ร่างพ.ร.บ.ฉบับสามนิ้ว อ้างต้องการแก้ไข ม.112 แต่เนื้อหาคือ ต้องการยกเลิก พร้อมโยงสถาบันฯ คือการเมือง ต้องตรวจสอบ?

1949

เปิดชัดๆ คนไทยจะอึ้ง! ร่างพ.ร.บ.ฉบับสามนิ้ว อ้างต้องการแก้ไข ม.112 แต่เนื้อหาคือ ต้องการยกเลิก พร้อมโยงสถาบันฯ คือการเมือง ต้องตรวจสอบ!

การเดินหน้าของพรรคการเมือง ที่กล่าวอ้างว่าต้องการแค่แก้มาตรา 112 ในบางส่วนนั้น แท้ที่จริงแล้วอาจจะไม่ใช่การขอแก้ไขตามที่ได้กล่าวอ้าง เพราะในความเป็นจริงแล้ว ในการขับเคลื่อนที่แท้จริงนั้น คือ ต้องการยกเลิก และต้องการตรวจสอบสถาบันพระมหากษัตริย์

โดยล่าสุดทางด้านของ ทวิตเตอร์ iLaw ก็ได้โพสต์ข้อความพร้อมแนบเอกสารร่าง โดยอ้างว่าแก้ไข ทำให้หลายๆคนเข้าใจผิดว่ายังมีอยู่ แต่จริงๆแล้ว คือ ยกเลิก ม.112 โดยมีรายละเอียดว่า

“ร่างพ.ร.บ. ที่เสนอให้ #ยกเลิก112 คือ การเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา เนื้อหามีสั้นๆ ง่ายๆ ขอให้ยกเลิก #ม112 มาตราเดียว สำหรับผู้ที่เห็นด้วย พร้อมเป็นส่วนหนึ่ง ในการเสนอร่างนี้ ลงชื่อทางออนไลน์
ได้”

ซึ่งในเอกสารเสนอร่างนั้นมีรายละเอียดว่า แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาโดยยกเลิกกมาตรา 112
โดยที่ เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา เนื่องจากกฎหมาย
เกี่ยวกับความผิด ฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้ สำเร็จราชการแทนพระองค์

กลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่รัฐบาลใช้ดำเนินคดีกับผู้ที่เห็นต่าง เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการใช้เสรีภาพการแสดงออก และเป็นอุปสรรคต่อโอกาสของประชาชนที่จะได้ถกเถียงแลกเปลี่ยนกันถึงประวัติศาสตร์ของประเทศไทย สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน และออกแบบอนาคตร่วมกัน

ประกอบกับความไม่เหมาะสมทั้งในแง่ของบทกำหนดโทษที่สูงเกินสัดส่วนความไม่ชัดเจนของขอบเขตการกระทำที่เป็นความผิด สถานะที่เป็นความผิดต่อความมั่นคงทำให้การริเริ่มคดีเกิดขึ้นโดยใครก็ได้ และเพื่อให้สถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะสถาบันการเมืองที่ใช้ภาษีของประชาชนถูกตรวจสอบได้โดยประชาชน และโดย
การวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริต หากกระทำสิ่งที่ละเมิดรัฐธรรมนูญหรือหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

โดยบุคคลทั้งหมดยังได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายหมิ่นประมาทและดูหมิ่น เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดาเพื่อรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ ตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล และตามกฎหมายระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีพันธะต้องปฏิบัติตาม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้