เปิดความจริง!! นักวิชาการเผย ทรราชไม่ชอบกษัตริย์ เพราะ กษัตริย์ช่วยส่งเสริมหลักนิติธรรม และมีการคานอำนาจสูง กดขี่ยาก!?!
จากกรณีที่กลุ่มชุมนุมในประเทศไทย เริ่มมีพฤติกรรมในการปราศรัยจาบจ้วง หมิ่นเหม่ไปในแนวทางล้มล้างสถาบัน และการเสนอให้ยกเลิกพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ซึ่งถูกปลูกฝังมาจากกลุ่มนักการเมืองคลั่งอำนาจ
โดยล่าสุดทางด้านของ LVanicha Liz ได้โพสต์ข้อความที่แปลมาจาก สำนักข่าว BBC สื่อดังอังกฤษ ถึงเหตุผลที่ควรมีสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
#กษัตริย์ปกป้องประเทศชาติและประชาชนจากทรราชที่มาจากการเลือกตั้ง (elected tyranny)
(บทความจากบีบีซี)
กษัตริย์มีความเชื่อมโยง (associate) กับชาติมากที่สุด เพราะการดำรงอยู่ (เอกราช) ของชาติกับการดำรงอยู่ของกษัตริย์เป็นสิ่งคู่กัน ซึ่งผลที่ตามมาของความเป็นเอกราช ก็คือสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพราะชาติที่ไม่มีความเป็นเอกราช ย่อมต้องอยู่ใต้การกดขี่ เข่นฆ่า และ/หรือเอาเปรียบ
สำหรับประเทศไทย กว่าทศวรรษที่คนในชาติต้องเผชิญกับผลกระทบจากการแย่งชิงอำนาจในระหว่างกลุ่มการเมืองและการกอบโกยผลประโยชน์ของชาติโดยกลุ่มการเมือง แม้จะมีทั้งกลุ่มทำดีและกลุ่มทำชั่ว แต่ก็ดูเหมือนกลุ่มทำชั่วจะเป็นกลุ่มที่มีบทบาทหลักได้อย่างยาวนาน ประชาชนเพิ่งได้สงบสุขด้วยการมีผู้บริหารที่ไม่ใช่นักการเมืองอยู่ช่วงหนึ่ง แล้วก็ต้องกลับมาเผชิญผลกระทบจากนักการเมืองกันใหม่ ตลอดเวลาแห่งความไม่สงบสุข ที่พึ่งพิงทางใจของประชาชนคือพระมหากษัตริย์ล้วนๆ
ดังนั้นจึงไม่แปลก ที่บีบีซีได้เผยแพร่บทความเกี่ยวกับความสำคัญของสถาบันกษัตริย์ ตั้งแต่เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ในช่วงนั้น ประเทศไทยยังคงมีในหลวง ร.9 ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม แม้บทความจะพูดถึงประเทศของเขา แต่เป็นเรื่องของระบอบการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยทั้งอังกฤษและไทยก็มีพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนเหมือนกัน
ย้อนไปในปี 2010 (ไม่ถึงขั้นย้อนอดีตหลายชาติหลายภพแบบประวัติศาสตร์การมีกษัตริย์ของฝรั่งเศส) บีบีซีลงบทความของ Phillip Blond ผู้ทรงอิทธิพลทางความคิด ยืนยันว่าสถาบันกษัตริย์มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งและสืบทอดระบบการเมืองในปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าความเห็นบางส่วนจะคิดว่าการปกครองรูปแบบนี้ไม่เป็นประชาธิปไตย หรือไม่ได้เป็นผู้แทนที่ผู้คนเลือกมาหรือเหลือแค่เป็นพิธีการก็ตาม
แต่จากการตรึกตรองโดยไม่ต้องใช้เวลามากเท่าไรก็จะพบว่าสถาบันกษัตริย์ไม่ใช่เรื่องของอดีตหรือสิ่งที่ผ่านไปแล้ว โดยปัจจุบันพระมหากษัตริย์ก็ยังคงอยู่ สถาบันกษัตริย์ช่วยคงไว้ซึ่งกระบวนการประชาธิปไตย โดยรวมอำนาจนอกเหนือจากประชาธิปไตยเข้ากับประชาธิปไตย
การมีผู้ปกครองประเทศนั้น ไม่ว่าจะมาโดยการเลือกตั้งหรือโดยวิธีใด ก็คือการปกครองโดยคนเพียงบางคนเสมอ ประชาชนทั้งชาติไม่สามารถแห่กันขึ้นไปปกครองประเทศแต่อย่างใด
อย่างไรก็ดี มันก็มีความแตกต่างระหว่างอำนาจกษัตริย์กับอำนาจของผู้มาจากการเลือกตั้ง เราอาจคิดว่าผู้มาจากการเลือกตั้งเป็นตัวแทนของกระบวนการประชาธิปไตย และเป็นผู้ตรวจสอบอำนาจกษัตริย์ #แต่ในความเป็นจริงมันเป็นไปในทางกลับกัน
มีคำถามว่ากษัตริย์ที่ทรงคุณงามความดี ไม่ได้เป็นตัวแทนของความดีงามกว่าและหลักการที่ลึกซึ้งกว่านักการเมืองหรอกหรือ โดยการเป็นตัวแทนของชาติโดยรวม คือสำหรับผู้คนทุกภาคส่วน กษัตริย์ทำให้นักการเมืองและการเมืองแบบประชาธิปไตยมีมาตรฐานสูงขึ้น กษัตริย์ป้องกันชาติและประชาชนจากพวกสุดกู่กับพวกคลั่งหลักการที่เชื่อเฉพาะสิ่งที่ตนเชื่อเท่านั้น
