ปลัดยธ.แจงแล้วกรรมการ “ราชทัณฑ์ปันสุข” ไม่เกี่ยวบริหารราชการแผ่นดิน รู้ไหมปีนี้ในหลวงบริจาคกี่ร้อยล้าน?

2584

จากกรณีที่ก่อนหน้านี้ นายปิยบุตร แสงกนกกุล ซึ่งทวีตข้อความว่า “#สนามกฎหมาย การลงพระปรมาภิไธย และการลงนามรับสนองฯ กรณีโครงการราชทัณฑ์ปันสุขฯ กษัตริย์ลงพระปรมาภิไธย (Sign)” รัฐมนตรีลงนามรับสนองฯ (Countersign) คืออะไร? ใครเป็นผู้ใช้อำนาจ-รับผิดชอบ? การลงพระปรมาภิไธยตามลำพัง โดยไม่มีรัฐมนตรีลงนามรับสนองฯ มีได้หรือไม่?

ต่อมาทางด้าน ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัว Suphanat Aphinyan สวนนายปิยบุตรว่า #ปิยบุตรคงโดนรุมประชาทัณฑ์เข้าสักวัน เจตนาอันแท้จริงของการลงพระปรมาภิไธยกับการรับสนองพระปรมาภิไธยที่เป็นไปตามหลักสากล คือ การตรวจทานและถ่วงดุลการใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนในการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่ใช่การควบคุมพระมหากษัตริย์ไปเสียทุกเรื่องราวกับเป็นนักโทษ ตามที่นายปิยบุตรชอบแอบอ้างรัฐธรรมนูญชั่วคราวของคณะโจร 2475 อยู่เป็นประจำ “การกระทำใด ๆ ของกษัตริย์ต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วย โดยได้รับความยินยอมของคณะกรรมการราษฎรจึ่งจะใช้ได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ”

เรื่องใดที่เกี่ยวข้องกับอำนาจอธิปไตยของปวงชน แน่นอนว่าต้องมีการลงพระปรมาภิไธยกับการรับสนองพระปรมาภิไธยคู่กันเสมอ แต่เรื่องใดก็ตามที่เป็นพระราชอำนาจส่วนพระองค์หรือสิทธิเสรีภาพส่วนพระองค์ไม่จำเป็นต้องมีการรับสนองพระปรมาภิไธยแต่อย่างใด

เนื่องจากโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแห่งเดียวในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ต้องให้บริการแก่ผู้ต้องขังในกรณีเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นจำนวนมาก แต่ยังขาดแคลนบุคลากร เครื่องมือแพทย์ และเวชภัณฑ์ การดูแลสุขภาพของผู้ต้องขัง โครงการราชทัณฑ์ปันสุขจึงเกิดขึ้นเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวตามหลักมนุษยธรรม โดยเป็นการพระราชทานทรัพย์สินส่วนพระองค์ให้คณะกรรมการนำไปดำเนินการช่วยเหลือผู้ต้องขังให้มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น กิจกรรมดังกล่าวจึงเป็นเรื่องส่วนพระองค์ที่เป็นไปเพื่อการกุศลและช่วยเหลือประชาชน ไม่ใช่การบริหารราชการแผ่นดินอย่างที่นายปิยบุตรบิดเบือนว่า “กรณีของคณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุขนั้น ถ้าเราลองดูขอบเขตงาน นั่นก็คือ ช่วยเหลือในเรื่องการจัดหาอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ ให้จิตอาสาพระราชทานเข้าไปมีบทบาทในการช่วยเหลือการแพทย์ การพยาบาล การอบรมความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ตรงนี้เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดินแน่นอน เกี่ยวข้องกับแนวทางในเรื่องนโยบายในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับในการบริหารประเทศ การบริหารราชการแผ่นดินแน่นอน”

แบบนี้ถ้าใครอยากจะช่วยเหลือผู้ต้องขัง นำเงินส่วนตัวมาบริจาคหรือสนับสนุนเครื่องมือทางการแพทย์ ออกมาทำโครงการดีๆให้ผู้ต้องขังได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตลอดจนได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์กับชีวิต จะไม่กลายเป็นการบริหารราชการแผ่นดินไปหมดเลยหรืออย่างไร? นอกจากขยันปั้นเรื่องโยงสถาบันพระมหากษัตริย์ไปสู่ความขัดแย้งแล้วบิดเบือนในประเด็นที่ละเอียดอ่อนเสียเอง นายปิยบุตรก็ยังชอบสมมติเหตุการณ์เกินจริง โดยที่สถานการณ์ดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นจริงแต่อย่างใดอีกต่างหาก

พอพระมหากษัตริย์ช่วยเหลือประชาชนแบบเงียบ ๆ ก็ออกมาหาเรื่องว่ากษัตริย์มีไว้ทำไม แต่พอพระมหากษัตริย์ช่วยเหลือประชาชนแบบเป็นทางการขึ้นมาหน่อย ก็หาว่าเป็นการแทรกแซงการบริหารราชการแผ่นดิน นายปิยบุตรจบปริญญาเอกด้านกฎหมายมาจริง ๆ หรือ? แค่เรื่องส่วนพระองค์ที่เป็นเรื่องการกุศลเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนกับการบริหารราชการแผ่นดินนายปิยบุตรยังไม่มีปัญญาแยกแยะ

