วัคซีนสำหรับต้านไวรัสโควิด-19 ยังคงต้องใช้เวลาอีกนานหลายเดือน แต่การรักษาโดยใช้แอนตี้บอดี้จากพลาสมาของผู้ป่วยที่หายแล้ว อาจจะสำเร็จเร็วกว่า

3049

นักวิทยาศตร์สหรัฐอเมริกา ได้พยายามค้นคว้าวิธีรักษา เยียวยาโรคระบาดไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง จากประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วย ต่างมีความคิดเห็นว่า การนำพลาสมาที่มีแอนตี้บอดี้จากคนที่หายป่วยมาทดสอบสร้างยารักษาในผู้ป่วยอาการหนัก และผู้ป่วยที่สูงวัย ได้รับผลเป็นที่น่าพอใจ และมีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จก่อนการค้นพบวัคซีน ซึ่งจะต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะสำเร็จสมบูรณ์ สอดคล้องกับความคิดเห็นจาก WHO ที่แจงว่าภายในสิ้นปีนี้คงยังไม่มีประเทศใดประสบความสำเร็จในการคิดค้นวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้

ประสบการณ์การรับมือโรคระบาด MERS และ SARS ทำให้นักวิทยาศาสตร์ในหลายพื้นที่ของสหรัฐฯที่เผชิญการระบาดอย่างหนักอาศัยพลาสมา ซึ่งมีแอนตี้บอดี้ของผู้ป่วยที่หายจากโรคมาทำการรักษาผู้ป่วยหนัก และได้รับผลดีในหลายกรณี

ดร.แอนโทนี เฟาซี ประธานคณะกรรมการรับมือสถานการณ์ระบาดไวรัสโควิด-19 ของทำเนียบขาว
กล่าวว่าการรักษาโดยใช้พลาสมาที่มีแอนตี้บอดี้ของผู้ป่วยที่หายแล้วได้ผลดีน่าพอใจ
“พลาสมา แอนตี้บอดี้เหมาะที่สุด โดยเฉพาะผู้ป่วยหนัก และผู้ป่วยสูงอายุ”

ส่วนภาคเอกชน เช่น A South Dakota company, SAB Biotherapeutics แจงว่าจะเริ่มทำการรักษา
กับคนป่วย จากพลาสม่าที่ปลูกถ่ายจากวัวในเดือนกรกฎาคมศกนี้

นายแพทย์ เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกแถลงถึงสถานการณ์ไวรัส
โควิด-19 โดยคาดว่าวัคซีนป้องกันโควิดอาจจะยังไม่พร้อมใช้ภายในปีนี้ แม้ว่าบรรดาทีมนักวิทยาศาสตร์
ในหลายภาคส่วนทั่วโลกจะมีความคืบหน้าในการทดลอง ถึงขั้นเริ่มทดลงในมนุษย์แล้วก็ตาม
ผอ.อนามัยโลกกล่าวในการประชุมผ่านวิดิโอคอนเฟอร์เรนซ์ในที่ประชุมคณะกรรมาธิการสาธารณสุข
ของสหภาพยุโรปว่า หากวัคซีนโควิดสามารถสร้างเสร็จได้จริงภายในปีนี้ มันก็ควรเป็น”สินค้าสาธารณะ”
ที่ทุกคนเข้าถึงได้

“เป็นเรื่องยากมากที่จะกล่าวว่าเราจะมีวัคซีน เนื่องจากเราไม่เคยมีวัคซีนสำหรับไวรัสโคโรนามาก่อน
มันจึงเป็นความหวังของทุกคนหากจะมีการค้นพบเป็นครั้งแรก” ผอ.อนามัยโลกกล่าว

อย่างไรก็ดี นพ.เกรเบรเยซุส กล่าวว่า ขณะนี้อนามัยโลกมีผู้พร้อมเข้าทดสอบการฉีดวัคซีนมากกว่า 100 รายเพื่อเข้ากระบวนการทดลองวัคซีนในขั้นสูงแล้ว โดยได้แต่หวังว่าวัคซีนจะสามารถเสร็จได้ภายใน 1 ปี หรืออาจเร็วกว่านั้น ตามที่ทีมนักวิทยาศาสตร์หลายแห่งคาดหวังให้วัคซีนสำเร็จภายใน 2-3 เดือนข้างหน้า

……………………………………………………

Cr: CNNnews