เปิดประวัติ “ตุ้ม สุรภักดิ์” อดีตผตข.คดีม.112 เป็นเสื้อแดง-ท่อน้ำเลี้ยงกลุ่ม 24 มิถุนา!? ก๊วนสุรชัย สุดา เปิ้ล แก๊งลี้ภัยหมิ่นสถาบัน!?
จากกรณีเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2564 นายสราวุทธิ์ กุลมธุรพจน์ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองในพื้นที่จังหวัดเชียงราย หนึ่งในแกนนำม็อบกลุ่มราษฎร โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กชื่อ “สราวุทธิ์ เซียนแว่น กุลมธุรพจน์” ถึงอุบัติเหตุรถสปอร์ตของนายสุรภักดิ์ ภูไชยแสง หรือตุ้ม อายุ 50 ปี ข้ามเกาะกลางชนรถซูซูกิจนมีตัวเองเสียชีวิตและคนในรถซูซุกิเสียชีวิตรวม 3 ราย บริเวณบนทางหลวงหมายเลข 21 สายสระบุรี-หล่มสัก บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 180-181 หมู่ 7 ต.ห้วยโป่ง อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ว่า ผิดก็คือผิดนั้นแหละ ยิ่งความผิดนั้นทำให้คนอื่นตายไปด้วยยิ่งผิดเข้าไปใหญ่ ไม่มีอะไรมาทดแทนหรือเยียวยาอีกฝั่งหนึ่งได้
“ในมุมของเพื่อนฝูง ก็เสียใจต่อการจากไปของเขา และเสียใจต่อครอบครัวผู้เคราะห์ร้ายจากการประมาทของฝ่ายเรา ในส่วนตัวผมสนิทกับพี่ตุ้ม อาจจะเป็นเพราะเราทั้งคู่ต่างโดน 112 จากการยัดคดีของเจ้าหน้าที่ และเรากำลังจะมีโปรเจคยกเลิก 112 ด้วยกัน พูดคุยกันหมดแล้ว รอแค่เวลาที่เหมาะสม แต่พี่ตุ้มก็จากไปเสียก่อน
เราขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิต และเราก็เสียใจที่พี่ตุ้มเสียชีวิต”
ต่อมาทางด้าน นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีดังกล่าวโโยระบุข้อความว่า แจ้งเหตุฉุกเฉินด่วน ใครติดต่อญาติสุรภักดิ์ ภูไชยแสง ได้รับอุบัติเหตุ ติดต่อไปที่ 091-0284050 รพ.หนองใผ่ -ใครติดต่อยายแต้ม แม่สุรภักดิ์ ได้ช่วยติดต่อให้ด้วยนะครับ
และต่อมาก็ได้โพสต์ข้อความต่อว่า สู่สุคติ สวรรคาลัย สุรภักดิ์ ภูไชยแสง เพิ่งเจอกันวันที่ 9 มิย.ที่ผ่านมา ที่ร้านอาหารครกไม้ไทยลาว ลาดปลาเค้า เวลา 12.00 พร้อมกับทนายเซี้ยง ธิติพงษ์ ศรีแสง ตุ้มชวนให้ไปเที่ยวที่อัมพวาด้วยกันในระหว่างเสาร์-อาทิตย์ (12-13มิย.) ทนายเซี้ยงบอกว่าติดทำคดีต้องเดินทางวันอาทิตย์ ส่วนผมติดกำไล EM ออกนอกเขตกรุงเทพไม่ได้ ตุ้มก็เลยไปเที่ยวคนเดียวที่เขาค้อ เพชรบูรณ์ พร้อมกับพริตตี้สาว
โดยคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเนื่องจากเห็นว่า การวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเกี่ยวกับข้อมูลคอมพิวเตอร์จะต้องพิจารณาถึงความน่าเชื่อถือของวิธีการที่ใช้สร้าง การเก็บรักษา ความครบถ้วน ที่ต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความหรือวิธีการที่ใช้ในการแสดงตัวผู้ส่งข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเก็บรักษาพยานหลักฐานทางคอมพิวเตอร์ที่ต้องพยายามเก็บรักษาข้อมูลต้นฉบับไว้เพราะการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละครั้ง ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ข้อมูลอาจถูกแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย
ซึ่งปรากฏว่าหลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจคุมตัวและยึดคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กของจำเลยแล้ว กลับมีผู้เปิดใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กของกลางในวันที่ 2 ก.ย. 2554 และวันที่ 7 ก.ย. 2554 ซึ่งเป็นวันก่อนที่คอมพิวเตอร์จะถูกส่งไปทำการตรวจพิสูจน์อาจเป็นช่องทางให้เกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ง่าย จึงทำให้ข้อมูลที่ได้จากการตรวจพิสูจน์คอมพิวเตอร์ของกลางมีข้อบกพร่องกระทบต่อความน่าเชื่อถือ ศาลฎีกายกฟ้อง เนื่องจากเห็นว่า ไม่อาจรับฟังได้แน่ชัดว่า ข้อมูลการใช้อีเมล [email protected] และ Facebook ชื่อ “เราจะครองแผ่นดินโดยทำรัฐประหาร” เกิดขึ้นจากการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลย พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังมีความสงสัยว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรค 2