ชื่นชมคณะวิศวะมธ.ไม่ให้ท้ายนศ.ทำผิดกม.! เมื่อเบนจาดิ้นออกคุก อ้างอาจารย์ไม่ช่วย ย้อนต้นปีก็เคยโวยวายแบบนี้

1317

ชื่นชมคณะวิศวะมธ.ไม่ให้ท้ายนศ.ทำผิดกม.! เมื่อเบนจาดิ้นออกคุก อ้างอาจารย์ไม่ช่วย ย้อนต้นปีก็เคยโวยวายแบบนี้

จากกรณีที่เมื่อวานนี้ (1 ธันวาคม 2564) หลังทนายความยื่นคำร้องขออนุญาตปล่อยตัวชั่วคราว รุ้ง ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล 2 คดี ได้แก่ คดีชุมนุม #แต่งครอปท็อปเดินห้างสยามพารากอน เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2563 ของศาลอาญากรุงเทพใต้ และคดีชุมนุม #อยุธยาจะไม่ทนอีกต่อไป เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2563 ที่ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยทั้งสองคดีมีข้อหาหลักตามมาตรา 112

เวลาต่อมา ศาลทั้งสองมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวของทั้งสองคดีในวันนี้ ทำให้ปนัสยาจะได้รับการปล่อยตัวในค่ำวานนี้ มีคำสั่งให้ปล่อยตัวตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย. 64 – 12 ม.ค. 65 ตามเหตุจำเป็นที่ต้องไปสอบปลายภาค ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมกำหนดเงื่อนไข 5 ข้อ ได้แก่ ห้ามจำเลยทำกิจกรรมหรือก่อเหตุที่กระทบกระเทือนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ , ห้ามจำเลยเข้าร่วมชุมนุมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ,ห้ามจำเลยออกนอกเคหสถานตลอดเวลา เว้นแต่มีเหตุจำเป็นเพื่อการรักษาพยาบาล ไปเรียนไปสอบ ไปติดต่อราชการที่ศาลอื่น หรือมีเหตุอื่นโดยได้รับอนุญาตจากศาล ,ห้ามจำเลยออกนอกราชอาณาจักร ,ให้ติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (EM)

ล่าสุด น.ส.เบนจา อะปัญ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และแนวร่วมผู้ชุมนุมกลุ่มราษฎร ได้โพสต์ข้อความว่า เราดรอปเรียนในเทอมนี้แล้ว หลังจากศาลไม่อนุญาตให้เราประกันตัว ก่อนหน้านี้ เราลงทะเบียนและเข้าสอบตามปกติ แต่อย่างที่หลายคนอาจจะเห็นช่วงสอบ Midterm เราก็ยังต้องไปศาล ไปสถานีตำรวจ และถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจรังควาญ และเราก็ถูกตำรวจจับ

