้อนไปเมื่อวันที่ 23 ก.พ.64 ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ร่วมกับภาครัฐและภาคส่วนอื่นๆ ซึ่งองค์กรภาคประชาสังคมเป็นกลไกสำคัญในการจัดการปัญหาของชุมชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ทำให้ประชาชนมีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้ ดังนั้น ครม. จึงอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ. … ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ

เพื่อให้องค์กรภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศร่วมกับภาครัฐ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารรัฐกิจตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ซึ่งร่างพระราชบัญญัติมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกลไกในการส่งเสริมและสนับสนุนศักยภาพ และสร้างความเข้มแข็งขององค์การภาคประชาสังคม โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม จัดตั้งสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาชน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในรูปแบบต่างๆ อาทิ งบประมาณ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1.กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม ประกอบด้วย กรรมการโดยตำแหน่ง 6 คน ได้แก่

1)ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

2)ปลัดกระทรวงการคลัง

3)ปลัดกระทรวงมหาดไทย

4)ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

5)ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน

6)เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และกรรมกรรมผู้แทนองค์กรภาคประชาสังคม จำนวน 7 คน โดยทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนงาน ให้คำปรึกษา จัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาชน

2.จัดตั้งสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาชน ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล เพื่อให้การสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการดังกล่าว และรับจดแจ้งองค์กรภาคประชาสังคม

ปัจจุบันมีการจัดตั้งองค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน (NGO) ในไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีการจดทะเบียนถูกต้องเพียง 87 องค์กร ทำให้การกำกับดูแลของรัฐไม่ทั่วถึง และมีหลายองค์กรที่อ้างว่าเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหารายได้ฯ แต่ในทางปฏิบัติไม่ได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ขององค์กรเพื่อสาธารณะประโยชน์ มีความไม่โปร่งใสเกิดขึ้น เพื่อกำกับดูแลในเรื่องดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีได้ทำการศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการกำกับดูแลองค์กรที่ไม่แสวงหารายได้ฯ ในหลายประเทศ อาทิ อังกฤษ ฝรั่งเศส อินเดีย จีน และญี่ปุ่น

ซึ่งมีสาระสำคัญที่คล้ายกัน คือ มุ่งเน้นเรื่องธรรมาภิบาลในองค์กรฯ และเสนอต่อ ครม. ซึ่งได้รับการเห็นชอบในวันนี้ โดยเป็นการเห็นชอบในหลักการร่างกฎหมายว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน เพื่อให้มีกฎหมายกลางในการกำกับการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้ฯ ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง โปร่งใส และเกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศอย่างแท้จริง ซึ่งมีสาระสำคัญกำหนดให้องค์กรที่ไม่แสวงหารายได้ฯ ต้องดำเนินการดังนี้

1.ต้องจดแจ้งการเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหารายได้ฯ กับกรมการปกครอง

2.ต้องเปิดเผยแหล่งที่มาและจำนวนของเงินหรือทรัพย์สิน ที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมในแต่ละปี และต้องยื่นแบบรายการภาษีเงินได้ทุกปี

3.ต้องเสนอรายงานการสอบบัญชี โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต่อผู้รับจดแจ้งภายใน 60 วัน นับแต่วันสิ้นปีบัญชี และให้ผู้รับจดแจ้งเผยแพร่ต่อสาธารณะ

4.กำหนดให้องค์กรที่ไม่แสวงหารายได้ฯ จะรับเงินหรือทรัพย์สินจากบุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือคณะบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย หรือไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งในไทย มาใช้ในการดำเนินกิจกรรมในไทยได้เฉพาะกิจกรรมที่กฎหมายกำหนด

ทั้งนี้ ครม. มอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงมหาดไทยนำหลักการของร่างกฎหมายว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน ไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายและส่งผลดำเนินการให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อไป และขอยืนยันว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นไปเพื่อส่งเสริมและกำกับดูแลองค์กรไม่แสวงหารายได้ฯ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันพัฒนาประเทศและสาธารณะประโยชน์ ไม่ใช่การจำกัดสิทธิเสรีภาพขององค์กรแต่อย่างใด