ปิยบุตรแพ้ยับ! โดน “อรรถวิชช์” ต้อน ไปไม่เป็น เถียงไม่ขึ้น ซัดพูดม.112 ตัวเองรอด แต่เด็กติดคุกเพียบ?
จากกรณีที่เมื่อวานนี้ (5 พฤศจิกายน 2564) รายการมีเรื่อง Live EP.14 ที่ออกอากาศผ่านช่องทางยูทูบ ที่ดำเนินรายการโดย น.ส.จอมขวัญ หลาวเพ็ชร ได้เปิดการสนทนาระหว่างนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เลขาธิการพรรคกล้า และนายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ในหัวข้อ เลิก-แก้-ไม่แตะ 112
โดยนายปิยบุตร ย้ำถึงการแก้ไขมาตรา 112 โดยมองว่า มาตรา 112 อยู่ในกลุ่มกฎหมายฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น ความผิดเกี่ยวกับเกียรติยศชื่อเสียงของบุคคลหรือผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ เห็นว่าความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นทั้งระบบ ตั้งแต่สถาบันพระมหากษัตริย์ถึงบุคคลธรรมดาควรออกจากคดีอาญาได้แล้ว เปลี่ยนมาเป็นเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในทางแพ่งแทน และยังเป็นเทรนด์ของโลกและสหประชาชาติสนับสนุนยกเลิกโทษอาญาออกจากคดีหมิ่นประมาท
ซึ่งด้านนายอรรถวิชช์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงมาตรา 112 ในขณะนี้ยังไม่ควรกระทำทั้งสิ้นและย้ำว่า 112 เป็นโทษที่มีฐานความผิดที่กว้างตั้งแต่ดูหมิ่น หมิ่นประมาท ไปจนถึงเรื่องอาฆาตมาดร้าย ซึ่งตัวฐานหลักก็กว้างตัวโทษก็กว้าง ตั้งแต่ 3-15 ปี เมื่อโทษกว้างตัวคดีก็กว้าง จึงอยากชวนกำหนดแนวทางปฏิบัติของมาตรานี้โดยการตั้งคณะกรรมขึ้นมาหนึ่งชุด ที่ฝ่ายบริหารสามารถทำได้เลย ซึ่งบ่อเกิดของกฎหมายไม่ได้เกิดแค่ในรัฐสภา แต่สามารถเกิดจากแนวปฏิบัติ แนวคำพิพากษาและวินิจฉัยของศาล และคดีนี้ความผิดนี้ไม่ได้พึ่งเกิดขึ้นและมีมานานแล้วก็ต้องรวบรวมมาทั้งหมดจะได้เป็นแนวทางในคดีอื่นๆ ไม่ใช่เอะอะอะไรก็ฟ้องหมด ไปตัดสินที่ศาล จนรกโรงรกศาล
พร้อมกับย้ำว่า “คุณต้องคิดและต้องเข้าใจ สังเกตไหมว่าอาจารย์เองไม่โดน 112 แต่คนฟังอาจารย์ เขาโดน 112 ดังนั้นอาจารย์ต้องเคลียร์ให้เขาเข้าใจว่าเราจะไปช่วยเขาได้อย่างไรด้วยวิธีการที่เร็วที่สุด แต่ถ้าเกิดดันไปสู่กระบวนการแก้ไขมันต้องดูคะแนนเสียงในสภาด้วยว่ามันไปหรือเปล่าเสียงข้างมากในสภาไปได้ไหม ขี้หมูขี้หมาคุณเสียเวลากับมัน 8 เดือนไปกับเรื่องพวกนี้แล้วคนที่เขายังเสียหายยังรอการตัดสินหรือเขาเป็นคดีความอยู่มันก็ต้องไปช่วยเขาถูกไหม ผมคิดแบบนี้เพื่อไปสู่ทางออกให้ได้ นี่คือจุดยืนของผม”
นอกจากนี้ นายอรรถวิชช์ ยังระบุอีกว่า ช่วงสิบกว่าปีที่ทำการเมืองหนักมากแล้ว ใกล้เลือกตั้งเมื่อไหร่ก็แบ่งคนออกเป็นสองฝ่ายทันที ในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง คราวนี้ตนกลัวมากเรื่องการใช้สถาบันพระมหากษัตริย์เข้ามาเป็นประเด็น พยายามจะหาจุดลงตัวให้ได้ว่า อะไรที่ไม่เข้าใจและพอจะคุยกันได้ทางวิชาการ ตามปกติโทษอาญาระบุตามมาตรา 18 แต่ถ้าจะให้มาตรา 112 เป็นไปในลักษณะทางแพ่ง รวมทั้งข้อหาหมิ่นประมาททุกอย่าง แบบนี้คนไม่เท่ากัน แปลว่าคนรวยด่าใครก็ได้ ถ้าให้ค่าสินไหมทดแทนเข้าไปตอบโจทย์ แปลว่ารวยกว่าคนอื่น สูงกว่าคนอื่น ก็สามารถจะด่าใครก็ได้ แล้วไปจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทน อย่าลืมว่าเวลาเสียหาย
นอกจากนี้ศาลจะดูว่าบางส่วนหรือไม่ จะทำให้สังคมนำไปสู่ความไม่เท่าเทียม คนรวยได้เปรียบในประเด็นนี้ และขอฝากว่าเวลาดูเรื่องความเท่าเทียม เรื่องเสรีภาพ ต้องดูอีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่องภราดรภาพ สังคมต้องมีความน้ำหนึ่งใจเดียวกันถึงจะมีทางออก ไม่อย่างนั้นก็จะแบ่งซ้ายแบ่งขวาแล้วรุนแรงทั้งคู่ หาทางออกไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการดีเบตของ นายปิยบุตรและนายอรรถวิชช์ ก็ได้เกิดประเด็นที่น่าสนใจคือ มีหลายคนเข้าแสดงความคิดเห็นว่า ทำไมปิยบุตรถึงไม่ยอมรับคำท้าของ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ (NIDA) ที่เคยเชิญให้ปิยบุตรเข้าร่วมดีเบตเกี่ยวกับกรณีของมาตรา 112 ซึ่งทางสถาบันทิศทางไทย ก็ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีดักล่าวด้วยว่า สถาบันทิศทางไทย ยินดีเป็นเจ้าภาพ ส่งเทียบเชื้อเชิญ ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล มา ดีเบตกับ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ เรื่อง กฎหมายอาญา ม.112 หวังว่า ดร.ปิยบุตร จะรับคำเชิญ