ดาราสามนิ้ว เงียบเป็นเป่าสาก เมียนมาฉีดน้ำสลายการชุมนุม ยกเทียบไทย ดิ้นพล่านเหมือนน้ำร้อนลวก!?!

4444

จากกรณีที่มีรายงานว่า ชาวเมียนมานับหมื่นคนออกมาชุมนุมกันในนครย่างกุ้ง และอีกหลายเมืองทั่วประเทศ เพื่อประท้วงต่อต้านการรัฐประหารของกองทัพเมื่อสัปดาห์ก่อน

และเรียกร้องให้ปล่อยตัวนางออง ซาน ซูจี หัวหน้าพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ซึ่งขณะนี้กำลังถูกกองทัพกักบริเวณอยู่ด้วย

การประท้วงครั้งนี้นับเป็นการชุมนุมที่มีประชาชนมาเข้าร่วมมากที่สุด โดยประชาชนต่างสวมเสื้อสีแดงและถือลูกโป่งสีแดง ซึ่งเป็นสีประจำพรรคเอ็นแอลดี ขณะที่มีรถยนต์กับรถบัสหลายคนมาร่วมขบวน และบีบแตรสนับสนุน ผู้ชุมนุมหลายคนยังชู 3 นิ้ว ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมากลายเป็นสัญลักษณ์ต่อต้านลัทธิอำนาจนิยม

ผู้ชุมนุมตะโกนสโลแกนต่อต้านการรัฐประหารเช่น “เราไม่ต้องการเผด็จการทหาร เราต้องการประชาธิปไตย” และถือป้ายประท้วงมากมายรวมทั้งป้ายที่มีข้อความว่า “เคารพเสียงโหวตของเรา” ซึ่งสื่อถึงชัยชนะถล่มทลายของพรรคเอ็นแอลดี ในการเลือกตั้งเดือนพฤศจิกายนปีก่อนด้วย
“ข้อแรก เราไม่ต้องการกลับไปเป็นการปกครองโดยทหาร เราไม่ต้องการมีชีวิตอยู่อย่างหวาดกลัว ข้อสอง เราต้องการให้ อะ เหม่ ซู (คุณแม่ซูจี) ได้รับการปลดปล่อยจากการควบคุมตัวอย่างไม่เป็นธรรม และข้อสาม เราต้องการขุดรากถอนโคนระบบที่ทหารเข้ามาครองตำแหน่งบริหารของพลเรือน” หนึ่งในผู้ชุมนุมบอกกับ บีบีซี

Image result for การชุมนุมเมียนมา

นอกจากที่นครย่างกุ้งแล้ว ยังมีการประท้วงกลุ่มเล็กๆ เกิดขึ้นที่กรุงเนปิดอว์, เมืองเมาะลำเลิง และเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 2 ของประเทศด้วย โดยมีรายงานว่าเกิดการยิงกันขึ้นที่เมืองมัณฑะเลย์ด้วย แต่ยังไม่มีรายงานว่าพบผู้ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด ขณะที่สื่อท้องถิ่นระบุว่า เป็นการยิงปืนกระสุนยางของตำรวจ เพื่อสลายการชุมนุม

ขณะเดียวกัน กลุ่มสังเกตการณ์อินเทอร์เน็ต ‘NetBlocks Internet Observatory’ ระบุว่า ระดับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในเมียนมา เพิ่มขึ้นมาเป็น 50% ของระดับปกติแล้วในเวลา 14:00 น. ตามเวลาท้องถิ่น หลังจากลดลงไปเหลือเพียง 16% ในวันเสาร์ แต่เครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ ยังถูกปิดกั้น

อย่างไรก็ตาม ล่าสุด วันที่ 8 กุมภาพันธ์ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า สถานการณ์ชุมนุมต่อต้านการก่อรัฐประหารในประเทศเมียนมาทวีความตึงเครียดมากขึ้น ซึ่งล่าสุดตำรวจเมียนมาได้ฉีดน้ำเข้าสลายกลุ่มผู้ชุมนุมหลายพันคนที่รวมตัวประท้วงกันอยู่ในกรุงเนปยีดอ เมืองหลวงของเมียนมา ในช่วงเช้าของวันเดียวกันนี้

โดยคลิปวิดีโอเหตุการณ์ที่ถูกเผยแพร่ออกมาแสดงให้เห็นตำรวจฉีดท่อน้ำเข้าสลายกลุ่มผู้ชุมนุมที่รวมตัวกันอยู่ จนผู้ประท้วงบางคนได้รับบาดเจ็บจากการถูกแรงดันน้ำอัดเข้าใส่ร่างจนล้มลงไปกองกับพื้น ก่อนที่ตำรวจจะหยุดฉีดน้ำลงหลังจากกลุ่มผู้ประท้วงร้องขอให้เจ้าหน้าที่หยุดฉีดน้ำใส่ โดยการชุมนุมของกลุ่มผู้ประท้วงยังดำเนินต่อไป

ทั้งนี้ การชุมนุมของประเทศไทยเองก็มีการสลายชุมนุมด้วยการฉีดน้ำหลายครั้ง โดยครั้งที่เป็นกระแสรุนแรงในสังคมไทย คือเหตุการณ์การสลายการชุมนุมใน วันที่ 16 ตุลาคม 2563 ที่แยกประทุมวัน

โดยได้มีดารานักแสดงจำนวนมากออกมาประณามรัฐบาลในการสลายการชุมนุมโดยบอกว่าเป็นการกระทำเกินกว่าเหตุ เช่น มารีญา นางงามเวทีดัง ติ๊ก เจษฎาพร เพร การุณพล โฟกัส จีรกุล เป็นต้น

ทั้งนี้ เมื่อเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นกับผู้ชุมนุมชาวเมียนมา กลับไม่มีใครออกมาเคลื่อนไหวหรือแสดงความเห็นใจใดๆทั้งสิ้น อีกทั้งเหล่าแกนนำม็อบ ที่เพิ่งโหนกระแสรัฐประหารเมียนมา ก่อม็อบป่วนกรุงที่หน้าสถานทูตเมียนมายังไม่แสดงท่าทีใดๆ

อย่างไรก็ตามการสลายการชุมนุมโดยการฉีดน้ำนั้น ถือเป็นการสลายกาชุมที่เป็นไปตามหลักสากล ไม่ถือเป็นความรุนแรกเกินกว่าเหตุแต่อย่างใด