ย้อนรอย “จตุพร” นำม็อบเสื้อแดง เสี่ยงคุกทุกครั้ง-แพ้ทุกสนาม พามวลชนไม่เคยถึงฝั่ง!?

3206

จากกรณีที่ นายจตุพร พรหมพันธ์ ประธาน นปช. กล่าวสรุปในเวทีเสวนา “สามัคคีประชาชน เพื่อประเทศไทย” จัดโดยคณะญาติวีรชนพฤษภาทมิฬ และ 30 องค์กรประชาธิปไตย

ซึ่งมีนักกิจกรรมเคลื่อนไหวทางการเมือง ภาคสังคม เข้าร่วมระดมความเห็น หลังจากที่ใช้เวลา หารือกว่า 3 ชั่วโมง โดนระบุว่า วันที่ 4 เมษายน 2564 เวลา 16.00 น. ขอนัดที่อนุสาวรีย์วีรชนพฤษภา 35 มีกิจกรรมพูดคุยแลกเปลี่ยนจัดองค์กร และระหว่างนี้ต้องเดินสายพูดคุยกับผู้ที่เห็นต่างกันในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา เพื่อให้ได้ความสามัคคีประชาชน จัดการกับพล.อ.ประยุทธ์ให้อยู่หมัด และหลังจากการหารือวันที่ 4 เมษายน แล้ว เชื่อว่าจะมีแนวทางที่ชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้หากสามารถให้ 3 พรรคร่วมรัฐบาล คือ พรรคภูมิใจไทย, พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคชาติไทยพัฒนา หากถอนจากการร่วมรัฐบาลได้ จะไม่ต้องลงถนน แต่หากหมดหนทางต้องขับไล่พล.อ.ประยุทธ์

การเมือง - ส่อเดือด! เครือข่ายสามัคคีปชช.นัดถก 4 เมษาฯผสมโรงไล่ประยุทธ์

“ประชาชนแต่ละภาคส่วนจะไม่ขัดแย้งกัน ต้องสามัคคีกัน ทั้งนี้ศึกนี้อีกยาวนาน เมื่อพร้อมเราจะรบ รู้ว่าพฤติกรรมของพล.อ.ประยุทธ์ และคณะไม่เหมือนเผด็จการที่เราเคยเห็น” นายจตุพร กล่าว.

สำหรับนายจตุพรนั้น เคยเป็นอดีตโฆษกพรรคไทยรักไทย และอดีต ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อของพรรค แจ้งเกิดทางการเมืองจากการเป็นผู้นำนักศึกษาช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 เมื่อเกิดการปราบปรามผู้ชุมนุมที่ ถนนราชดำเนิน และผู้ชุมนุมย้ายไปปักหลักที่รามคำแหง โดยมีจตุพรขึ้นเวทีปราศรัยด้วย โดยร่วมกับเพื่อนๆ นักศึกษาอีกหลายคน หลังจากนั้นได้เดินบนเส้นทางการรเองเต็มตัว และมีส่วนในการร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย

อาจเป็นรูปภาพของ 7 คน

นายจตุพรเคยดำรงตำแหน่งเป็นเลขานุการของประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สมัยรัฐบาลทักษิณ 1 ต่อมาเข้าร่วมเป็น 1 ใน 8 แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ที่เคลื่อนไหวต่อต้าน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ต่อมาได้เข้าสังกัดกับพรรคพลังประชาชนพร้อมกับลงรับสมัคร ส.ส. ในระบบสัดส่วนลำดับที่ 4 ของกลุ่ม 6 ที่ประกอบด้วยพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ในสมัยแรก

หลังการยุบพรรคพลังประชาชน และการจัดตั้งรัฐบาล โดยการนำของพรรคประชาธิปัตย์ จตุพรทำหน้าที่สมาชิกฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และยังคงร่วมงานกับกลุ่ม นปช. อย่างต่อเนื่อง โดยร่วมขึ้นปราศรัยในฐานะแกนนำ ภายหลังเหตุการณ์ก่อความไม่สงบของกลุ่ม นปช. เมษายน พ.ศ. 2552 จตุพรถูกออกหมายจับพร้อมกับแกนนำคนอื่นๆ ในวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2552

