เปิดจม.สหปาตานีส่งถึงUN จับตา “ขบวนการแบ่งแยกดินแดน” ?? จากชลิตาแก้มาตรา 1 ถึง”อ.ธงชัย-ก้าวหน้า” สู่ก้าวไกลรื้อรธน.หมวด1-2 

2525

เปิดจม.สหปาตานีส่งถึงUN จับตา “ขบวนการแบ่งแยกดินแดน” จากชลิตาแก้มาตรา 1 ถึง”อ.ธงชัย-ก้าวหน้า” สู่ก้าวไกลรื้อรธน.หมวด1-2

จากรณีที่มีการเผยแพร่เอกสารที่ระบุว่า ประธานองค์กรปลดปล่อยสหปาตานีหรือพูโล (Patani United Liberation Organisation, PULO) นายกัสตูรี มะห์โกตา ได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงองค์กรสหประชาชาติ (UN) องค์กรความร่วมมืออิสลาม (OIC) และสหภาพยุโรป โดยมีผู้รับเป็นเลขาธิการสหประชาชาติ นาย Antonio Guterres เลขาธิการโอไอซี Dr. Yusef bin Ahmad Al-Othaimeen และประธานสภายุโรป นาย Charles Michel เรียกร้องให้ยูเอ็น โอไอซีและอียู กดดันรัฐบาลไทยให้ยุติการบังคับใช้กฎอัยการศึกและกฎหมายพิเศษที่ปาตานี  และดำเนินการอำนวยเอกราชให้แก่ประเทศหรือชาติที่ตกเป็นอาณานิคม ตามมติสมัชชาสหประชาชาติ 1549 (XV) ในวันที่ 14 ธันวาคม 1960

ทางด้านรศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร  อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย  ให้ความเห็นว่าต่อสถานการณ์ดังกล่าวว่า  หลายปีที่ผ่านมา หลายฝ่ายเชื่อว่า ได้มีความพยายามของกลุ่มบุคคลและองค์กร ที่จะยกระดับเรื่องปัญหาในจชต.ในเวทีนานาชาติ ความพยายามดังกล่าว อาศัยแนวทางเรื่องสิทธิมนุษยชนและการกำหนดใจตนเอง ที่องค์กรสากลและหลายประเทศสนใจสนับสนุน เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อน   เป้าหมายระยะสั้น คือการกดดันและต่อรองในเรื่องการปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ ผ่านกระบวนการพูดคุยและอื่นๆ

นักวิชาการด้านความมั่นคง กล่าวต่อไปว่า   ระยะยาว คือการโน้มน้าวชักจูงให้ประชาชนในพื้นที่ ลงมติเรียกร้องและผลักดันให้มีการแบ่งแยกดินแดน หรือจัดตั้งเขตปกครองตนเอง หรือเขตปกครองพิเศษ ผ่านกระบวนการสร้างสันติภาพที่นานาชาติและองค์การสากลเหล่านั้นจะช่วยบริหารจัดการ

ทั้งนี้ รัฐบาลไทยในรอบหลายปีที่ผ่านมา ได้ให้กระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นหลักในการไปดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น แต่ปัจจุบัน มีพลวัตรใหม่ๆ ทั้งในพื้นที่จชต. ตลอดจนในระดับชาติและนานาชาติ เกิดขึ้นอีกหลายปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้แนวทางการยกระดับเหล่านี้ขยายตัวขึ้น

“แถลงการณ์ที่เกิดขึ้นของกลุ่ม PULO ซึ่งเดิมได้ลดบทบาทลงไปแล้ว แต่ปัจจุบันเริ่มที่จะมีความเคลื่อนไหวอีก ก็เป็นตัวอย่างที่สำคัญของสถานการณ์ใหม่ หรือความปกติใหม่ (ที่ไม่ปกติ) ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้” ทั้งนี้ หนังสือที่อ้างว่า มาจากกัสตูรี มะห์โกตา  ประธานพูโล มีเนื้อหาดังนี้

พูโลและข้าพเจ้าขอแสดงความวิตกกังวลต่อประเด็นที่ถูกลืมที่เกิดขึ้นในดินแดนแห่งหนึ่งของโลกที่ถูกลืมเช่นกัน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สวยงาม เขียวขจี และอุดมสมบูรณ์ มีน้ำตกหลาย ๆ แห่ง ผู้คนที่อยู่อาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้มีระดับจริยธรรมสูง แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขายังเป็นเป้าหมายของการกดขี่และสิทธิของพวกเขาก็ถูกปฏิเสธด้วย พวกเขาเป็นเหยื่อของการล่าอาณานิคมในดินแดนปาตานี ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างชายแดนของประเทศไทยและมาเลเซีย