หากนายปิยบุตรยังไม่หยุดบิดเบือนสร้างความแตกแยกและให้ร้ายสถาบันพระมหากษัตริย์ เกรงว่าประชาชนทั่วไปจะอดทนไม่ไหวกับพฤติกรรมอันน่ารังเกียจของนายปิยบุตร ความเกลียดชังมากมายจะย้อนกลับไปหาตัวนายปิยบุตรเอง และบางทีนายปิยบุตรอาจถูกรุมประชาทัณฑ์ก่อนติดคุก หรือถูกรุมประชาทัณฑ์ในคุกก็เป็นได้ เพราะแม้แต่เรื่องประโยชน์สุขของผู้ต้องขัง นายปิยบุตรยังกล้าเบียดเบียนด้วยการนำเรื่องบิดเบือนมาเป็นประเด็นสร้างความแตกแยกได้เลย ผมสงสัยจริง ๆ ว่านายปิยบุตรจะถูกรุมประชาทัณฑ์นอกคุกหรือในคุกก่อนกัน?

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ล่าสุด นายวิศิษฎ์ วิศิษฎ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงยุติธรรม(ยธ.) ชี้แจงกรณี นายปิยะบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้าตั้งคำถามกรณีการตั้งคณะกรรมการราชทัณฑ์ปันสุข ว่าโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นโครงการที่ในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงมีพระราชดำริว่า

โรงพยาบาลราชทัณฑ์เป็นโรงพยาบาลแห่งเดียวในสังกัดกระทรวงยุติธรรมต้องให้บริการแก่ผู้ต้องขังที่เจ็บไข้ได้ป่วย จำนวนมาก แต่ยังขาดแคลนบุคลากร เครื่องมือแพทย์และเวชภัณฑ์ ซึ่งกรมราชทัณฑ์มีหน้าที่ดูแลสุขภาพของผู้ต้องขังเพื่อให้เข้าถึงการรับการรักษาพยาบาลอย่างเท่าเทียมตามหลักมนุษยธรรม เมื่อพันโทษออกไปจะได้มีสุขภาพดี จึงพระราชทานความช่วยเหลือทั้งการจัดหาอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ รวมทั้งมีจิตอาสาพระราชทานเข้าไปให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์ การพยาบาล การอบรมให้ความรู้ในเรื่องต่าง ๆ

“ปัจจุบันเรือนจำมีผู้ต้องขังจำนวนมาก แต่กรมราชทัณฑ์มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ บุคลากร เครื่องมือแพทย์ และเวชภัณฑ์ที่ไม่สอดคล้องกับจำนวนผู้ต้องขังที่แออัด ในปี 2563 ได้รับพระราชทานเงินมาให้จัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ไว้ใช้ทั้งในเรือนจำและโรงพยาบาลภายนอกจำนวน 190 ล้านบาท ปีนี้พระราชทานให้อีก 118 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ประชาชนและโรงพยาบาลภายนอกได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ยืนยันว่าโครงการพระราชทานสอดคล้องกับตามหลักสากล หลักสิทธิมนุษยชน หลักมนุษยธรรม และมาตรฐานขั้นต่ำขององค์การสหประชาชาติในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหลายฉบับ ไม่ว่าจะเป็นปฏิญญากรุงเทพ และข้อกำหนดแมนเดลา และไม่ได้ใช้งบประมาณของทางราชการแต่อย่างใด”

ทั้งนี้ เมื่อถามว่า สามารถชี้คำถามนายปิยบุตรทั้ง 9 ข้อได้หรือไม่ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า สิ่งที่พูดมาน่าจะชัดเจนทั้งหมดแล้ว โครงการราชทัณฑ์ปันสุขเป็นโครงการที่ให้ความช่วยเหลือ และการตั้งคณะกรรมการฯก็ไม่ต้องใช้กฎหมายรองรับเพราะไม่ใช่การบริหารราชการแผ่นดิน อีกทั้งคณะกรรมการฯก็ไม่มีอำนาจสั่งการใดๆรวมถึง รัฐมนตรีว่ากระทรวงยุติธรรม หรือปลัด ฯก็ไม่มีอำนาจในการสั่งให้คณะกรรมการฯชุดนี้กระทำการใดๆเช่นกัน มีบทบาทเพียงให้ข้อมูลเพื่อให้การช่วยเหลือเข้าถึงจุดที่ยังขาดแคลนมากที่สุด เช่น รถเอ็กซ์เรย์เคลื่อนที่ควรไปตั้งที่จุดใดจึงจะเป็นประโยชน์ที่สุด หรือผู้ต้องขังเรือนจำใดจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาวัณโรค ซึ่งการดำเนินงานของคณะกรรมการฯไม่มีกรอบระยะเวลา

“สำหรับรายชื่อของคณะกรรมการฯชุดดังกล่าวไม่ทราบมีการเสนอรายชื่ออย่างไร ในส่วนของกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้รับพระราชทานความช่วยเหลือเท่านั้น ที่ผ่านมาราชวงศ์ได้ทำโครงการความช่วยเหลือประชาชนชนผ่านกระทรวงยุติธรรมหลายเรื่องตั้งแต่รัชสมัยของในหลวงรัชกาลที่ 9 เช่น โครงการห้องสมุดพร้อมปัญญา ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อให้ผู้ต้องขังได้อ่านหนังสือมากขึ้น และ โครงการกำลังใจในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา”