เฉลยแล้ว สาเหตุ “สรยุทธ” เงียบ หลังนักเขียนชื่อดัง จับพิรุธ ทำไมไม่กล้าแตะต้อง เล่นข่าวปมอภัยโทษผิดปกติ!?

2576

หลังจากที่เป็นประเด็นถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เรื่องปมอภัยโทษ มีการลดโทษของคดีโกงจำนำข้าวที่ผิดปกติ โดยทางด้านนายปฏิพล อภิญญาณกุล นักเขียนชื่อดัง ก็ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Padipon Apinyankul ในประเด็นดังกล่าวด้วย ระบุว่า

“#ยุติธรรมอำพราง
เรื่องการลดโทษให้นักการเมืองทุจริต (โกงข้าว) รวมถึงข้าราชการทุจริต และบุคคลที่ร่วมทุจริตต่อเงินแผ่นดิน ..

เรียกง่าย ๆ คือ การรวมหัว “คอรัปชั่นภาษี” ของประชาชน ..ได้กลายเป็นเรื่อง เป็นราว ซึ่งควรแก่การปรับปรุงแก้ไข กฎระเบียบไปแล้ว..

รมต.ยุติธรรม..เป็นบุคคลที่ถูกสังคมเพ่งเล็ง อย่างช่วยไม่ได้ เพราะการขอลดหย่อนโทษ การส่งรายชื่อบุคคลให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษ มีคนที่สามารถทำเรื่องยื่นส่งขอได้แค่ไม่กี่คน..หนึ่งในนั้นคือ รมต.ยุติธรรม

ปัญหาที่ผู้คนสงสัยคือ..
ใช้กฎเกณฑ์อะไร ในการพิจารณาว่า นักโทษคนไหนสามารถขึ้นชั้น ยกระดับเป็น
ดีเยี่ยม ดีมาก ดี พอใช้ ธรรมดา ..

คำถามคือ .. ทำไม ? ตำแหน่งรัฐมนตรียุติธรรม ของ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน .. ถึงค้ำประกันความโปร่งใส ต่อกรณีการลดโทษครั้งนี้ไม่ได้ ?

ความสงสัย เกิดมาจากความเป็น “นักการเมือง” ของนายสมศักดิ์ เอง ..

เขาเป็นนักการเมืองผู้ช่ำชองสารพันกระบวนท่า.. ผู้ซึ่งถนัดการเป็นฝ่ายรัฐบาล มากกว่าฝ่ายค้าน.. ในอดีตนั้นร่วมรัฐบาลกับเพื่อไทยมาได้อย่างราบรื่น
นายสมศักดิ์ เคยอยู่กับพรรคไทยรักไทย ร่วมรัฐบาลกับนายทักษิณมาหลายสมัย.. ก่อนที่จะออกมาตั้งกลุ่มของตัวเอง

โดยส่วนตัวเชื่อว่า นายสมศักดิ์ เป็นนักการเมืองระดับเทพ ย่อมมีความสัมพันธ์กระจายไปยังทุกกลุ่ม.. รวมถึงนักโทษการเมืองข้างในคุก ย่อมรู้จักอยู่บ้าง
อย่างน้อยก็เคยมี “เจ้านายเก่า” ร่วมกันมาก่อน เมื่อมานั่งโต๊ะกับกรรมการพิจารณาลดโทษ มันดูแล้วย่อมเกิดความไว้ใจน้อยลง

ความสงสัยก็เลยพุ่งเป้า ว่า.. นายสมศักดิ์ รมต.ยุติธรรม เอื้อต่อการลดหย่อนโทษด้วยหรือไม่? แปลกยิ่งกว่าคือ ในช่วงเวลา 1 ปี 4 เดือน (2563-2564) มีการลดโทษให้ 4 ครั้ง
รวมๆ ประมาณลดโทษไป 43 ปี.. เร็ว ๆ นี้ ก็จะออกจากการ “พักร้อน” กันมาแล้ว

เรื่องนี้ ทำไมคนทำข่าว คุ้ยข่าว กันน้อยมาก ถ้าให้ดีควร “เจาะข่าว” สืบเสาะหาตัวกรรมการพิจารณา มาสอบถามกัน
ยิ่งน่าแปลกกว่า ก็คือ คนข่าวที่คุ้นเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับคุก เกี่ยวกับวันลดหย่อยโทษ ซึ่งสามารถล้วงข้อมูลได้ลึก.. เฉกเช่น นายสรยุทธ นักเล่าข่าวชื่อดัง..
.. กลับไม่เล่นข่าวนี้ ?”

ทั้งนี้เมื่อตรวจสอบประเด็นการพักโทษของนายสรยุธ ซึ่งอธิบดีราชทัณฑ์ ได้ชี้แจงไว้ตั้งแต่เดือนมี.ค. 2564 ว่าไม่ได้ใช้ 2 มาตรฐานในการปล่อยตัวนักโทษ และกรณีของนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา ก็ถูกต้องตามระเบียบทุกอย่าง โดยการพัก การลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษ โครงการพักการลงโทษนักโทษเด็ดขาดที่มีโทษระยะสั้นที่ นายสรยุทธ ได้รับ เป็นโครงการสำหรับนักโทษเด็ดขาดชั้นกลางขึ้นไป จำคุกครั้งแรกที่ได้รับโทษมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของกำหนดโทษ และเหลือโทษที่ต้องได้รับต่อไปอีกไม่เกิน 5 ปี ซึ่งในขณะพิจารณาการพักการลงโทษ นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา เป็นนักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยม ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร มีกำหนดโทษตามคำพิพากษา 6 ปี 24 เดือน ต่อมาได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2563 ทั้ง 2 รอบ คงเหลือโทษจำคุกครั้งหลังสุด 3 ปี 6 เดือน 20 วัน เมื่อหักวันต้องโทษจำคุกมาแล้ว จึงเหลือโทษจำคุกต่อไปอีก 2 ปี 4 เดือน 14 วัน จึงถือว่ามีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์การพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษ และได้รับการปล่อยตัวพักการลงโทษ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว

