ไอติมหลานน้ามาร์ค! ผู้ชูธงยกเลิกม.112-คนรับทุน King’s Scholarship : เด็กไทยไปเรียนนอก

2884

จากที่ พริษฐ์ วัชรสินธุ หรือ “ไอติม” อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ผู้ก่อตั้งกลุ่มรัฐธรรมนูญก้าวหน้า ออกมาโพสต์เฟซบุ๊ก เกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งกลายมาเป็นให้วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากนั้น

ทั้งนี้เนื้อหาที่นายพริษฐ์ ได้โพสต์มีบางช่วงว่า ผมไปร่วมลงชื่อ # ยกเลิก112 ซึ่งเป็นข้อเสนอที่อยู่ในกรอบของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ หลายประเทศจึงมีการระบุ ‘ผู้ฟ้อง’ อย่างชัดเจน อาทิ พระมหากษัตริย์ต้องมีพระราชกระแสรับสั่ง หรือยินยอมให้ดำเนินคดีผ่านสำนักราชเลขาธิการ (สหราชอาณาจักร นอร์เวย์) การให้อำนาจนายกรัฐมนตรี (ญี่ปุ่น) หรือกระทรวงยุติธรรม (เดนมาร์ก) เป็นคนฟ้องเท่านั้น

ในการฟ้องร้อง จะต้องได้รับการอนุมัติจากพระมหากษัตริย์ หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในฐานะผู้เสียหาย หากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลใดทำผิดจริง บุคคลนั้นก็ยังได้รับโทษทางอาญาเช่นเดียวกับการหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไป

สำหรับ ไอติม หรือ นายพริษฐ์ เป็นหลานชายของอดีตนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในด้านการศึกษานั้น ได้รับทุน King’s Scholarship ไปเรียนที่โรงเรียน Eton College โรงเรียนมัธยมชื่อดังของอังกฤษ จบการศึกษาระดับปริญญาภาควิชาปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด

อย่างไรก็ตามทีมข่าวเดอะทรูธ ตรวจสอบถึงการได้รับทุนเล่าเรียนของไอติม ก็พบว่า เว็บไซต์ sanook  ได้เผยแพร่ข้อมูล ไอติม ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2561 ซึ่งมีเนื้อหาบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการได้รับทุนเล่าเรียนว่า

sanook : ย้อนกลับไปเรื่องของนักเรียนทุน ตอนนั้นทุนที่ได้เป็นทุนอะไร?

ไอติม : ตอนนั้นผมได้ทุนของโรงเรียนมัธยมอีตัน คอลเลจ (Eton College) ซึ่งที่จริงทุนนี้เรียกว่า King’s Scholarships คล้ายกับทุนเล่าเรียนหลวงไทย เพียงแต่ว่า ทุนที่ผมได้รับนั้น เป็นทุนเล่าเรียนจากกษัตริย์เฮนรี่ที่ 6 (King Henry VI) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนอีตัน

“อันที่จริงคนภายนอก มักจะมองว่า โรงเรียนอีตันเป็นโรงเรียนลูกคนรวย ซึ่งก็เป็นความจริงส่วนหนึ่ง แต่ว่านโยบายของโรงเรียนอีตัน คอลเลจ คือในทุกๆ ปี จะมีนักเรียนจำนวน 15 คน จาก 250 คน สามารถเข้ามาเล่าเรียนโดยขอรับทุนของกษัตริย์เฮนรี่ที่ 6 โดยที่ทุนดังกล่าวเป็นเงินทุนที่มาจากดำริของกษัตริย์เฮนรี่ที่ 6 ตั้งแต่สมัยก่อตั้งโรงเรียนซึ่งจะเปิดโอกาสให้คนที่สนใจจะได้รับทุนนี้ เข้าไปสอบชิงทุน โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องฐานะ ตอนนั้นผมก็ตัดสินใจเสี่ยงไปลองสอบดู ผลก็คือ ผมได้เป็นนักเรียนทุนดังกล่าว”

(อ่านรายละเอียดได้ที่  https://www.sanook.com/men/33177/)

นอกจากนี้ทีมข่าวเดอะทรูธ ยังตรวจสอบถึงที่มา ทุน King’s Scholarship หรือ ทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับในประเทศไทย ก็พบว่า สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ได้เผยแพร่ข้อมูล ที่มาของโครงการทุนเล่าเรียนหลวง ไว้ในเว็บไซต์ว่า

“ความเป็นมา ทุนเล่าเรียนหลวง (อังกฤษ: King’s Scholarship) เป็นทุนการศึกษาแบบให้เปล่าซึ่งได้รับความนับถือสำหรับการศึกษาปริญญาตรีต่อต่างประเทศ ให้แผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทย

การสอบคุณสมบัติจัดขึ้นโดยสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และมีการแข่งขันสูงมาก แต่ละปีมีทุนการศึกษาจำนวนเก้าทุน ทุนการศึกษานี้ได้รับพิจารณาอย่างกว้างขวางว่าเป็นความสำเร็จทางวิชาการอันยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับนักเรียนไทย

ไม่เหมือนกับทุนการศึกษาของรัฐบาลไทยอื่น ๆ ทุนเล่าเรียนหลวงไม่มีข้อกำหนดผูกพันว่า ผู้รับจะต้องทำงานให้กับรัฐบาลไทย มีเพียงข้อกำหนดให้ผู้รับเดินทางกลับมาทำงานในประเทศเป็นเวลาเท่ากับระยะเวลาที่ไปศึกษา

ทุนเล่าเรียนหลวงพระราชทาน โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แม้จนถึงปัจจุบัน จะมิได้พระราชทานเป็นการส่วนพระองค์ ในปีหลัง ๆ ทุนเล่าเรียนหลวงพระราชทานโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แทนพระมหากษัตริย์”