จากธนาธร ถึงปิยบุตร สู่ “ก้าวไกล” คนพรรคนี้ชอบขู่นองเลือด! คนไทยท้าออกมา พวกชังเจ้าแค่หยิบมือ?

1557

จากธนาธร ถึงปิยบุตร สู่ “ก้าวไกล” คนพรรคนี้ชอบขู่นองเลือด! คนไทยท้าออกมา พวกชังเจ้าแค่หยิบมือ?

จากกรณีที่นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล ได้แถลงถึงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ระบุการกระทำของแกนนำราษฏรเข้าข่ายล้มล้างการปกครองว่า อาจจะเป็นการแบ่งเส้นทางการเมืองอย่างสุดขั้ว จึงกังวลว่า จะมีการนำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปโจมตี กล่าวหาการแสดงออกทางการเมืองแบบเหมารวมว่าเป็นการล้มล้างการปกครอง เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยังมีความไม่ชัดเจน จนถูกวิพากษ์วิจารณ์ทั้งเรื่องหลักกฎหมาย ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

ต่อมาทางด้าน นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญจะอ่านคำวินิจฉัย โดยมีเนื้อหาที่น่าสนใจอีกว่า Dred Scott แต่งงานกับ Harriet Robinson ทั้งสองคนเป็นทาส ต่อมามีลูก ตามกฎหมายของมลรัฐกำหนดให้ลูกของทาสต้องเป็นไท ปรากฏว่า John Emerson และ Elisa Stanford คู่สามีภรรยาผู้เป็นนายทาส ปฏิเสธไม่ยอมให้ครอบครัวของ Dred Scott เป็นไท เมื่อ Emerson ตาย Dred Scott ได้ฟ้อง Stanford ต่อศาลเพื่อวินิจฉัยว่าการกระทำของ John Emerson และ Elisa Stanford ขัดรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างๆของมลรัฐที่ห้ามมีทาสในเขตเหนือ ปรากฏว่ามีประเด็นปัญหากฎหมายขัดกันว่าจะใช้กฎหมายของมลรัฐใด เพราะ Stanford อ้างว่าตนเป็นประชากรของนิวยอร์ค เรื่องขึ้นไปถึงศาลสูงสุดในปี 1857 ศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาตัดสินคดี Dred Scott v. Stanford ด้วยมติ 7 ต่อ 2 ชี้ขาดว่าทาสไม่มีสิทธิพลเมือง ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องร้องคดีในศาล และยังชี้ต่อไปอีกว่ากฎหมาย “การประนีประนอมแห่งมิสซูรี” ที่ห้ามการมีทาสในมลรัฐตอนเหนือนั้นขัดรัฐธรรมนูญ

“พวกนิโกรเป็นพวกที่ถูกถือว่าเป็นมนุษย์ในอันดับที่ต่ำต้อยกว่ามาเป็นเวลากว่าหนึ่งศตวรรษ จึงไม่เป็นการเหมาะสมในทางใดที่จะนำพวกเขามาเปรียบเทียบกับคนผิวขาว ไม่ว่าจะในทางความสัมพันธ์ทางสังคมหรือในทางการเมือง และต่ำต้อยกว่าอย่างมากจนถึงขนาดที่ว่า คนพวกนี้ไม่มีสิทธิใดๆที่คนผิวขาวต้องเคารพ พวกนิโกรย่อมถูกลงเป็นทาสได้เพื่อประโยชน์ของคนขาว โดยยุติธรรมและชอบด้วยกฎหมาย” นี่คือส่วนหนึ่งของคำพิพากษา

ผลของคำพิพากษานี้นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างมลรัฐตอนเหนือที่สนับสนุนการเลิกทาสและมลรัฐตอนใต้ที่สนับสนุนการมีทาส จนกลายเป็นสงครามกลางเมืองในปี 1865 ทหาร ประชาชน ทั้งสองฝ่ายตายมากกว่าล้านคน Dred Scott เป็นทาสต่อไป และเสียชีวิตในสองปีถัดมา ก่อนสงครามกลางเมืองจะระเบิดขึ้น Roger Brooke Taney ประธานศาลสูงสุดในคดีนี้ ดำรงชีวิตอย่างยากลำบาก ที่ดินถูกเผา ยึด เนื่องจากภัยสงครามกลางเมือง เขาเสียชีวิตในวัย 84 ปี

ย้อนไปก่อนหน้านี้ (13 สิงหาคม 2563) นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้อภิปรายตอนหนึ่งในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณารายงาน “แนวทางการสร้างความปรองดอง สมาน ฉันท์ของคนในชาติ” ตามที่คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เสนอว่า ต้องยอมรับความจริงว่า รัฐธรรมนูญปัจจุบัน ไม่เอื้อต่อการสร้างบรรยากาศความปรองดอง มีหลายมาตราเป็นการสืบทอดอำนาจให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง และฝ่ายรัฐบาลไม่ยอมลดราวาศอก ไม่ยอมรับให้มีรัฐธรรมนูญที่มีเนื้อหาเป็นประชาธิปไตยคงเป็นเรื่องยากจะเกิดการปรองดองกันได้ เงื่อนไขหนึ่งคือ การทำลายส.ว.ที่มาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) อยากให้สมาชิกฝ่ายรัฐบาลกดปุ่มปิดสวิตซ์ส.ว.ให้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญที่เป็นของประชาชน เรายังไม่รู้ว่าจะได้แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่