ปาตานีเคยมีอธิปไตย แต่หลังจากการลงนามสนธิสัญญากรุงเทพฯ (Anglo-Siamese Treaty) เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1909 ระหว่างรัฐบาลไทยกับอังกฤษ ปาตานีสูญเสียอธิปไตยและต้องอยู่ภายใต้การควบคุมคอบระบอบปกครองของไทย

ตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมา การเจรจาสันติภาพระหว่างขบวนการปลดปล่อยปาตานีกับรัฐบาลไทยเกิดขึ้นมาหลายรอบแล้ว แต่ไม่เคยบรรลุผลสำเร็จใด ๆ เนื่องจากขาดความจริงใจ การเล่นการเมืองบน “โต๊ะเจรจา” เป็นอุปสรรคสำหรับการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ชาวปาตานีที่เป็นเหยื่อ และได้สร้างบรรยากาศแห่งการลอยนวลสำหรับการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรงของไทยด้วย ความพยายามต่าง ๆ เพื่อฟื้นฟูกระบวนการสันติภาพไม่เคยประสบความสำเร็จ ความจริงแล้วกระบวนการเจรจาถูกนำมาใช้เพื่อยืดเยื้อสถานการณ์ปัจจุบันที่ฝ่าฝืนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ ตอนนี้ถึงเวลาแล้วเพื่อประกันให้การพูดคุยสันติภาพดำเนินบนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นกรอบเดียวที่สามารถรับรองแนวทางแก้ไขอันยุติธรรมและยั่งยืนต่อความขัดแย้งได้ ด้วยเหตุนี้ พูโล – องค์กรปลดปล่อยสหปาตานี – หวังว่า สหประชาชาติ (ยูเอ็น) องค์กรความร่วมมืออิสลาม (โอไอซี) และสหภาพยุโรป (อียู) จะสามรถให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการแสวงหาแนวทางแก้ไขอันยุติธรรม ครอบคลุ่มและยั่งยืนต่อความขัดแย้ง

พวกเราขอเรียกร้องให้ยูเอ็น โอไอซีและอียู

– กดดันรัฐบาลไทยให้ยุติการบังคับใช้กฎอัยการศึกและกฎหมายพิเศษที่ปาตานี

– ดำเนินการอำนวยเอกราชให้แก่ประเทศหรือชาติที่ตกเป็นอาณานิคม ตามมติสมัชชาสหประชาชาติ 1549 (XV) ในวันที่ 14 ธันวาคม 1960

โดยเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2564 คณะก้าวหน้า ที่มีนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจเป็นประธาน โดย คอมมอน สคูล (Common school) จัดบรรยายหลักสูตร วิชา ประวัติศาสตร์นอกขนบ รายวิชาย่อย สยามยุคกึ่งจักรวรรดิกึ่งอาณานิคม ซึ่งในตอนที่ 2 นี้ ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ Wisconsin Madison สหรัฐอเมริกา บรรยายในหัวข้อ “เสียดินแดนหรือจักรวรรดิสยามได้ดินแดน”

โดยธงชัย เริ่มต้นการบรรยายโดยการพูดถึงการบ้านที่ให้ผู้เข้าร่วมได้ไปค้นคว้ามา กรณีการที่ประเทศไทยหรือสยามเสียดินแดนทั้งหมดกี่ครั้ง ก่อนจะสรุปในช่วงนี้ว่า เรื่องการเสียดินแดนที่ข้อมูล จำนวนครั้ง ต่างกัน เพราะประวัติศาสตร์การเสียดินแดนใช้มโนทัศน์ย้อนเวลาไปอธิบายอดีตอย่างผิดฝาผิดตัว ผิดยุคสมัย จึงตึความได้หลายแบบ มโนทัศน์ที่ใช้กับข้อเท็จจริงไม่เข้ากัน จึงไม่มีหลักเกณฑ์นับ ที่ค้นมาจึงเปลี่ยนได้หมด เพราะไม่ใช่เรื่องข้อมูลประวัติศาสตร์ แต่เป็นเรื่องจินตนาการจะรักชาติ หรือภาษาวิชาการคือมั่ว โมเมเอา ส่วนที่ระยะหลังเชื่อว่าเสียดินแดน 14 ครั้ง เพราะอิทธิพลของสื่อสมัยใหม่ อินเตอร์เน็ตต่างๆ ซึ่งน่าสังเกตว่า ความรักชาติทำให้เรื่องการเสียดินแดนเพิ่มจำนวนมากขึ้น ก็เพราะไม่มีหลักเกณฑ์นี้เองจึงเปิดโอกาสให้จินตนาการได้ไม่จำกัด เรื่องการเสียดินแดนเป็นเรื่องเหลวไหล สมควรต้องสงสัย โดยเฉพาะที่บอกว่า 14 ครั้ง นั้นงอกมาจากไหน แล้วทำให้คนเชื่อกันหมด นักวิชาการชาตินิยมทั้งหลาย หากเชื่อว่าสยามเสียดินแดน อยากให้มีหลักเกณฑ์ทางวิชาการด้วย