และเกณฑ์ในการการพักการลงโทษ ที่นายสรยุทธได้รับจะมีดังนี้
-เป็นนักโทษเด็ดขาด
– ชั้นเยี่ยม เหลือโทษจำคุกไม่เกิน 1 ใน 3
– ชั้นดีมาก เหลือโทษจำคุกไม่เกิน 1 ใน 4
– ชั้นดี เหลือโทษจำคุกไม่เกิน 1 ใน 5

เมื่ออยู่ในเกณฑ์พักการลงโทษแล้ว นักโทษเด็ดขาด แจ้งสถานที่พักของตนเอง ให้ผู้คุมไปเยี่ยมเยียนดูได้ และต้องรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ทุกเดือน โดยที่ผู้ถูกคุมประพฤติ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามเงื่อนไข 8 ข้อ ที่กำหนดไว้หากประพฤติผิดเงื่อนไข จะถูกนำตัวกลับมาคุมขังไว้ในเรือนจำตามเดิม และจะถูกลงโทษทางวินัยด้วย เงื่อนไข 8 ข้อ มีดังนี้

1. จะต้องพักอาศัยอยู่ตามที่อยู่ที่แจ้งไว้กับเรือนจำ
2. ห้ามออกนอกเขตท้องที่ที่อาศัยโดยไม่ได้รับอนุญาต
3. ห้ามประพฤติตนเสื่อมเสีย เช่น เล่นการพนัน ดื่มสุรา ยาเสพติด และกระทำผิดอาญาขึ้นอีก
4. ประกอบอาชีพโดยสุจริต
5. ปฏิบัติตามลัทธิศาสนา
6. ห้ามพกพาอาวุธ
7. ห้ามไปเยี่ยมบ้านหรือติดต่อกับนักโทษอื่นที่ไม่ใช่ญาติ
8. ให้ไปรายงานตัวกับพนักงานคุมประพฤติเรือนจำ เจ้าพนักงานปกครอง หรือหัวหน้าสถานีตำรวจทุกเดือน
ถ้าผู้ได้รับการปล่อยตัว ประพฤติตนตามเงื่อนไขด้วยดีตลอด ก็จะได้รับใบบริสุทธิ์ และพ้นโทษไปตามคำพิพากษา เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติสืบต่อไป

และเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2564 แหล่งข่าวจากกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า ภายหลังมีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 28 ก.ค. มีผู้ต้องขังจากเรือนจำ 143 แห่งทั่วประเทศ เข้าเกณฑ์ได้รับการปล่อยตัว จำนวน 35,000 คน ซึ่งขณะนี้ทุกเรือนจำอยู่ระหว่างการตรวจสอบรายชื่อผู้ต้องขังที่อยู่ในเงื่อนไขได้รับพระราชทานอภัยโทษ เพื่อส่งให้คณะกรรมการตรวจสอบผู้ซึ่งได้รับพระราชทานอภัยโทษพิจารณาก่อนปล่อยตัว ครั้งนี้มีคนดังที่เข้าเงื่อนไขได้รับพระราชทานอภัยโทษกรณี เป็นผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ คือ นายสรยุทธ สุทัศนจินดา ซึ่งก่อนหน้านี้ นายสรยุทธ ได้รับพระราชทานอภัยโทษมาแล้ว 2 ครั้ง และเข้าเงื่อนไขการพักโทษเป็นกรณีพิเศษ จึงได้รับการติดกำไลอีเอ็ม เป็นเวลา 14 เดือน และต้องรายงานตัวจนกว่าจะพ้นโทษคือ วันที่ 26 ก.ค.66 ก็มีผลให้พ้นโทษและได้รับการปลดกำไลอีเอ็ม หลังพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 28 ก.ค. 2564 ด้วย

อย่างไรก็ตามประเด็นของการพักโทษนายสรยุทธนั้น สุดท้ายแล้วได้รับการพ้นโทษก่อนกำหนด เพราะมีคุณสมบัติเข้าข่ายผ่านเกณฑ์ เพราะช่วงที่อยู่ในเรือนจำได้มีการช่วยจัดรายการ เรื่องเล่าชาวเรือนจำ ให้ความรู้นักโทษช่วงที่โควิดระบาด จนทำให้สถานการณ์ในเรือนจำดีขึ้น ทั้งนี้ได้อนุญาตให้ประกอบอาชีพสุจริตได้ และเจ้าตัวก็กลับมาทำรายการข่าวดังเดิม ทำให้น่าตั้งข้อสังเกตว่า การไม่เล่นข่าวปมอภัยโทษคดีโกงจำนำข้าวนั้น ทั้งการโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว และจัดรายการข่าว อาจจะเป็นเพราะเจ้าตัวได้การถอดกำไล EM และได้รับการพ้นโทษก่อนกำหนดแล้ว