ที่ผ่านมาการที่ส.ว.ออกมาขู่การชุมนุมของนักศึกษาว่า จาบจ้วงสถาบัน อาจนำไปสู่การนองเลือดนั้น เพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง ท่านไม่พูดเรื่องนี้จะดีกว่า มีแต่จะสร้างบรรยากาศความกลัว ความขัดแย้งใหม่ โอกาสไปสู่ความปรองดองจะเป็นเรื่องยาก รากของปัญหานี้อยู่ตรงไหนทุกคนรู้ดี ไม่สบายใจที่สมาชิกรัฐบาลหลับตาข้างเดียวไม่รู้ร้อนรู้หนาว สร้างอุณหภูมิให้ร้อนแรงขึ้น ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองควรรับฟังความจริงนี้ ไม่ใช่ผลักอนาคตชาติไปเป็นศัตรู รู้มาว่ารัฐบาลจะไม่เห็นชอบรายงานเล่มนี้ อยากให้เปิดตารับความจริงอันกระอักกระอ่วนนี้ โดยที่อยากให้เพื่อนสมาชิกทุกคนมาช่วยกัน

“เพื่อประโยชน์เราจำเป็นต้องแก้รัฐธรรมนูญ และยุบส.ว. 250 คน ส่วนการนิรโทษกรรมสำหรับคดีที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง รายงานเล่มนี้เลือกที่จะยกเว้นผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ซึ่งต้องยอมรับว่าคนเห็นต่างจำนวนมากถูกดำเนินคดีมาตรานี้ การระบุเช่นนี้จึงไม่สามารถสร้างบรรยากาศความปรองดองได้ จึงไม่ควรระบุในรายงานว่า ให้ยกเว้นกฎหมายอะไร เพราะมาตรา 112 เป็นมาตราหนึ่งที่เอาไว้รังแกคนเห็นต่างทางการเมือง เหมือนกฎหมายอีกหลายฉบับ”

ในขณะที่วันที่ 14 สิงหาคม 2563 ทางด้าน นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ให้สัมภาษณ์พิเศษเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของนักศึกษา ในรายการ “เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand” ตอนพิเศษ โดยมีพิธีกรคือ ดนัย เอกมหาสวัสดิ์ นักข่าวและพิธีกรอาวุโส และอมรรัตน์ มหิทธิรุกข์

นายธนาธรกล่าวในตอนต้นว่า การชุมนุมของนักศึกษา คือเอาเรื่องที่ทุกคนพูดกันในที่ลับ มาพูดในที่สาธารณะได้ นับว่าเป็นความกล้าหาญของพวกเขา แม้แต่ตนเองก็ยังไม่กล้าหาญเท่านักศึกษา โดยยอมรับว่าตลอดสองปีที่ผ่านมา จะพูดถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสถาบันก็ต่อเมื่อถูกถามเท่านั้น

ผู้ดำเนินรายการได้ตั้งคำถามต่อนายธนาธรว่าข้อเสนอ 10 ข้อของนักศึกษา ที่ถูกมองว่าแหลมคมเกินไป เพราะไปเกี่ยวข้องกับสถาบัน เป็นข้อเสนอที่ผลักแนวร่วมให้ถอยห่างหรือไม่ ซึ่งนายธนาธรยืนยันว่าการสูญเสียแนวร่วมอาจเกิดบ้าง แต่ที่สังคมเห็นตลอดหลายวันที่ผ่านมา คือการที่นักวิชาการ ดาราศิลปินจำนวนมากออกมาแสดงจุดยืนร่วมกับนักศึกษา นี่จึงไม่ใช่การเคลื่อนไหวที่เสียแนวร่วม แต่คือการนำความจริงที่น่ากระอักกระอ่วนใจออกมาพูดในที่สาธารณะเสียที

นายธนาธรทิ้งท้ายว่า ขอฝากไปถึงผู้มีอำนาจ เวลานี้ทุกคนต้องถอยคนละก้าว ไม่มีใครได้ 100% ไม่มีใครอยากเห็นการสูญเสียเลือดเนื้อ ถ้าผู้มีอำนาจยังไม่คิดถอย ไม่ประนีประนอม มันอาจไปถึงจุดนั้นได้ ทุกคนต้องถอยและใช้สติ โดยรูปธรรมของการถอยคือการแก้รัฐธรรมนูญ มานั่งคุยกันว่าจะเอาอย่างไร เดินหน้าไปอย่างไร เพราะต้องยอมรับว่าคนที่ไม่พอใจ คนที่ตื่นรู้ทางการเมืองและต้องการเรียกร้องการเปลี่ยนแปลง มีมากเกินกว่าที่รัฐจะปราบปรามหรือทำเป็นไม่รับรู้ว่ามีอยู่อีกต่อไป

เป็นที่น่าสังเกตุว่า การออกมาขู่นองเลือด หรือ ข่มขู่ระเบิดของพลพรรคส้มไล่มาตั้งแต่ธนาธร โรม ปิยบุตร จนกระทั่ง ชัยธวัช ดูเหมือนพวกเขาเหล่านี้ไม่เคยสำเหนียก หรือ มองความจริงสักนิด ว่าเมื่อพูดออกมาแล้ว หาได้มีใครกลัว และจะขอฟันธงลงไปเลยว่า ไม่มีทางเป็นไปได้อย่างเด็ดขาด เหตุผลประการหนึ่ง นั่นเพราะในประเทศนี้ คนรักปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์มีอยู่อย่างมากมาย ไม่ใช่มีอยู่เพียงหยิบมือเท่ากับกลุ่มคนจาบจ้วงหวังล้มล้าง ซึ่งสำหรับคนเหล่านี้ทำได้แค่ขู่แอบอยู่หลังเด็กไปวันๆก็เท่านั้น!?!