ในขณะเดียวกัน ทางด้านของพรรคก้าวไกล ได้เสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2560 ร่วมกับพรรคร่วมฝ่ายค้านในหมวดที่ 1 ซึ่งเป็นหมวดทั่วไป และหมวดที่ 2 ที่ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ ซึ่งหมายรวมถึงข้อเสนอ 10 ข้อของนักศึกษาที่ก้าวล่วงสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยนั้น โดยทางพรรคเพื่อไทย ก็ได้มีจุดยืนในการแก้รัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน แต่จำกัดไม่ให้แก้หมวด 1 หมวด 2 ตามแนวทางของพรรก้าวไกล

หากย้อนไปในอดีต ชลิตา บัณฑุวงศ์ เป็นหนึ่งในนักวิชาการเคลื่อนไหวคัดค้านรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งแต่ปี 2557 นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้แก้มาตรา 1 เพราะเขาคิดว่า การแก้ปัญหาของประเทศไทยอาจไม่ต้องอยู่กันเป็นรัฐเดี่ยวหรือรวมศูนย์ก็ได้ การแก้รัฐธรรมนูญอาจแก้มาตรา 1 ด้วยก็ไม่เห็นจะแปลกอะไร ซึ่งการแก้ มาตรา 1 ก็เท่ากับ การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากราชอาณาจักร เป็น สหพันธรัฐ และมีการพูดถึงรัฐไทยใหม่ โดยปแกนนำนปช. นำไปสู่การเคลื่อนไหวใต้ดินของบรรดาคนเสื้อแดง เพื่อแยกประเทศ โดยแยกภาคเหนือ อีสาน เป็นอีก 1 ประเทศ

ในเวทีสัญจรภาคใต้  ที่จังหวัดปัตตานี ของ 7 พรรคฝ่ายค้าน เมื่อวันที่  28  กันยายน  มีตัวละครใหม่โผล่มา นั่นคือ ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์” รองหัวหน้าภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ในการเสวนาร่วมกับหัวหน้า 7 พรรคฝ่ายค้าน ดร.ชลิตากล่าวว่า ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อยากเน้นว่า ความเป็นประชาธิปไตยเท่านั้นที่จะแก้ปัญหาอย่างได้ผล เพราะเอื้อต่อการสร้างการมีส่วนร่วม การคุ้มครองเสรีภาพ ฉะนั้น ภายใต้ระบอบ คสช. สถานการณ์ชายแดนใต้ไม่มีทางดีขึ้น และรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่สามารถแก้ปัญหาชายแดนใต้ได้ ทั้งนี้ สาเหตุหลักเป็นผลพวงของความรู้สึกถึงความไม่ชอบธรรม ความคับข้องของคนที่รู้สึกว่าเป็นพลเมืองชั้นสอง การใช้กฎหมายพิเศษของรัฐ รวมถึงเรื่องแนวคิดและอุดมการณ์เรื่องการแบ่งแยกดินแดน และต้องการอิสรภาพ ทั้งหมดมีความเกี่ยวพันกับปัญหาอื่นๆ ทั้งปัญหาทางสังคม ความยากจน การแบ่งแยกระหว่างผู้คน ซึ่งความไม่สงบทำให้ปัญหาเหล่านี้มีความรุนแรงมากขึ้น โดยที่รัฐมีแนวทางแก้ปัญหา คือ 1.การใช้กำลังทหารและตำรวจ ในการรักษาความมั่นคง 2.การพัฒนาพื้นที่คุณภาพชีวิต และ 3.การส่งเสริมทางสังคมวัฒนธรรม เราพบว่าแนวทางดังกล่าวมีปัญหามาก ล้วนอยู่ภายใต้อำนาจเบ็ดเสร็จของกองทัพ ซึ่งอันที่จริงไม่ควรเป็นงานด้านความมั่นคง แต่ทหารกลับมามีอำนาจและมีบทบาทในทุกด้าน

อย่างไรก็ตาม หลายคนเริ่มตั้งข้อสังเกตการเคลื่อนไหวในรูปแบบใหม่ของกลุ่มสหปาตานี ที่ประจวบเหมาะกับช่วงที่พรรคก้าวไกล และคณะก้าวหน้า ที่พยายามจะแก้ไขหมวด1 หมวด2  และมีการเปิดโรงเรียนสอนประวัติศาสตร์ตามแนวทางของตัวเองด้วย