เราจำเป็นต้องเลือกว่าจะลงทะเบียนต่อไปและหวังว่าศาลจะอนุญาตให้ประกันตัว หรือจะ drop การเรียนไว้ก่อน ช่วงที่เราเกิดปัญหาอาจารย์คณะเรา ไม่ได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลืออะไร มีเพียงเพื่อนที่ช่วยเท่าที่ช่วยได้ แต่ก็ไม่เหมือนความช่วยเหลือจากอาจารย์ ไม่เหมือนกับอาจารย์คณะทางสังคมที่ให้ความช่วยเหลือเพื่อน ๆ เมื่อต้องเข้าเรือนจำเราจึงไม่ได้คาดหวังว่าเขาจะเห็นความสำคัญของการเรียนต้องจัด class เรียนให้เราเฉพาะ
การต้องอยู่ในเรือนจำกับการเรียนสายวิศวกรรมที่ต้องมีการคำนวณนั้นยากลำบาก แค่ผลกระทบจากการต้องเรียน online ก็ไม่สะดวกมากอยู่แล้ว ถ้าต้องเรียนในเรือนจำ ถ้าเราคำนวณไม่ได้จะถามใคร จะค้นหาคำตอบอย่างไร เราจึงตัดสินใจดรอปการเรียนในเทอมนี้เนื่องจากติดอยู่ในเรือนจำ เพราะเราคาดหวังผลการเรียนที่ดี เพื่อใช้ในการเรียนต่อปริญญาโทและปริญญาเอก
ถึง ณ ตอนนี้ เราไม่มีเหตุจำเป็นแบบเพื่อนที่ต้องออกไปสอบปลายภาค แต่เราก็ยังเป็นนักศึกษา และต้องการออกไปเรียน เราเรียนวิศวกรรมเครื่องกลเพื่อเป็น foundation เพื่อไปต่อปริญญาโท Aerospace Engineering เราอยากทำงานด้านอวกาศ แต่เราวางแผนว่าจะเรียนให้จบปริญญาเอก เพราะไม่ได้หวังว่าจะเป็นวิศวกรไปตลอด บั้นปลายชีวิตอยากเป็นอาจารย์ เลยอยากเรียนเฉพาะทางเพื่อเอามาพัฒนาประเทศในสาขาที่ประเทศไทยก็ยังขาดความรู้ด้านนี้ เพราะการเป็นอาจารย์และนักวิจัยก็สามารถทำคู่กันไปได้
ตอนนี้เราเกรดเฉลี่ยประมาณ 3.3 เราอยากเรียนเมื่อเราพร้อม เราจึงดรอปไว้ก่อนเพราะไม่อยากให้การติดคุกมีผลต่อเกรดและอนาคต ถึงเราดรอปและไม่มีกำหนดสอบในเทอมนี้ แต่ปล่อยเราเถอะ เรายังต้องเรียน เรามีประโยชน์มากกว่าที่จะกักขังเราไว้ในเรือนจำเฉย ๆ แค่นี้ยังทำลายอนาคตเราไม่พออีกหรือ
ตอนนี้เราสงสัยว่านอกจากอาจารย์บางท่านที่เข้าใจนักศึกษา แต่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ As a whole ในฐานะที่เป็นองค์กรนั้นหายไปไหนเหรอ และตอนนี้ก็เริ่มสงสัยว่าหรือเราเองที่เข้าใจผิดมาตลอด เริ่มงงว่าเราผิดจริงเหรอ
ตอนนี้ถูกแยกห้องกับรุ้งและในห้องมีอยู่ 27 คน ต้องนอนเบียดกัน นอนงอเข่า เพื่อนในห้องบอกว่า “เดี๋ยวก็ชิน” แต่เราสงสัยว่าทำไมต้องชิน ในเมื่อเราทำให้ดีกว่านี้ได้ ในเรือนจำเองก็ต้องพัฒนา
ย้อนไปเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564  น.ส.เบนจา ซึ่งถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากเหตุการณ์ชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมนี เปิดเผยว่า เมื่อไม่นานมานี้ได้เข้าไปปรึกษาหารือกับคณะตัวเองถึงมาตรการช่วยเหลือในกรณีที่ตัวของนักศึกษาถูกฝากขัง ซึ่งผลปรากฏว่าคณะปฏิเสธที่จะคืนค่าเทอมให้หากพักการเรียน และได้เสนอกับตนว่าคณะจะจัดให้มีการเรียนการสอนในเรือนจำทดแทน โดยอ้างว่าจากกรณีที่นักศึกษาถูกฟ้องร้องจนส่งผลกระทบต่อการเรียนนั้น เป็นเรื่องที่นักศึกษาต้องรับผิดชอบตนเอง

ทั้งนี้ ตนเป็นเพียงหนึ่งในกรณีที่ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้ เพราะยังมีนักกิจกรรมที่เป็นนักศึกษาอีกหลายคนจากต่างคณะ เช่น เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์, รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และคนอื่นๆ รวม 9 คน ที่ได้รับผลกระทบในลักษณะนี้ด้วยเช่นเดียวกัน โดยในขณะนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ยังไม่มีความคืบหน้าเรื่องมาตรการช่วยเหลือนักศึกษาที่ถูกฟ้องร้องแต่อย่างใด

นอกจากปัญหาเรื่องมาตรการช่วยเหลือนักศึกษาที่ถูกแจ้งข้อหาที่ได้กล่าวไปในข้างต้น ทาง มธ.ยังมีท่าทีที่ล่าช้าในประเด็นการคืนค่าเทอม และมาตรการการเยียวยาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในส่วนของการคืนค่าเทอมนั้น ได้มีกลุ่มนักศึกษาจัดทำโครงการล่ารายชื่อนักศึกษาที่ไม่เห็นด้วยกับมาตรการการคืนค่าเทอมของ มธ. 1,500 บาท จำกัดเฉพาะปริญญาตรี และต้องการให้มหาวิทยาลัยคืนค่าเทอมไม่ต่ำกว่า 30% ทุกระดับการศึกษา โดยมีนักศึกษารวมถึงบุคลากรในมหาวิทยาลัยสนใจร่วมลงชื่อกว่า 8,000 คน ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งตอนนี้ทางผู้บริหาร มธ.ก็ยังไม่สามารถหาเวลาว่างเพื่อพบปะหารือกับตัวแทนองค์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกลุ่มนักศึกษาที่ทำโครงการล่ารายชื่อดังกล่าวได้