“หมอนิธิพัฒน์” สุดเจ็บใจ แฉยับ มีการกักตุนถังออกซิเจน กระทบตั้งศูนย์ช่วยผู้ป่วยโควิด

1468

หน่วยงานเกี่ยวข้อง ทำอะไร! “หมอนิธิพัฒน์” สุดเจ็บใจ แฉยับ มีการกักตุนถังออกซิเจน กระทบตั้งศูนย์ช่วยผู้ป่วยโควิด!?

หากจะพูดถึงเรื่องของ โควิด-19 เรียกได้ว่ากำลังมีประเด็นร้อนแรงในขณะนี้ นั่นก็คือ ได้มีการให้เริ่มฉีดเข็ม 3 ด้วย virus Vector สามารถทำได้ให้เกิดภูมิต้านทานที่สูงมาก แถมยังมีอีกเรื่องที่น่ายินดีเห็นทีจะเป็นงานวิจัยของ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ เรื่องการฉีดวัคซีนสลับยี่ห้อสร้างภูมิดีเยี่ยม ทำให้สื่อทั่วโลกต่างให้ความสนใจอย่างมากในขณะนี้

นอกจากเรื่องดีๆแล้ว ก็ยังมีประเด็นล่าสุดเมื่อทางด้านของ รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกมาโพสต์ประเด็นที่เรียกได้ว่าน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง 2 เรื่อง โดยมีรายละเอียดว่า

พอกลับมาไม่นานก็มีข่าวน่าสนใจสองเรื่องให้ช่วยออกความเห็น เรื่องแรกเป็นการบริหารจัดการวัคซีนเข็มที่สามให้กับบุคลากรทางการแพทย์ เนื่องจากมีตัวเลือกระหว่างการฉีดของแอสตร้าซึ่งได้ทันทีเหมาะสำหรับคนที่งานเสี่ยงสูง กับการรอของไฟเซอร์ซึ่งอาจจะได้ฉีดปลายเดือนนี้หรือต้นเดือนหน้า

ส่วนตัวแล้วคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ยังไม่มีใครรู้ว่า การฉีดเข็มสามจะกระตุ้นภูมิให้ขึ้นสูงใหม่ได้มากแค่ไหนและจะอยู่นานเท่าไร อีกทั้งเพียงพอในการต่อสู้กับเชื้อกลายพันธุ์ได้หรือไม่ ส่วนตัวผมนั้นเลือกวัคซีนตัวที่ต้องรอไปก่อน ด้วยเหตุผลว่าขอบายให้คนที่จำเป็นกว่าได้ของเร็วของชัวร์ไปก่อน อีกอย่างคือเพื่อสนองตัณหาที่ชอบลองของใหม่ น่าสนใจว่าสองกลุ่มที่ได้เข็มสามต่างชนิดกันนี้ จะมีภูมิเพิ่มขึ้นจากก่อนฉีดเข็มสามแตกต่างกันหรือไม่

เรื่องที่สองเป็นเรื่องที่น่าเจ็บใจ เพราะมีการขาดตลาดจากการแห่ซื้อไปตุน ทั้งถังออกซิเจนทางการแพทย์และเครื่องผลิตออกซิเจนสำหรับใช้ที่บ้าน ทำให้แผนการจัดตั้งศูนย์พักคอยผู้ป่วยโควิดในชุมชนก่อนส่งต่อเข้าโรงพยาบาลเกิดความไม่สมบูรณ์ เพราะไม่สามารถให้ออกซิเจนกับผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการรุนแรงและร่างกายขาดออกซิเจน ในระหว่างที่รอเตรียมการย้ายเข้ารับการรักษาในรพ.หลัก การนำออกซิเจนไปใช้เมื่อเริ่มป่วยเป็นโควิด-19 โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์และปราศจากการกำกับดูแลของแพทย์ อาจเป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อทั่วร่างกายถ้าได้รับออซิเจนมากเกินไป ไม่นับเรื่องความสิ้นเปลืองและการเสี่ยงต่ออัคคีภัยถ้าใช้เป็นถังบรรจุออกซิเจน

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งทำความกระจ่างให้กับประชาชน พร้อมตรวจสอบความเพียงพอของการผลิตและจัดส่งออกซิเจนในทุกพื้นที่ของประเทศ