วิกฤติเศรษฐกิจโลก เริ่มต้นแล้ว
Economic Crisis…Exist!
ไอเอ็มเอฟชี้ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจของโลก เผยโฉมแล้ว แต่ประเทศไทยเงินสดท่วม
คนย้ายเงินสดมากอดไว้ให้มากแม้ผลตอบแทนต่ำสุด
เมิ่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา IMF: International Monetary Fund ส่งสัญญาณชี้ชัดว่า
การหดตัวทางเศรษฐกิจของโลกมีแนวโน้มเข้าสู่วิกฤติได้เริ่มขึ้นแล้ว ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ เมื่อ 4 มี.ค. 63
ระบุว่า หากการแพร่ระบาดโควิด-19 ขยายวงกว้าง และประเทศอื่นนอกจีนควบคุมสถานการณ์ไม่ได้
ความเสียหายทางเศรษฐกิจน่าจะสูงและกินเวลานานเป็นปี
น่าจะทำให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวต่ำกว่าปีก่อน
แต่จะลดลงเท่าใดขึ้นกับความสามารถในการควบคุมการระบาดของประชาคมโลก
แต่รายงานเสถียรภาพทางการเงินโลก :GFSR
ชึ้ถึงปรากฏการณ์จุดอ่อนขนาดมหึมาในระบบเศรษฐกิจโลกส่อให้เห็นชัดเจน 3 ด้านได้แก่
ความเสี่ยงของตลาดตราสารหนี้, ระบบเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ขนาดใหญ่ และระบบธนาคาร
ด้วยสภาพดอกเบี้ยนโยบายที่ต่ำเป็นระยะเวลานาน (Low rates-Low profits)
กระทบผลประกอบการธนาคาร และคาดไม่ได้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อไหร่
มีแนวโน้มเผชิญความผันผวนในระยะยาวและซึมลึกกว่าที่คาดการณ์ไว้
และส่งผลกระทบเกิดวิกฤติทางการเงินของโลกแน่นอน
สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดการเงินโลกเคลื่อนไหวเร็วตามความกังวลของนักลงทุน
ดัชนีดาวโจนส์และเอสแอนด์พี รวมถึงตลาดหุ้นไทยปรับลดลงทุบสถิติต่ำสุดในรอบหลายปี
และแกว่งตัวในระดับไม่เสถียรอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
สหรัฐอเมริกา อนุมัติงบฯการคลังเพิ่ม 483 พันล้านดอลลาร์ สหรัฐ (23 เมย.63),
ญี่ปุ่นปรับเพิ่มการอุดหนุนโครงการแจกถ้วนหน้าแก่ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบอีก 83
พันล้านดอลลาร์สหรัฐ(20เมย.63)
ขณะที่ฝรั่งเศสและเกาหลีใต้เพิ่มงบฯเยียวยาครัวเรือนก้อนใหญ่เช่นกัน
แค่เดือนเมษายน กลุ่่มประเทศ G20 ใส่เม็ดเงินอุ้มเศรษฐกิจการตลาดมากถึง 8
หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งคิดเป็น 4.5 % ของ GDPกลุ่ม มากกว่าวิกฤติเศรษฐกิจทุกครั้งที่ผ่านมา
นักวิเคราะห์การเงินการลงทุน นักเศรษฐศาสตร์ ให้ความเห็นสอดคล้องกันว่าวิกฤติโควิด-
19นี้ไม่เหมือนอดีต(This time is different)
ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางขยายตัวซึมลึกลงในทุกภาคส่วนของระบบเศรษฐกิจโลก
รวมถึงประเทศไทยด้วย
ผลกระทบผ่านห่วงโซ่อุปทานโลกจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานและวัตถุดิบ เช่น
อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ส่วนใหญ่มีระบบการผลิตแบบสินค้าคงคลังเท่ากับศูนย์ (Zero Inventory) หรือ
Just in time มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบรุนแรงมาก
ผลกระทบในด้านการค้าโลก รายงานของ UNCTAD (2020) ชี้ว่าดัชนีภาคการผลิต (PMI)
ของจีนเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ลดลงต่ำสุดตั้งแต่ปี 2547
และประเมินว่าจะสร้างความเสียหายต่อการส่งออกในห่วงโซ่อุปทาน 50,000 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ
โดยมีผลกระทบมากสุดใน EU (15,600 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ) รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา (5,800
ล้านดอลลาร์ สหรัฐ) ญี่ปุ่น (5,200 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ) เกาหลี (3,800 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ) เวียดนาม
(2,300 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ) ขณะที่ไทยติดอยู่ที่อันดับ 11 ด้วยมูลค่าความเสียหาย 700 ล้านดอลลาร์
สหรัฐ โดยอุตสาหกรรมผลิตยางและพลาสติก เครื่องมือเครื่องจักร เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์สื่อสาร ยานยนต์
ในไทยเป็นสาขาที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด
ผลกระทบด้านการท่องเที่ยว ซึ่งเคยสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศทั่้วโลกอยู่ในภาวะชะงักงัน
สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ประเมินว่ากรณีที่มีการแพร่ระบาดอยู่ในวงจำกัด
รายรับการท่องเที่ยวของโลกจะลดลง 63,000 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ โดยเอเชียจะได้รับผลกระทบสูงสุด
รองลงมาคือ ยุโรปอื่น ญี่ปุ่น อิตาลี และเยอรมนี ซึ่งล้วนเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของนักท่องเที่ยวจีน
ขณะที่สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยประเมินว่า
จะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทยไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และสูญเสียรายได้กว่า 2.5 แสนล้านบาท
ขณะที่ประเทศไทย ก็ใช้มาตรการอัดเงินเข้าระบบ กระตุ้นการเงิน และกระตุ้นการคลัง เช่น
แบงก์ชาติต้องออกพันธบัตรรองรับสภาพคล่อง ใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำ ปล่อยกู้ธนาคารด้วยดอกเบี้ยต่ำ
และภาครัฐได้เตรียมงบฯ 1.9 แสนล้านบาท กระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 3-4
รองรับทั้งเศรษฐกิจภาคการเงิน(Financial sector) และเศรษฐกิจจริง (Real secter)
แต่ยอดเงินฝากธนาคารพาณิชย์ไทย กลับเติบโตสูงขึ้นต่อเนื่อง กล่าวคือ คนถือเงินสดกันมากขึ้น
ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา เพิ่มขึ้น 1.2 แสนล้านบาท หรือ 8.25% ตามด้วยยูโอบีเพิ่มขึ้น 26,053 ล้านบาท
หรือ 6.21% ซีไอเอ็มบี ไทยเพิ่มขึ้น 9,287 ล้านบาท หรือ 4.91% ตามด้วย กสิกรไทย 91,655
ล้านบาท หรือ 4.65% และธนาคารกรุงเทพ เพิ่มขึ้น 1 แสนล้านบาท หรือ 4.42%
ภาพรวมที่ทั่วโลกใช้เงินมหาศาลเข้าไปอุ้มระบบ น่าจะเอา่ไม่อยู่เสียแล้ว
เส้นเลือดใหญ่ของระบบทุนฯคือระบบการเงินการธนาคาร เมื่อไหร่ที่ธนาคารระส่ำ เทรดเดอร์ป่วน
ซวดเซ หมายถึงแผ่นดินไหวทางการเงินเริ่มขี้นแล้ว แม้ประเทศไทยจะยังพอประคับประคอง
แต่ไม่พ้นต้องได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์เศรษฐกิจโลกอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง
คนไทยตัวเล็กๆอย่างเรา จะเตรียมรับมืออย่างไร?
………………………………………………