เอาแล้วไง??รมว.คลังสหรัฐโวย ปลดเพดานหนี้ไม่ทันกู้ จ่อถังแตกอีกรอบ

1068

เพิ่งดีใจกันไม่ทันไรว่า สหรัฐฯมีเงินแน่เมื่อปธน.ลงนามบังคับใช้กฎหมายงบฯโครงสร้างพื้นฐาน ความแตก ว่าตัวเงินจริงยังไม่มี กระทรวงการคลังสหรัฐเตือนเงินสดจะหมดคลังในวันที่ 15 ธ.ค.นี้ถ้าสภาคองเกรสไม่เพิ่มเพดานหนี้ ทำเอาผวากันไปทั้งตลาดหุ้นและประชาชนอเมริกันที่เริ่มไม่แน่ใจในฝีมือบริหารเศรษฐกิจของปธน.โจ ไบเดนและทีม สะท้อนจากคะแนนความนิยมสำรวจ 3 ครั้งตกต่ำลงเรื่อยๆทั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี ในขณะเดียวกันประธานเฟด และนักเศรษฐกิจค่ายตะวันตกเริ่มยอมรับแล้วว่าคลื่นเงินเฟ้อของสหรัฐฯหนักหนาสาหัสเกินกว่าจะมองข้ามได้ ซึ่งอาจเป็นแรงกดดันให้เฟดต้องขึ้นดอกเบี้ยสะกัดเงินเฟ้อ ควบคุมค่าเงินดอลลาร์และเร่งขายพันธบัตรรัฐบาลก่อนที่ทุกอย่างจะควบคุมไม่ได้

วันที่ 17 พ.ย.2564 สำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) รายงานว่า เจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐส่งจดหมายไปถึง แนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรโดยเตือนว่า เงินสดในคลังของรัฐบาลสหรัฐจะหมดในวันที่ 15 ธ.ค.นี้ หากสภาคองเกรสไม่สามารถตกลงกัน ที่จะเพิ่มหรือยกเลิกเพดานหนี้ภายในวันดังกล่าว ส่งผลให้รัฐบาลสหรัฐต้องเผชิญการผิดนัดชำระหนี้ครั้งใหญ่ ก่อนหน้านี้เยลเลนคาดการณ์ว่าเงินสดจะหมดภายในวันที่ 3 ธ.ค.2564 แต่เมื่อปธน.ไบเดนลงนามกฎหมายใช้งบฯโครงสร้างพื้นฐาน กระทรวงการคลังต้องเร่งโอนเงินเข้าโครงการเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย ทำให้เงินหมดคลังก่อนกำหนด ทางออกจึงต้องเร่งกู้ให้ทันก่อนเส้นตายดังกล่าว

เยเลนกล่าวว่า“แม้ดิฉันจะมั่นใจมากว่ากระทรวงการคลังสามารถจัดหาเงินสดให้รัฐบาลสหรัฐได้จนถึงวันที่ 15 ธ.ค. แต่มีความเป็นไปได้ที่กระทรวงการคลังจะมีทรัพยากรไม่เพียงพอที่จะจัดสรรให้รัฐบาลหลังวันดังกล่าว หากสภาฯไม่อนุมติเพิ่มเพดานหนี้”

เยลเลนอธิบายในจดหมายว่า เส้นตายใหม่คือวันที่ 15 ธ.ค.นี้เกี่ยวข้องกับกำหนดการชำระหนี้ตามกฎหมายงบประมาณโครงสร้างพื้นฐานราว 550 ล้านเหรียญสหรัฐที่ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ลงนามเมื่อวันจันทร์ที่ 15 พ.ย.2564 ซึ่งทำให้กระทรวงการคลังต้องโอนเงิน 118 ล้านเหรียญสหรัฐไปยังกองทุนทางหลวง (Highway Trust Fund) ภายใน 1 เดือนหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้ซึ่งตรงกับวันที่ 15 ธ.ค.2564 นี้