บ่นบนบล็อก มึงรู้อะไรมั๊ย..ผมมีอะไรจะบอก: เสื้อแดงอหังการ์มากเกินไปแล้วไหม

ในการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2553 เพื่อกดดันให้รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ นายจตุพรเข้าร่วมเป็นแกนนำการชุมนุมในครั้งนี้ด้วย โดยผลปรากฎว่าถูกสลายการชุมนุม เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต ทั้งสิ้น 87 ศพ เป็นประชาชน 79 คน และทหาร 8 นาย ได้รับบาดเจ็บ อย่างน้อย 2,100 คน และนายจตุพร ถูกออกหมายจับเมื่อการชุมนุมสิ้นสุดลง โดยใช้ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประกันตัวไป

8 ปี 'สมรภูมิมหานคร 53' วันเลือดนอง ร้องไห้หนีตาย ..ไม่รู้ใครฆ่าใคร?

ต่อมาในการชุมนุมที่อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตยวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554 จตุพรปราศรัยหมิ่นเหม่ เข้าข่ายหมิ่นต่อสถาบันพระมหาากษัตริย์ ซึ่งต่อมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก มอบอำนาจให้นายทหารพระธรรมนญฟ้องร้อง เนื่องจากเป็นการกล่าวในที่สาธารณะ ส่งผลให้จตุพรถูกส่งตัวเข้าเรือนจำ ในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 มีคำวินิจฉัยเสียงข้างมาก 7 ต่อ 1 ให้สมาชิกภาพสมาชิกสภาผุ้แทนราษฎรของนายจตุพร สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106(4) ประกอบกับมาตรา 101(3) รวมถึงสิ้นสุดความเป็นสมาชิกพรรคการเมือง

โดยในปี พ.ศ. 2556 นายจตุพร พรหมพันธุ์ เข้ารับตำแหน่งหน้าที่ประธาน นปช. ต่อจากนางธิดา ถาวรเศรษฐ โดยนายจตุพร ได้จัดชุมนุมเสื้อแดงที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน พร้อมประกาศว่าจะไม่ยุติการชุมนุม หาก กลุ่มกปปส. ที่นำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ไม่เลิกชุมนุม โดยการชุมนุมของ กปปส.นั้นยาวนานต่อเนื่องมาจนถึงปี 2557 ซึ่งนายจตุพรเองก็มีการจัดชุมนุมเสื้อแดงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยมีการโจมตีการชุมนุมของกปปส.อยู่ตลอด

จตุพรจ่อขนแดงต้านม็อบราชดำเนิน - โพสต์ทูเดย์ ข่าวการเมือง

จนกระทั่ง วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่ายิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอีก 9 คน พ้นจากตำแหน่ง วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เวลา 3 นาฬิกา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร อีกสองวันต่อมา กองทัพรัฐประหารรัฐบาลรักษาการ และให้ผู้ชุมนุมสองฝ่ายยุติการชุมนุม

ทั้งนี้นายจตุพรตกเป็นจำเลย ในคดีความต่าง ๆ หลายคดี โดยมีการตัดสินจำคุกหลายครั้ง

อย่างไรก็ตาม จากการเปิดหน้าเป็นแกนนำการชุมนุมเพื่อข้อเรียกร้องต่างๆ ตลอดเวลาที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า แทบจะไม่มีครั้งไหนเลยที่การชุมนุมเหล่านั้นบรรลุเป้าหมายของนายจตุพรและแนวร่วมเลย อีกทั้งยังมีของแถมเป็นคดีความอีกหลายคดี ดังนั้นการที่นายจตุพรเปิดตัวกลับมาเดินเส้นทางสายแกนนำอีกครั้ง จึงเป็นที่จับตามองๆของทุกๆฝ่าย และปัจจุบัน กลุ่มนปช.นั้นได้แตกสลายไปหมดแล้ว ฉะนั้น ต้องจับตาดูว่าการออกมานำม็อบรอบใหม่ของนายจตุพร จะเป็นการปลุกคนขึ้นมาหรือหมดสภาพซ้ำ เพราะม็อบเด็กไปไม่ไหว คนรุ่นแก่จึงต้องออกมานำใหม่?