Blond ย้ำว่าระบอบประชาธิปไตยเองนั้น มันไม่เพียงพอที่จะรับประกันความต่อเนื่องของความเป็นประชาธิปไตย
หากเราไม่มีอำนาจที่จะเป็นตัวแทนของส่วนของชาติส่วนอื่นๆนอกเหนือจากคนหมู่มากที่เป็นกลุ่มไม่ถาวรและส่วนใหญ่ถูกปั่นหัว เราจะต้องอยู่ใต้อิทธิพลของการแบ่งข้างโดยพวกที่รู้สึกเหนือกว่าจากการเลือกตั้ง แล้วถูกสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมาบังคับใช้อย่างไม่จำกัดขอบเขตโดยผู้ชนะ
(ซึ่งขณะนี้ค่อนข้างจะชัดเจนแล้ว ว่านี่คือสิ่งที่คนไทยจะเผชิญ หากฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลปัจจุบันได้เสียงมากกว่า)
กษัตริย์ช่วยรักษากระบวนการประชาธิปไตยโดยรวมอำนาจนอกเหนือจากประชาธิปไตยเข้ากับประชาธิปไตย ในลักษณะของการประกอบกันขึ้น ให้เป็นกฎเกณฑ์การปกครองทั้งของคนส่วนใหญ่ คนส่วนน้อย และประมุขหนึ่งท่าน ซึ่งจะมีประสิทธิผลกว่าระบบการคานอำนาจทั่วไปในการ #ป้องกันทรราชที่มาจากการเลือกตั้ง (elected tyranny)
ในระบอบการปกครองโดยมีกษัตริย์เป็นประมุข ประมุขจะทำหน้าที่เป็นกรรมการที่จะทำให้แน่ใจว่ากระบวนการประชาธิปไตยจะไม่ถูกล้มล้างและจะมีกฎเกณฑ์แห่งความเป็นธรรม สรุปก็คือกษัตริย์ทรงส่งเสริมสนับสนุนหลักนิติธรรม (ถ้าจะเปรียบเทียบก็อาจจะเป็นดังเช่น: ไม่ให้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองไปเป็นกฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย ไม่ให้มีการไปบิดเบือนล้างสมองผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อให้คนบางกลุ่มเข้าครอบครองอำนาจบริหารประเทศ ฯลฯ)
ประมาณ 40 ประเทศที่มีระบอบการปกครองโดยกษัตริย์ทรงใช้อำนาจร่วมกับรัฐบาล (constitutional monarchy) ทั้งหมดมีกฎหมายสูงสุดที่ชัดเจน โดยหลายๆประเทศเป็นประเทศพัฒนาชั้นแนวหน้าที่สุด มีความมั่งคั่ง และรู้จักหน้าที่ความรับผิดชอบในการเป็นประชาธิปไตย สหประชาชาติระบุว่า ประเทศชั้นนำทางด้านคุณภาพชีวิต 7 ใน 10 ประเทศ มีระบอบการปกครองโดยกษัตริย์ทรงใช้อำนาจร่วมกับรัฐบาล
พวกทรราชยุคศตวรรษที่ 20 ไม่ยอมรับการสืบทอดของรัฐธรรมนูญที่ประกอบขึ้นด้วยแหล่งอำนาจแบบผสมผสานนี้ ทั้งระบอบคอมมิวนิสต์และระบอบฟาสซิสต์คือตัวอย่างของระบอบประชาธิปไตยที่คิดว่าการมีอำนาจโดยลำพังก็เพียงพอ ซึ่งทำให้เกิดการพังทลายไปเป็นเผด็จการกดขี่ โดยเขาจะปฏิเสธที่จะยอมให้มีใครมาจำกัดความต้องการของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชนชั้น กลุ่มเชื้อชาติ หรือทั้งประเทศ
ในอังกฤษไม่เคยมีเผด็จการกดขี่สุดขั้วเกิดขึ้นมาได้ เพราะเรามีหลักยึด ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าอยู่เหนือความต้องการของผู้คน เพราะสิ่งนี้เป็นความต้องการทั้งของผู้คนและของศูนย์รวมใจของผู้คน สถาบันกษัตริย์ที่สืบทอดโดยสายเลือดเป็นตัวแทนของทั้งคนส่วนใหญ่และคนส่วนน้อย เป็นผู้พิทักษ์ผลประโยชน์ร่วมกันของคนทั้งชาติ จึงไม่ใช่สิ่งที่ล้มล้างแต่เป็นสิ่งที่ส่งเสริมสนับสนุนประชาธิปไตย
จะเห็นได้ว่า เราต้องการมากกว่าประชาธิปไตย ที่จะปกป้องประชาธิปไตย
ถ้าล้มล้างหรือลดทอนอำนาจกษัตริย์ เราก็จะขาดหลักยึดสำคัญที่ได้สร้างความมั่นคง อิสรภาพ ความเที่ยงธรรม ฯลฯ ให้แก่ชาติของเรามานานหลายร้อยปี
https://www.bbc.com/news/uk-politics-11930839
#กษัตริย์ปกป้องประเทศชาติและประชาชนจากทรราชที่มาจากการเลือกตั้ง (elected…
Posted by LVanicha Liz on Saturday, October 3, 2020