แม้จะยังพอมีเวลาให้สภาคองเกรสพูดคุยเกี่ยวกับเพดานหนี้ แต่ยังไม่ชัดเจนว่าพรรคเดโมแครตจะดำเนินการอย่างไร เนื่องจากฝั่งพรรครีพับลิกัน รวมทั้ง วุฒิสมาชิก มิตช์ แม็คคอนเนลล์ ผู้นำเสียงข้างน้อยในวุฒิสภาของพรรครีพับลิกันย้ำหลายครั้งว่าจะไม่ช่วยเดโมแครตเพิ่มเพดานหนี้แล้ว

หนี้ทั้งหมดของรัฐบาลสหพันธรัฐเกิน $28.5 ล้านล้าน และสภาคองเกรสได้ลงมติให้เพิ่มหรือระงับเพดานหนี้หลายสิบครั้งในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งเยลเลน, เจโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลาง หรือ Fed และนักเศรษฐศาสตร์คนอื่นพากันเตือนว่า การผิดนัดชำระหนี้แม้เพียงชั่วคราวจะส่งผลให้ตลาดพันธบัตรโกลาหล เพิ่มต้นทุนการกู้ยืมของสหรัฐ และทำลายความน่าเชื่อถือของสหรัฐ

ขณะเดียวกันความเชื่อมั่นและความนิยมในผู้นำทั้งปธน.โจ ไบเดนและรองปธน.กัมลา แฮร์ริสตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ซ้ำเติมสภาพเงินเฟ้อที่พุ่งทะยานไม่หยุด ล่าสุดสูงสุดในรอบ 30 ปี ที่ 6.8%

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวอเมริกันเกือบครึ่งมองว่าปธน.โจ ไบเดนกำลังอายุได้เกือบ 80 ปี มีสภาพร่างกายจิตใจพร้อมในการนำหรือไม่ สะท้อนจากคะแนนนิยมที่ตกต่ำของเขา

สำรวจความคิดเห็นของสำนักข่าวหลายสำนัก เผยแพร่ในวันพุธที่17 พ.ย.ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าเพียง 40% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งยอมรับว่าไบเดน“อยู่ในสุขภาพที่ดี”ลดลง 19 จุด ในขณะที่ 48% ไม่เห็นด้วย ซึ่งลดลงอย่างมากตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว ย้อนกลับไปในเดือนตุลาคม 2020 เหลือเวลาหนึ่งเดือนก่อนการ

ตั้งแต่ไบเดนเข้ารับตำแหน่ง วิดีโอเผยแพร่ทั่วโซเชียลมีเดียแสดงให้เห็นว่า ไบเดน ลืมชื่อของเจ้าหน้าที่ของตัวเองและบุคคลสำคัญต่างประเทศหลายครั้ง , เดินไปรอบ ๆ แล้วหายตัวไปในการประชุมสุดยอดระดับโลกและเมื่อเร็ว ๆ นี้ กล่าวคำยกย่องดาราเบสบอลว่า“นิโกรที่ดี”โดยไม่เอ่ยชื่อ พฤติกรรมทั้งหมดกัดเซาะความเชื่อมั่นของประชาชนในความสามารถทางปัญญาของผู้นำมากขึ้นเรื่อยๆ

ในขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันที่สูงเป็นประวัติการณ์ อัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น จำนวนงานที่ไม่ค่อยสดใส และการขาดแคลนอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภค ล้วนแต่ทุบทำลายความเชื่อมั่นของประชาชนต่อปธน.ไบเดน 

โพลของยูเอสเอทูเดย์เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาทำให้คะแนนนิยมของไบเดนอยู่ที่ 38% และในขณะที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 44% ในแบบสำรวจ Politico/Morning Consult ของวันพุธ 58% ไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวที่ว่า “โจ ไบเดนสามารถเป็นผู้นำ ประเทศ” รองปธน.แฮร์ริสก็ไม่เป็นที่นิยมเช่นกันด้วยคะแนนน่าผิดหวังเพียง 28%